สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้ เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
วราภรณ์ แสงทอง, นายสุภักตร์ ปัญญา, ทุเรียน ทาเจริญ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้ เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Aromatic Glutinous Rice from Non-glutinous Rice by Using Marker-assisted Backcrossing
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 57 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียว 18 ล้านไร่ ซึ่งคิดเป็น 31 % ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด. พันธุ์ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ยที่ชาวนานิยมปลูกมีเพียง 3 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเหนียวพันธุ์ สันป่าตอง 1 กข10 และแพร่ 1 ในขณะที่ข้าวเจ้าพันธุ์ดีมีมากมาย ดังนั้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้าวเจ้าพันธุ์ดีจำนวน 2 พันธุ์ คือ ข้าวเจ้าพันธุ์ ชัยนาท 80 และสุพรรณบุรี 1 ซึ่งมีผลผลิตสูง ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญของข้าว มาเป็นพันธุ์รับ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นข้าวเหนียวหอมด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ซึ่งเป็นการคัดเลือกในระดับยีโนไทป์หรือยีน ทำให้การคัดเลือกมีความถูกต้อง แม่นยำ และช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ให้สั้นลง การทดลองเริ่มจากในฤดูแรก ผลิตเมล็ด F1 โดยผสมข้ามข้าวเจ้าพันธุ์ชัยนาท 80 และสุพรรณบุรี 1 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์รับ กับข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์ให้ พบว่า ผลิตเมล็ด F1 ของคู่ผสมระหว่างชัยนาท 80 กับ กข6 ได้จำนวน 19 เมล็ด ส่วนคู่ผสมระหว่างสุพรรณบุรี 1 กับ กข6 ได้จำนวน 82 เมล็ด ในฤดูที่ 2 ผลิตเมล็ด BC1F1 ของคู่ผสมข้าวเจ้าชัยนาท 80 กับข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ได้จำนวน57 เมล็ด และผลิตเมล็ด BC1F1 ของคู่ผสมข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 กับข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ได้จำนวน 147 เมล็ด ฤดูที่ 3 ผลิตเมล็ด BC2F1 ของคู่ผสมชัยนาท 80 x กข6 ได้จำนวน 24 เมล็ด และสุพรรณบุรี 1 x กข6 จำนวน 97 เมล็ด และในฤดูที่ 4 ผลิตเมล็ด BC3F1 ของคู่ผสมชัยนาท 80 x กข6 จำนวน 32 เมล็ด และสุพรรณบุรี 1 x กข6 จำนวน 226 เมล็ด นอกจากนี้ พบว่า background markers จำนวน 8 ตำแหน่ง ที่สามารถแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์ชัยนาท 80 กับข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ได้ และ background markers จำนวน 7 ตำแหน่งที่สามารถแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 กับข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ได้ ต่อมาในฤดูที่ 5 ผลิตเมล็ด BC4F1 ของคู่ผสมชัยนาท 80 x กข6 จำนวน 82 เมล็ด และเมล็ด BC4F1 ของคู่ผสมสุพรรณบุรี 1 x กข6 จำนวน 61 เมล็ด รวมถึงเมล็ด BC3F2 (ชัยนาท 80 x กข6) จำนวน 6 ประชากร และเมล็ด BC3F2 (สุพรรณบุรี 1 x กข6) จำนวน 3 ประชากร ฤดูที่ 6 ผลิตเมล็ด BC5F1 ของคู่ผสมชัยนาท 80 x กข6 จำนวน 11 เมล็ด และเมล็ด BC4F1 ของคู่ผสมสุพรรณบุรี 1 x กข6 จำนวน 17 เมล็ด รวมถึงเมล็ด BC4F2 (ชัยนาท 80 x กข6) จำนวน 4 ประชากร และเมล็ด BC4F2 (สุพรรณบุรี 1 x กข6) จำนวน 3 ประชากร ฤดูที่ 7 เนื่องจากการคัดเลือกต้น BC5F1 (ชัยนาท 80 x กข6) พบต้นที่มียีโนไทป์เป็น heterozygous เพียง 1 ต้น และการคัดเลือกต้น BC5F1 (สุพรรณบุรี 1 x กข6) ไม่พบต้นที่มียีโนไทป์เป็น heterozygous ของยีนทั้ง 2 ตำแหน่ง จึงแก้ไขโดยการปลูกและคัดเลือกเมล็ด BC4F2 เพื่อผลิตเมล็ด BC5F1 ซึ่งได้เมล็ด BC5F1 ของคู่ผสมชัยนาท 80 x กข6 จำนวน 19 เมล็ด และเมล็ด BC5F1 ของคู่ผสมสุพรรณบุรี 1 x กข6 จำนวน 21 เมล็ด ฤดูที่ 8 ผลิตเมล็ด BC6F1 ของคู่ผสมชัยนาท 80 x กข6 จำนวน 23 เมล็ด และเมล็ด BC6F1 ของคู่ผสม สุพรรณบุรี 1 x กข6 จำนวน 40 เมล็ด รวมถึงเมล็ด BC5F2 (ชัยนาท 80 x กข6) จำนวน 2 ประชากร และเมล็ด BC5F2 (สุพรรณบุรี 1 x กข6) จำนวน 11 ประชากร และฤดูที่ 9 ผลิตเมล็ด BC7F1 ของคู่ผสมชัยนาท 80 x กข6 จำนวน 40 เมล็ด และเมล็ด BC7F1 ของคู่ผสมสุพรรณบุรี 1 x กข6 จำนวน 167 เมล็ด รวมถึงเมล็ด BC6F2 (ชัยนาท 80 x กข6) จำนวน 3 ประชากร และเมล็ด BC6F2 (สุพรรณบุรี 1 x กข6) จำนวน 5 ประชากร คำสำคัญ: ข้าวเหนียว, ข้าวเจ้า, ผสมกลับ และเครื่องหมายโมเลกุล
บทคัดย่อ (EN): Thailand has about 57 million rais of land grown to rice, 18 million rais of which have been planted to glutinous rice, comprising about 31% of the total area. There have only been about 3 rice varieties which farmers preferred to cultivate: San Pa Tong 1, RD6 and Phrae 1 among the many good varieties of non-glutinous rice varieties, This project aimed to use two good non-glutinous rice varieties (Chai Nat 80 and Suphan Buri 1) which are high yielding, dwarf, non-photoperiod sensitive and highly resistant to disease and pests (important characteristics of the rice plant) as receiver plants in order to develop the sweet glutinous rice varieties by molecular marker-assisted backcrossing to select genotypes or genes that would lead to proper selection of recurrent parents and at the same time, reduce the period of deverlopment. The research was started initially with the production of F1 seeds by crossing Suphan Buri 1 and Chai Nat 80 which were used as donor parents with glutinous RD6 as recurrent parents. Results showed that Nineteen F1 seeds were produced by the cross between Chai Nat 80 and RD6 while 82 seeds resulted from the cross between Suphan Buri 1 and RD6. In the second planting season, 57 BC1F1 seeds resulted from the cross between non-glutinous Chai Nat 80 and glutinous RD6 while 147 seeds were produced from the cross between non-glutinous Suphan Buri 1 and glutinous RD6. In the third planting season, produced BC2F1 seeds from the cross between Chai Nat 80 x RD6 and Suphan Buri 1 x RD6 result were 24 and 97 seeds respectively. Finally in the fourth planting season, 32 BC3F1 seeds resulted from the cross between non-glutinous Chai Nat 80 and glutinous RD6 while 226 seeds were produced from the cross between non-glutinous Suphan Buri 1 and glutinous RD6. Aside from these, results also showed that 8 background markers were located in loci which could indicate the genetic differences between non-glutinous Chai Nat 80 and glutinous RD6 and 7 background markers were able to show the genetic difference between non-glutinous Suphan Buri 1 and RD6. In the fifth planting season, produced BC4F1 seeds from the cross between Chai Nat 80 x RD6 and Suphan Buri 1 x RD6 were 82 and 61 seeds, respectively. In addition, BC3F2 (Chai Nat 80 x RD6) seeds yielded had 6 populations and BC3F2 (Suphan Buri 1 x RD6) yielded had 3 populations In the sixth planting season, 11 BC5F1 seeds resulted from the cross between non-glutinous Chai Nat 80 and glutinous RD6 while 17 seeds were produced from the cross between non-glutinous Suphan Buri 1 and glutinous RD6. In addition, BC4F2 (Chai Nat 80 x RD6) seeds yielded had 4 populations and BC4F2 (Suphan Buri 1 x RD6) yielded had 3 populations In the seventh planting season, due to the selection of the BC5F1 plant from the cross between non-glutinous Chai Nat 80 and glutinous RD6 yielded only 1 plant with genotypes heterozygous and the BC5F1 plants from the cross between non-glutinous Suphan Buri 1 and glutinous RD6 did not have genotypes as heterozygous at 2 loci. The selection was modified by planting BC4F2 plant for producing BC5F1 seeds. Results showed that 19 BC5F1 seeds were produces from the cross between Chai Nat 80 and RD6 while 21 seeds resulted from the cross between Suphan Buri 1 and RD6. In the eighth planting season, 23 BC6F1 seeds resulted from the cross between non-glutinous Chai Nat 80 and glutinous RD6 while 40 seeds were produced from the cross between non-glutinous Suphan Buri 1 and glutinous RD6. In addition, BC5F2 (Chai Nat 80 x RD6) seeds had 2 populations and BC5F2 (Suphan Buri 1 x RD6) yielded had 11 populations In the ninth planting season, 40 BC7F1 seeds resulted from the cross between non-glutinous Chai Nat 80 and glutinous RD6 while 167 seeds were produced from the cross between non-glutinous Suphan Buri 1 and glutinous RD6. In addition, BC6F2 (Chai Nat 80 x RD6) seeds yielded had 3 populations and BC6F2 (Suphan Buri 1 x RD6) yielded had 5 populations Key words: glutinous rice, non-glutinous rice backcross and molecular markers
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้ เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2557
การศึกษาพันธุ์ขั้นต้น และการทดสอบผลผลิตของข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ที่ได้จากวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การทดสอบผลผลิตภายในสถานี ของสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ที่ได้จากวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์แม่โจ้ 2 จากข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 ด้วยวิธีผสมกลับ เเละใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ให้ต้นเตี้ยโดยวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ศึกษาการเกิดข้าวเจ้าปนในข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 การทดสอบผลผลิต การคุ้มครองพันธุ์ และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว หอม สีแดง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้เซลลูโลสสูงโดยใช้เทคนิค RAPD การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก