สืบค้นงานวิจัย
การจัดการธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
วลัญดรรชน์ เอี่ยมวรการ, อรอนงค์ บัวดำ, วุฒิชัย จันทรสมบัติ, หนูจันทร์ ศิริสุวรรณ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
ชื่อเรื่อง (EN): Management secondary macronutrients and micronutrients to increase cassava yield
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ดำเนินการวิจัยในกลุ่มชุดดินที่ 43 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระยะเวลาทำการทดลอง 1 ปี ดำเนินการวิจัยเดือน ตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Design (CBD) มี 9 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับที่ 1 แปลงควบคุม (Control) ไมใส่ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ตำรับที่ 2 ใส่ธาตุอาหารหลัก อาหารรอง และ อาหารเสริมทุกชนิด ยกเว้น แมกนีเซียม (Mg) ตำรับที่ 3 ไม่ใส่กำมะถัน (S) ตำรับที่ 4 ไม่ใส่แคลเซียม (Ca) ตำรับที่ 5 ไม่ใส่สังกะสี (Zn) ตำรับที่ 6 ไม่ใส่แมงกานีส (Mn) ตำรับที่ 7 ไม่ใส่เหล็ก (Fe) ตำรับที่ 8 ไม่ใส่โบรอน (B) และ ตำรับที่ 9 ไม่ใส่ทองแดง (Cu) ผลการทดลอง พบว่า หลังจากปลูกมันสำปะหลังเป็นระยะเวลา 10 เดือน จนกระทั้งเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ปรากฏอาการขาดธาตุอาหารรองและอาหารเสริมให้เห็น ทุกตำรับการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในด้านการเจริญเติบโต มีความสูงต้นเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.5 - 2.43 เมตร และให้ผลผลิตต่อต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 1.43 -5.17 กิโลกรัมต่อต้น คำสำคัญ : ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม มันสำปะหลัง
บทคัดย่อ (EN): Study on Management secondary macronutrients and micronutrients to increase cassava yield was conducted on soil group 43 at Tumbon Thungsukla, Amphoe Siracha, Chonburi Province for 1 year during the period of October 2015 to September 2016. The Randomized Complete Design (CBD) was designed for 3 replications 9 treatments including 1.) No all secondary macronutrient and micronutrient elements (control) 2). No magnesium 3). No sulfer 4). No calcium 5). No zinc 6). No manganese 7) no ferrous 8). No boron and 9). No copper. After planting for 10 months and harvesting, there were no nutrient deficiency symptoms in all treatments. The growth and yield were not statistically significant difference. The average height was 1.5 - 2.43 meters and the average yield is between 1.43 -5.17 kg per plant. Keyword : Secondary macronutrient elements , Micronutrient elements , Cassava
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
อาหารจากมันสำปะหลัง การตอบสนองต่อปุ๋ย ธาตุอาหารเสริมที่มีต่อผลผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50 การจัดการดินและธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา การกำหนดแนวทางการจัดการธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมอย่างมีประสิทธิภาพในดินปลูกอ้อย ในจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา อิทธิพลของธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าอะตราตั้ม ปลูฏใรชุดดินบ้านทอน และชุดดินท่าแซะ การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการจัดการดินและพืช การสะสมปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุอาหาร และโลหะหนักของพืชผักและไม้ผลระยะเก็บเกี่ยว ในพื้นการเกษตรศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ อาหารบำรุงสมอง การเปรียบเทียบผลผลิตมันสำปะหลังในสภาพไร่เกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก