สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนและประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคใต้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน
ชัญญาภัค หล้าแหล่ง - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนและประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคใต้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน
ชื่อเรื่อง (EN): An analysis of cost-return and efficiency of Industrial drop of South of Thailand To enhance competitiveness.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัญญาภัค หล้าแหล่ง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chanyaphak Lalaeng
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง "การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคใต้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน" ทำการศึกษาพืชเศรษฐกิจในเศรษฐกิจ 3 ชนิด ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และกาแฟ ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา และกาแฟ โดยมีอายุโครงการของปาล์มน้ำมันและยางพารา 25 ปี และอายุโครงการของกาแฟ 15 ปี และใช้อัตราคิดลดที่ 12% ต่อปี ตามอัตราเงินกู้ที่เกษตรกรในท้องที่ต้องชำระคืนให้แก่สถาบันทางการเงินที่กู้ยืมมาพบว่า ปาล์มน้ำมันเกษตรกร ะเริ่มได้รับผลผลิตในที่ 3 เมื่อสิ้นสุด โครงการเกษตรก่ร จะมีรายรับเป็น 2,1 7 1,189 บาท สำหรับยางพาราเกษตรกร จะเริ่มได้รับผลผลิตในที่ 7 เมื่อสิ้นสุดโครงการเกษตรกร จะมีรายรับเป็น 2,584 088. 75 บาท และกาแฟเกษตรกรจะเริ่มได้รับผลผลิตในที่ 4 เมื่อสิ้นสุดโครงการเกษตรกรจะมีรายรับเป็น 2,164.0 17 บาท การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 380,669.4 บาท มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 7.43 เท่า และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 14.51 ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์พบว่าการปลูกปาล์มน้ำมันมีความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยเมื่อพิจารณาค่า NPV แล้วมีค่ามากกว่าศูนย์ หรือมีค่าเป็นบวก แสดงว่าผลตอบแทนเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วสูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการทำให้เกิดกำไร สำหรับ BCR มีค่ามากกว่า 1 แสดงให้เห็นว่ามูลค่าปัจจุบันของรายได้มีคำมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่าย อาจกล่าวได้ว่า เมื่อลงทุน บาท ทำให้ได้ผลตอบแทนกลับมา 7.43 บาท ส่วน IRR มีค่าเท่ากับร้อยละ 14.51 สำหรับการลงทุนปลูกยางพารา พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ -832,503.57 บาท มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.94 เท่า และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 10.56 ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนปลูกยางพารา พบว่า เมื่อพิจารณาค่า NPV แล้วมีคำน้อยกว่าศูนย์ หรือมีค่าเป็นลบ แสดงว่าผลตอบแทนเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วสูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการทำให้เกิดผลขาดทุน อันเนื่องมาจากราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำมาก หากยังมีการจ้างการเก็บเกี่ยวในอัตราส่วน 60 : 40 หรืออัตราร้อยละ 40 เกษตรกรจะอยู่ไม่ได้ เกษตรกรจำต้องมีการปรับตัวในส่วนของการจ้างเก็บเกี่ยวโดยการทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตเอง สำหรับ BCR มีค่ามากกว่า 1 แสดงให้เห็นว่ามูลค่าปัจจุบันของรายได้มีค่าน้อยกว่ามูลค่าปัจจุบันของค่าใช้ง่าย อาจกล่าวได้ว่าเมื่อลงทุน 1 บาท ทำให้ได้ผลตอบแทนกลับมา 1 94 บาท ส่วน IRR มีค่าเท่ากับร้อยละ 10.56 ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของรายได้เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของค่าไช้จ่าย มีค่าต่ำกว่าอัตราคิดลดร้อยละ 12 และ การลงทุนปลูกกาแฟ พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 458,839บาท มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 6.26 เท่า และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการลงทุน (RR) เท่ากับร้อยละ 16.6 ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนปลูกกาแฟ พบว่าเมื่อพิจารณาค่า NPV แล้วมีค่ามากกว่าศูนย์ หรือมีค่าเป็นบวก แสดงว่าผลตอบแทนเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วสูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการทำให้เกิดผลกำไร สำหรับ BCR มี ค่ามากกว่า 1 แสดงให้เห็นว่ามูลค่าปัจจุบันของรายได้มีค่ามากกว่ามูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่าย อาจกล่าวได้ว่าเมื่อลงทุน 1 บาท ทำให้ได้ผลตอบแทนกลับมา 6.26 บาท ส่วน IRR มีค่าเท่ากับร้อยละ 16.6 ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของรายได้เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่าย มีค่าสูงกว่าอัตราคิดลดร้อยละ 12 ระดับประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตปาล์มน้ำมัน พบว่า เกษตรกรมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 0.9 418 หรือ 94.18% หมายถึง เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อีก 5.82 % จากการ ใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการผลิตให้มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคสูงสุดต้องมีค่าเท่ากับ 1 หรือ 100 % โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 0.9848 หรือ 98.489 และมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตต่ำที่สุด เท่ากับ 0.7467 หรือ 74.67 % และมีเกษตรกรอยู่ร้อยละ 30 43 ที่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งนี้ร้อยละ 86.96 ของเกษตรกรมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคอยู่ในระดับสูงมากที่สุด (คืออยู่ในช่วง 0.9001 -1.0000) รองลงมาคือ ระดับสูงและปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 8.70 และ 4.3 5 ตามลำดับ ระดับประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตยางพารา พบว่า เกษตรกรมี ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 0.8762 หรือ 87.62 %หมายถึง เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อีก 12.38 % จากการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการผลิตให้มีประ สิทธิภาพเชิงเทดนิคสูงสุดต้องมีค่าเท่ากับ 1 หรือ 100 % โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตสูงงที่สุดเท่ากับ 0.9716 หรือ 97.16% และมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตต่ำที่สุด เท่ากับ 0.5168 และมีเกษตรกรอยู่ร้อยละ 36.9 ที่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ร้อยละ 58.70 ของเกษตรกรมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคอยู่ในระดับสูงและสูงมากที่สุดเท่ากัน (คืออยู่ในช่วง 0.9001 -1.0000) รองลงมาคือ ระดับสูง ปานกลาง ต่ำมาก และต่ำ คิดเป็น 30.43 4.35 4.35 และ 2,17 ตามลำดับ ระดับประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตกาแฟ พบว่า เกษตรกรมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 0,9006 หรือ 90.06% หมายถึง เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อีก 9.94 % จากการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการผลิตให้มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคสูงสุดต้องมีค่าเท่ากับ 1 หรือ 100 % โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 0.9006 หรือ 90.06% และมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตต่ำที่ สุด เท่ากับ 0.7887 หรือ 78.87 % และมีเกษตรกรอยู่ร้อยละ 52.1 7 ที่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ร้อยละ 47.88 ของเกษตรกรมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคอยู่ในระดับสูงและสูงมากที่สุดน (คืออยู่ในช่วง 0.8001 -0.9000) รองลงมาคือ ระดับสูงและปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 4.35 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Research “An Analysis of Costs and Returns and Production Efficiency to Economic crops to enhance Potential competitiveness in Southern Thailand” Study to three types of crops in the south, palm oil, tuber and coffee. Research result of cost and benefits of palm oil, rubber and coffee, Project Time is 25 year for palm oil and rubber and 15 year for coffee, using a discount rate of 12% per year. Oil palm farmers will be produced in the third, farmers will have revenue is 2,171,189 baht when end of the project, Rubber farmers will get yield in the seventh, farmers will have revenue is 2,584,088.75 when end of the project baht, Coffee farmers will get productivity in the fourth end of the project, farmers will have revenues of 2,164,017 baht. Analysis of the financial rewards of investing palm oil, the net present value (NPV) was 380,669.4 baht. Present value of compensation cost (BCR) was 7.43 and the internal rate of return of investment (IRR) was 14.51 percent. For Rubber, the net present value (NPV) was -832,503.57 baht, present value of compensation cost (BCR) was 1.94 times and the project’s internal rate of return (IRR) was 10.56 percent. Coffee, the net present value (NPV) was to the present value of 458,839 baht, present value of compensation costs (BCR) was 6.26, Internal rate of return equal to times the project (IRR) at 16.6 percent. Technical performance level oil palm production, the farmers are performance-oriented production techniques mean of 0.9418 or 94.18% The performance levels of technical rubber production, the farmers are performance-oriented production techniques mean of 0.8762 or 87.62%
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-57-045
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 224,925
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: http://mdc.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2560/chanyaphak_lalaeng_2558/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนและประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคใต้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกข้าวนาหยอดของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ต้นทุนและผลตอบแทนการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสุนัขบางแก้วในจังหวัดพิษณุโลก ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจโคนมไทยในลุ่มน้ำโขง ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน การศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน จาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทสื้อกลุ่มทอไทลื้อ บ้านทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทนทางการเงิน และประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทองในพื้นที่จังหวัด ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจในการผลิตผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ต้นทุนการปลูกพืชสมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเชียงเพ็ง การศึกษาศักยภาพและแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน แนวทางการลดต้นทุนการผลิตปลานิล โดยใช้สาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชที่ความหนาแน่นต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก