สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว
วราภรณ์ แสงทอง - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว
ชื่อเรื่อง (EN): Selection and Observation of rice Lines Derived from Improvenment of RD15 ,KDML 105 and sangyod Phattalung Rice Varities for Non-photoperiod Sensitive , Tall/Semi-dwarf and Non-glutinous/ Glutinous Rice Lines
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราภรณ์ แสงทอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เกิดความแปรปรวนของฤดูกาลต่าง ๆ ในประเทศไทย จึงมีผลกระทบต่อข้าวยอดนิยม ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และ สังข์หยดพัทลุงที่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้เฉพาะนาปี และข้าวทั้ง 3 พันธุ์เป็นข้าวต้นสูงก่อนเก็บเกี่ยวจะหักล้มทำให้ผลผลิตต่ำ และยากต่อการเก็บเกี่ยวด้วยรถเกี่ยวนวด จึงทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105 และ สังข์หยดพัทลุงให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งทำให้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และปรับปรุงให้เป็นข้าวต้นเตี้ย ทำให้ต้านทานต่อการหักล้ม ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวด้วยรถเก็บเกี่ยวได้ยังมีผลพลอยได้ทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียวออกมาด้วย รวม 12 สายพันธุ์การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ด้วยวิธีผสมกลับ โดยใช้ hd1, sd1, er2, er3 และ wx marker ช่วยในการ คัดเลือก (MAB) ทำโดยมีข้าวพันธุ์รับ (recurrent parent) คือ ข้าวไวต่อช่วงแสงต้นสูงข้าวเจ้า ซึ่งมียีโนไทป์ เป็น Hd1Hd1Sd1Sd1WxWx ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุง ข้าวพันธุ์ให้ (donor parent) มีจำนวน 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ข้าวเหนียว กข6-702 ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ยซึ่งมียีโนไทป์เป็น hd1hd1sd1sd1wxwx และข้าวสายพันธุ์ กข6 ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง BC3F7-1752 ซึ่งมียีโนไทป์เป็น hd1hd1Sd1Sd1wxwxer2er2er3er3 เมื่อผลิตเมล็ด F1 ได้แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์รับ เพื่อผลิตเมล็ด BCnF1 โดยแต่ละชั่วของการผสมกลับคัดเลือกต้น BCnF1 ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลให้มียีโนไทป์เป็น heterozygous ของเครื่องหมายทุกตำแหน่ง แล้วนำต้นดังกล่าวผสมกลับไปหา พันธุ์รับจนถึงชั่วของการผสมกลับที่ต้องการ เมื่อต้น BCnF1 ผสมตัวเองได้เมล็ด BCnF2 สำหรับปีที่ 1 (งบประมาณ 2558) ทำการปรับปรุงพันธุ์ทั้งหมด 3 ประชากร มีรายละเอียดดังนี้ ประชากรที่ 13 และ 5 ปลูกคัดเลือกเพื่อเพิ่มความคงตัวทางพันธุกรรมฤดูนาปี 2558 ประชากรที่ 1 กข15 ให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว (BCnF5-BCnF9) คัดเลือกได้ 467 สายพันธุ์ ประชากรที่ 3 ขาวดอกมะลิ 105 ให้ ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว (BCnF5-BCnF6) คัดเลือกได้ 490 สายพันธุ์ประชากรที่ 5 สังข์หยดพัทลุง ให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว (BCnF5-BCnF10) คัดเลือกได้ 314 สายพันธุ์และฤดูนาปรัง 2559 ประชากรที่ 1 กข15 ให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว (BCnF6-BCnF11) คัดเลือกได้ 136 สาย พันธุ์ประชากรที่ 3 ขาวดอกมะลิ 105 ให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว (BCnF5-BCnF9) คัดเลือกได้ 119 สาย พันธุ์ประชากรที่ 5 สังข์หยดพัทลุง ให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว (BCnF6-BCnF7) คัดเลือกได้ 205 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-09-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
14 กันยายน 2559
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุง ให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ต้นเตี้ยไม่ไวแสงที่ได้ จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 โดยวิธี marker- assisted backcrossing ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ถูกใจเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก