สืบค้นงานวิจัย
รายงานผลการศึกษาสภาพการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อส่งออก จังหวัดพิจิตร
สุวัตร พูลทวี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: รายงานผลการศึกษาสภาพการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อส่งออก จังหวัดพิจิตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุวัตร พูลทวี
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกของจังหวัดพิจิตร เป็นการศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ของเกษตรกรผู้ผลิตกระเจี๊ยบเขียว สภาพการผลิต รวมทั้งระบบการซื้อขายตลอดจนความคิดเห็นของเกษตรกรและสภาพปัญหาของการผลิตกระเจี๊ยบเขียวแบบครบวงจรของเกษตรกรจังหวัดพิจิตร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการผลิต การวิจัยและการพัฒนาคุณภาพรวมทั้งกำหนดแนวทางส่งเสริมการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกของจังหวัดพิจิตร ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดอีกทั้งจะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพืชชนิดอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกระเจี๊ยบเขียว การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษาจากเกษตรกรผู้ปลูกกระเจี๊ยบเขียวในเขตอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จำนวนทั้งสิ้น 53 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ผลิตกระเจี๊ยบเขียวแบบครบวงจรกับบริษัทเอกชนที่มีเป้าหมายเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรด้วยแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดไว้พร้อมกับเอกสาร หลักฐาน สัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่วนโครงการส่วนใหญ่ เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีสมาชิกในครอบครัว อยู่ระหว่าง 4-6 คน ใช้แรงงานในการปลูกกระเจี๊ยบเขียว 1-3 คน/ครอบครัว และเป็นแรงงานในครอบครัวซึ่งผ่านการฝึกอบรมการปลูกกระเจี๊ยบเขียวจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่ปลูกอยู่ระหว่าง 1-2 ไร่/ครอบครัว โดยใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทเอกชนผู้ร่วมโครงการ มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูก ทั้งนี้อาศัยน้ำฝนในการปลูกเป็นหลักโรคและแมลงที่สำคัญที่พบระบาดคือ โรคใบและฝักเหลือง และเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาวและหนอนกระทู้ฝัก ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ผลผลิตเฉลี่ย 254 กิโลกรัม/ไร่/ช่วงการผลิต 3 เดือนที่บริษัทมารับซื้อ ระบบการซื้อขาย บริษัทมีการกำหนดคุณภาพ มาตรฐาน และราคาไว้ในสัญญาระหว่างเกษตรกรและบริษัทรับซื้อ โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดหากมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งบริษัทจะกำหนดจุดรับซื้อ การตรวจหลักฐานและวิธีการชำระเงินไว้ รวมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตบางอย่างให้ ราคาโดยเฉลี่ยที่เกษตรกรได้รับเฉลี่ย กิโลกรัมละ 7 บาท ตามคุณภาพมาตรฐานและเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3 บาท ตามคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรที่มีต่อระบาดครบวงจรอยู่ที่ระบบและราคาการรับซื้อโดยเฉพาะระบบการจัดคุณภาพสินค้า รวมถึงวิธีการจ่ายเงินให้กับเกษตรกร ตลอดจนการประสานงานของกลุ่มผู้ผลิตและบริษัทที่รับซื้อ สำหรับการผลิตปัญหาที่สำคัญอยู่ที่เรื่องของโรคและแมลงรวมถึงเมล็ดพันธุ์ที่บริษัทนำมาให้เกษตรกรปลูก อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อบทบาทในการสนับสนุนของภาคราชการ และการจัดการของกลุ่มเกษตรกรด้วยกันเอง เพื่อให้การพัฒนาระบบการผลิตกระเจี๊ยบเขียว และพืชชนิดอื่นแบบครบวงจรให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการพัฒนาการผลิตโดยการคัดเลือกพื้นที่ปลูก และจัดระบบการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ ในขณะที่จะต้องพัฒนาองค์กรของเกษตรกรให้เข้มแข็งและมีความพร้อมในการผลิตในลักษณะครบวงจร โดยเฉพาะในเรื่องการจัดระบบซื้อขายการตลาดและระบบส่งเสริมการเกษตรให้สอดคล้องกันกับแนวทางการส่งออก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รายงานผลการศึกษาสภาพการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อส่งออก จังหวัดพิจิตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก การศึกษาศักยภาพผักส่งออกในตลาดญี่ปุ่น กรณีกระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่งและข้าวโพดฝักอ่อน ภาวะการผลิตกระเจี๊ยบเขียว การควบคุมโรคผลแตกผลลายในการผลิตลำไยส่งออกจังหวัดพะเยา ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก จ.ระยอง กลยุทธ์ในการสร้างและสื่อสารแบรนด์เพื่อการผลิตและส่งออกสัปปะรด ผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพและการไม่ไถพรวนร่วมกับพืชคลุมดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 บนชุดดินที่ 4 จังหวัดพิจิตร การใช้เทคโนโลยีการผลิต และการกระจายข้าวพันธุ์ดีของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดพิจิตร ปี 2548 โครงการเปรียบเทียบพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว การศึกษาหาปริมาณน้ำใช้ที่เหมาะสมของกระเจี๊ยบเขียว (ปีที่ 2)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก