สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย
ทักษิณา ศันสยะวิชัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Sugarcane production technology research and development
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทักษิณา ศันสยะวิชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ประเทศไทยมีที่ปลูกอ้อยในแต่ละปีประมาณ 6-7.0 ล้านไร่ อ้อยเข้าหีบ 60-70 ล้านตัน เป็นอ้อยไฟไหม้กว่าร้อยละ 60 ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 10 ตันต่อไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกร้อยละ 40 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 40ในภาคกลางและตะวันออก และร้อยละ 20 ในภาคเหนือ อยู่ในเขตน้ำฝนร้อยละ 90 อยู่ในเขตชลประทานร้อยละ 10 ปัญหาในการผลิตมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เพื่อวิจัยและพัฒนาหาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมในแต่ละแหล่งปลูก ดำเนินการทดลองระหว่างปี 2549 ถึง 2553 ในศูนย์วิจัยของกรมวิชาการเกษตรจังหวัดในภาคกลางและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และไร่เกษตรกรในแหล่งปลูกอ้อย ผลการวิจัยสามารถสรุปในแต่ละประเด็นได้ดังนี้ 1.การเพิ่มศักยภาพการผลิตของอ้อยตอ โดย การจัดการความชื้นดิน การอนุรักษ์น้ำในดินโดยการไถกลบ ใบอ้อย การให้น้ำเสริมหลังตัดอ้อยปลูกในอัตรา 36 มิลิเมตรเมื่อค่าการระเหยสะสม 120 มิลิเมตร หรือให้น้ำตลอดฤดูในอัตรา 24 มิลิเมตรเมือค่าระเหยสะสม 60 มิลลิเมตร .การจัดการดิน ใส่ปุ๋ยมูลไก่หรือวัว 2 ตันต่อไร่ ใช้ริปเปอร์หรือ ริปเปอร์และจอบหมุนพรวนระหว่างแถวอ้อยตอ ปลูกปอเทือง ระหว่างแถว ไถกลบเมื่อออกดอก การเลือกใช้พันธุ์ที่มีระบบรากลึก ไส้เดือนฝอยทำให้ผลผลิตอ้อยตอลดถึงร้อยละ 57 แมลงที่ทำลายอ้อยตอเช่นปลวก หนอนด้วงหนวดยาวทำลายอ้อยตอมากแต่การระบาดเป็นจุดเล็กๆ และได้จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบจำลองการตัดสินใจในการไว้ตออ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำขึ้นเว๊บไซด์สามารถเข้าถึงได้ง่าย 2.คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับอ้อย การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำกากส่าจากโรงงานเอทานอล ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มผลผลิตอ้อยได้และทำให้ไว้ตอได้ดี ได้ผลผลิตอ้อยตอสูงกว่าการใช้แต่ปุ๋ยเคมี การใส่น้ำกากส่าในปริมาณสูงต่อเนื่องกัน 2-3 ปี ทำให้ดินมี pH และโพแทสเซียม เพิ่มขึ้น และทำให้อ้อยดูดใช้โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อัตราการใช้น้ำกากส่าที่เหมาะสม 10 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ที่ การปลูกถั่วขอไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ การใช้ปุ๋ยหมักลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 25 % การใส่ปุ๋ยหมักที่ได้ผลดีคือใส่ในร่องพร้อมปลูกอ้อย ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 500 กิโลกรัมแห้งต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและได้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น ในอ้อยปลูก 5-10% ในอ้อยตอ 1 45-55% และอ้อยตอ2 84-105% การให้น้ำเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนจึงต้องเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจนถ้าสามารถให้น้ำได้ และได้ปรับปรุงคำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเฉพาะที่ ตามเนื้อดินและการตอบสนองต่อปุ๋ยสำหรับนำไปทดสอบและจัดทำคำแนะนำการใช้ปุ๋ยรายแปลงต่อไป 3. การใส่ปุ๋ยโดยการใช้เครื่องจักรกลจะสม่ำเสมอกว่าการใช้แรงงานคนหว่าน อีกทั้งสามารถทำงานได้รวดเร็ว และทำงานในไร่อ้อยที่กว้างใหญ่ได้ การใส่ปุ๋ยโดยใช้เครื่องจักรกลสามารถใส่ปุ๋ยอ้อยในดินที่แห้งได้ โดยไม่มีการสูญเสียเนื่องจากมีการกลบฝังปุ๋ย ดังนั้นชาวไร่อ้อยสามารถใส่ปุ๋ยอ้อยโดยไม่ต้องรอฝนตก ได้ประดิษฐ์เครื่องใส่ปุ๋ยติดท้ายรถไถเดินตามและแทรกเตอร์ขนาดเล็ก 4.การเพิ่มความหวานอ้อยในเขตภาคกลาง ได้วิธีการปลูกอ้อยข้ามแล้งเพื่อให้อ้อยปลูกมีอายุมากขึ้น โดยใช้เครื่องปลูกที่มีการหยอดน้ำไปพร้อมกันในช่วงปลูก มีการไถระเบิดดินดานในช่วงเตรียมดินเพื่อดึงความชื้นของดินชั้นล่างและใช้จอบหมุนพรวนดินเพื่อสงวนความชื้น หลังปลูกอ้อยพ่นสารกำจัดวัชพืช imazapic/ pendimethalin ในอัตรา 12/120 g.ai./ไร่ การปลูกวิธีนี้ทำให้อ้อยดี และให้ผลผลิตดีโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว การเร่งการเจริญเติบโตของอ้อยโดยการให้น้ำและปุ๋ยต่อจากฤดูฝนหลังเดือนตุลาคมเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ ควรใส่ปุ๋ยให้แล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน จะทำให้อ้อยใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ใส่อย่างเต็มที่ 5.ลดปัญหาการเผาใบอ้อยโดยประดิษฐ์รถตัดอ้อยอ้อยสดชนิดตัดเป็นลำ และ เครื่องสางใบอ้อยเพื่อตัดอ้อยสดได้สะดวกรวดเร็ว
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอ โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งและเทคโนโลยีการผลิต โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก