สืบค้นงานวิจัย
การทำประมงลอบปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดภูเก็ต
ศตภร เจริญลาภ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การทำประมงลอบปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่อง (EN): Fish Trap Fishery in Artificial Habitat in Phuket Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศตภร เจริญลาภ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Satapon Charoenlarp
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ลอบปลา เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ ชาวประมงในภาคใต้นิยมเรียกลอบว่า “ไซ” ลักษณะเด่นของลอบปลาคือ มีตาข่าย หรือซี่ตะแกรงไม้ไผ่ปิดคลุมเกือบทุกด้าน เว้นเฉพาะช่องทางเข้าสัตว์น้ำ ซึ่งเรียกว่า “งา” รูปร่างของลอบคล้ายกล่อง นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ (กองประมงทะเล, 2540) ลอบปลาขนาดใหญ่ ผนังด้านบนของลอบนิยมดัดโค้ง โครงลอบและส่วนที่เป็นงาใช้ไม้เบญจพรรณ ในส่วนที่ต้องดัดโค้งจะใช้ไม้ประเภทหวายหรือเถาวัลย์ โครงลอบจะถูกหุ้มด้วยลวดถักขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร พื้นลอบหุ้มด้วยเนื้ออวนโปลีเอทธีลีนขนาดตาอวน 8-10 เซนติเมตร โดยการนำลอบไปวางในบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัยหรือทางผ่านของปลาที่เป็นสัตว์น้ำเป้าหมาย เช่น บริเวณแนวปะการังใกล้เกาะ แนวกองหิน หรือพื้นทะเลข้างแนวปะการัง ระดับความลึกน้ำ 20-30 เมตร ยึดให้อยู่กับที่ ใช้เวลาวางลอบประมาณ 15 วัน ปะการังเทียม (Artificial reef) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆโดยการนำวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ต้านกระแสน้ำได้ ไปจัดวางที่พื้นทะเล เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัยเป็นที่หลบภัย รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารและแหล่งสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ ในจังหวัดภูเก็ตมีการจัดสร้างปะการังเทียมของกรมประมง ตั้งแต่พ.ศ. 2528 – 2552 รวมพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตร (สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล, 2553) ในขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ร่วมด้วยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองทัพเรือ ฯลฯ ก็ได้ทำการจัดสร้างแนวปะการังเทียม ระยะห่างฝั่ง 3,000 เมตร เป็นแนวโดยรอบเกาะภูเก็ตเพื่อฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งทำการประมง โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลติดต่อส่วนตัว) บริเวณแหล่งปะการังเทียมเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชาวประมงพื้นบ้าน เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านสามารถลดต้นทุนค่าน้ำมันในการทำประมงได้ ซึ่งลอบปลาเป็นเครื่องมือประมงที่มีการเลือกจับสัตว์น้ำ จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทำการประมงในบริเวณแหล่งปะการังเทียม เพราะโดยทั่วไปการทำประมงลอบปลาในจังหวัดภูเก็ตแหล่งประมงมีจำกัดอยู่ในบริเวณแนวปะการังใกล้เกาะหรือแนวกองหินธรรมชาติใต้น้ำ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการจับและองค์ประกอบสัตว์น้ำที่ได้ในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ข้อมูลที่ได้จากการทดลองจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้แก่ชาวประมงพื้นบ้านในการทำประมงในบริเวณแหล่งปะการังเทียมต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทำประมงลอบปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดภูเก็ต
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
ทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ประเมินผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ทัศนคติของชาวประมงพื้นบ้านต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม และประชาคมปลาบริเวณแหล่งอาศัยขนาดใหญ่ จังหวัดระยอง ผลของการจัดวางตามจำนวนแท่งคอนกรีตที่ต่างกัน ในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง บทบาทของความจำเพาะกับแหล่งอาศัยต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของแมลงริ้นดำ (Diptera: Simuliidae) การประมงเบ็ดราวปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดียโดยเรือประมงต่างชาติ ที่ขึ้นท่าจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทย ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก