สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อใช้ควบคุมโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) ของยางพาราโดยชีววิธี
พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา, พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อใช้ควบคุมโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) ของยางพาราโดยชีววิธี
ชื่อเรื่อง (EN): Screening of Antagonistic Bacteria to ControlWhite Root Disease(Rigidoporus lignosus) onPararubber (Hemilia Brasiliensis) byBiocontrol
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: แบคทีเรียปฏิปักษ์โรครากขาวยางพารา
บทคัดย่อ: การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อใช้ควบคุมโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) ของยางพารา (Hevea brasiliensis) โดยชีววิธี ชัยสิทธิ์ ปรีชา 1/ เวที วิสุทธิแพทย์ 1/ และพรศิลป์ สีเผือก2/ บทคัดย่อ ปัจจุบันโรครากขาวเป็นโรคที่มีการระบาดและก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับสวนยางสูงขึ้น การทดลองครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดโรครากขาว และคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรครากขาว ที่เกิดจากเชื้อ Rigidoporus lignosus จากแหล่งปลูกยางพารารวม 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และ สุราษฎร์ธานี ทำการเก็บตัวอย่างดินและดอกเห็ดมาแยกเชื้อ ทดสอบประสิทธิภาพในการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ พบว่ามีแปลงยางที่เกิดโรคทั้งหมด 75 แปลง เป็นแปลงยางเก่า 50 แปลง (66.67%) แปลงยางใหม่ที่ไม่เคยปลูกยางมาก่อน 25 แปลง (33.33%) เมื่อแยกเชื้อ R. lignosus บนอาหาร PDA พบลักษณะเส้นใยค่อนข้างหยาบ มีสีขาวฟู มีผนังกั้นไม่มี clamp connection สปอร์กลม ใส ขนาดเฉลี่ย 10 ไมครอน สร้างดอกเห็ดสีน้ำตาล ส้ม ไม่มีก้านดอก ดอกเห็ดยึดติดกับไม้โดยตรง การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์พบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์สายพันธุ์ S001, P001, N001 และ T001 รวม 4 สายพันธุ์ จาก 135 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสาเหตุได้ดีทั้งในห้องปฏิบัติการ และเรือนทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ S001 และ P001 มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้สาร carbendazim และ tridemoph เมื่อทำการจำแนกชนิดของเชื้อปฏิปักษ์ทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยใช้ลักษณะทางสัณฐาน และการใช้คาร์บอนจากแหล่ง ต่าง ๆ 49 ชนิด โดยใช้ระบบ API? 50 CHB นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์กับฐานข้อมูล Apiweb? จำแนกเป็นเชื้อ Bacillus subtilis หรือ Bacillus amyloliquefaciencs โดยมีระดับเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องในการจำแนก 99.1, 96.4, 98.8 และ 95.3% ตามลำดับ แบคทีเรียปฏิปักษ์ดังกล่าวจึงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นสูตรสำเร็จเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ต่อไป คำสำคัญ : แบคทีเรียปฏิปักษ์ โรครากขาว ยางพารา
บทคัดย่อ (EN): Screening of Antagonistic Bacteria for Biocontrol Agent to Control White Root Disease (Rigidoporus lignosus) on Para rubber (Hevea brasiliensis) Chaisit Preecha1/ Wethi Wisutthiphaet 1/ and Pornsil Seephueak2/ White root disease causes severe damage to Para rubber in this time and possible increase in the short period. This research objected to study the occurrence of white root disease and screen antagonistic bacteria which high potential to control causing agent Rigidoporus lignosus . The occurrence and symptom were observed in 4 provinces included Nakhon Si Thammarat, Trang, Phatthalung and Surat Thani. Soil sample and basidiocarp were collected from Para rubber orchard to isolate Rigidoporus lignosus and indigenous antagonistic bacteria. The antagonistic potential was tested in vitro and greenhouse. Disease occurrence in orchard was observed. The most disease occurred orchard, fifty orchards (66.67%) were re-growing to replace old Para rubber plant and 25 orchards (33.33%) were new growing area. Causing fungal R. lignosus isolated from collected sample growing on PDA was white cottony flat colony, hyaline, septate, and no clam connection hypha. Spore was round hyaline with 10 micrometer diameter. Basidiocarp was leathery semi circular flat yellowish orange to brownish orange bracket. It attached directly to the bark of Para rubber crown or substrate with the broad base without stalk. The antagonistic bacteria use to control R. lignosus was screened both in vitro and in greenhouse. Four of 135 strains included strain N001, T001 and especially S001 and P001 were found to be high potential antagonist. Their control efficacy was equal to carbendazim and tridemoph. Morphological character, aerobic condition and API 50ch included 49 carbon source were used to characterized and identify all stains. Most strain, S001, P001, N001 and T001 were identified to be Bacillus subtilis or B. amyloliquefaciens with percentage of identification of 99.1, 98.8, 96.4, and 95.3% respectively. Those antagonistic bacteria expressed high control efficacy to develop as the formula and introduce to famers. Keywords: antagonistic bacteria, White Root Disease, Para rubber
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อใช้ควบคุมโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) ของยางพาราโดยชีววิธี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2553
การคัดเลือกสายพันธุ์ยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) เพื่อใช้เป็นต้นตอ ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การคัดเลือก และการขยายพันธุ์ต้นตอยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี การคัดเลือกแบคทีเรียจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลิตเอทานอล ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกยางพาราในจังหวัดพัทลุง การควบคุมโรคเส้นดำของยางพาราโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอมา การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วย การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก