สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์แม่โจ้ 2 จากข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 ด้วยวิธีผสมกลับ เเละใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
วราภรณ์ แสงทอง - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์แม่โจ้ 2 จากข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 ด้วยวิธีผสมกลับ เเละใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of glutinous rice Maejo 2 line from non-glutinous rice Pathum Thani 1 with molecular marker-assisted backcrossing
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราภรณ์ แสงทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Varaporn Sangtong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวเหนียวหอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง สายพันธุ์แม่โจ้ 2 เป็นสิ่งที่คิดค้นขึ้นใหม่ โดยมีความแปลก ใหม่ เพราะได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง พันธุ์ปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์รับ และ ข้าวเหนียวพันธุ์กข6 เป็นพันธุ์ให้ ด้วยวิธีผสมกลับ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก (molecular marker-assisted backcrossing; MAB) โดยผสมข้าวเจ้า (WxWx) พันธุ์ปทุมธานี 1 (พันธุ์รับ) กับข้าวเหนียว(wxwx) พันธุ์ กข6 (พันธุ์ให้) ต่อจากนั้นนำ F1 (Wxwx) ผสมกลับไปหาข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 (พันธุ์รับ) จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งของการผสมกลับ ใช้เครื่องหมายโมเลกุล คือ wx marker ซึ่งเฉพาะกับ อัลลีลเด่น Wx : ข้าวเจ้า และ อัลลีลด้อย wx : ข้าวเหนียว ช่วยคัดเลือกต้น BCnF1 ที่มียีโนไทป์เป็น Wxwx แล้วจึงผสมกลับไปหาข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 เมื่อได้ต้น BC4F1 ที่มียีโนไทป์เป็น Wxwx ทำการผสมตัวเองได้เมล็ด BC4F2 คัดเลือกเมล็ดข้าวเหนียว (wxwx) ไปปลูกต่อ และผสมตัวเองได้เมล็ด BC4F3 แล้วนาไปปลูกศึกษาพันธุ์ 2 ฤดู ทดสอบผลผลิต 3 ฤดู รวมทั้งทดสอบคุณสมบัติทางเคมีของข้าว ระดับความต้านทานโรคไหม้ และเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล ทำการทดลองทั้งหมด 7 ปีต่อเนื่อง จนได้ข้าวเหนียวหอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง สายพันธุ์แม่โจ้ 2
บทคัดย่อ (EN): “Maejo 2” is a new variety of glutinous rice with desirable aroma, lacking photoperiod sensitivity and exhibiting a semi-dwarf stature. Glutinous rice Maejo 2 was improved from the recurrent non-glutinous rice parent, Pathum Thani 1 (WxWx), which has desirable aroma, lacks photoperiod sensitivity and has a semi-dwarf stature. Pathum Thani 1 was crossed with a glutinous rice (wxwx) donor parent, RD6 to initiate a backcross breeding program. Molecular markers for the wx (glutinous, recessive) or Wx (normal, dominant) alleles were used to identify progeny that inherited the desired wx allele in heterozygous individuals that don’t express the glutinous phenotype. Thus, each BCnF1 generation, F1 progeny with the of backcrossing in this way, the BC4F1 plants were self pollinated to produce BC4F2 progeny that segregated to produce both glutinous and non-glutinous seeds. Glutinous seeds were planted and self pollinated to produce true breeding glutinous BC4F3 seed that was observed in two seasons and tested in yield trials for three seasons. Chemical properties, and resistance to blast and brown planthopper were also tested. After seven years of development, Maejo2 exhibits a unique combination of desired traits including glutinous texture, desirable aroma, lack of photoperiod sensitivity and semi-dwarf stature.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328771
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์แม่โจ้ 2 จากข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 ด้วยวิธีผสมกลับ เเละใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
กรมการข้าว
2555
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้ เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การศึกษาพันธุ์ขั้นต้น และการทดสอบผลผลิตของข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ที่ได้จากวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ให้ต้นเตี้ยโดยวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหนมโดยใช้เทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม 2. ผลของข้าวเจ้าและข้าวเหนียวต่อการผลิตกรแลคติคในผลิตภัณฑ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก