สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างทางการเกษตรโดยใช้สารเรืองแสง
ดร.จุฑามาส คุ้มชัย - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างทางการเกษตรโดยใช้สารเรืองแสง
ชื่อเรื่อง (EN): Development of pesticides residue determination method by fluorescence substances
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดร.จุฑามาส คุ้มชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธนะชัย พันธ์เกษมสุข
คำสำคัญ: อาหารปลอดภัย ผักคะน้า สารเรืองแสง
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างทางการเกษตรโดยใช้สารเรืองแสง” แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างทางการเกษตรโดยใช้สารเรืองแสง จากการศึกษาวิจัยพบว่า ได้วิธีตรวจสารพิษตกค้างในผักผลไม้ด้วยการใช้สารเรืองแสง โดยใช้  Luminol กับ Fe – EDTA ทดสอบในผักกาดขาวพบว่า สารละลายไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อใบผัก และสามารถเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนระหว่างสีของ Luminol และ Fe – EDTA ได้ด้วยตาเปล่า เมื่อได้รับแสง UV ภายใต้กล่องทึบแสงจะมีการเรืองแสงเกิดขึ้น ทำให้สามารถแยกความแตกต่างของใบผักที่ได้รับและไม่ได้รับสารเรืองแสงได้ด้วยตาเปล่า และพบการเรืองแสงในทุกๆ ความเข้มข้น นอกจากนี้ยังทดสอบในยาฆ่าแมลงทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ คาร์บาเมท (C) ออร์กาโนฟอสเฟต (O) คลอริเนตเตตไฮโดรคาร์บอน (A) และไพริธรัม (P) ต่อใบผักไผ่และต้นผักคะน้าในระยะต้นกล้า พบว่า  สารละลายไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อใบผักไผ่และต้นกล้าคะน้า และสาร Luminol และ Fe – EDTA สามารถทดสอบการเรืองแสงของยาฆ่าแมลงได้ โดยสามารถเห็นการเรืองแสงที่ชัดเจนในยาฆ่าแมลงกลุ่มคลอริเนตเตตไฮโดรคาร์บอน (A)           ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ วิธีตรวจสารพิษตกค้างในผักผลไม้ด้วยการใช้สารเรืองแสง ซึ่งสารเรืองแสงที่ใช้เป็นแบบ time – temperature color และใช้ในทางการแพทย์ ทำให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าไดทันทีและมีความปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ปัจจุบันมีความตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-07-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างทางการเกษตรโดยใช้สารเรืองแสง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
31 มีนาคม 2558
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาปริมาณสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตรส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลี การพัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ย่อยสลายสารพิษตกค้าง การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้เพื่อการรับรองระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ชนิดของเห็ดมีพิษ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิตทางการเกษตร : สารพิษตกค้าง ปุ๋ย ดิน น้ำ สารสกัดฮอร์โมน และผลิตภัณฑ์วัตถุมีพิษทางการเกษตร คุณสมบัติน้ำมันและสารพิษในน้ำมันเมล็ดฝ้ายไทย การพัฒนาเทคนิคฟองไมโคร-นาโนโอโซนในการลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ตัดแต่งพร้อมบริโภคบางชนิดเพื่ออาหารปลอดภัย การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อสนองแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก