สืบค้นงานวิจัย
ผลของการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่องต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน
พรชัย จูลเมตต์ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: ผลของการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่องต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of the Application of Health Belief Model in Exercise with Health Circle Rubber Chain and Nine - Square Table on Health-Related Physical Fitness and Well-being of Chronically Ill Community-dwelling Older Persons
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรชัย จูลเมตต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่อง ต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 60 ราย ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 รายกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่อง สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ แบบวัดความผาสุกในชีวิตโดยทั่วไป ที่มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .91 และ .90 ตามลำดับ และรูปแบบการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่อง สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนที่มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มทดลองมีคะแนนความผาสุกหลังการทดลอง (M=96.0, SD=3.48) มากกว่าก่อนการทดลอง (M=48.20, SD=5.81) และมากกว่ากลุ่มควบคุม(M =50.07, SD=6.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น พยาบาลควรนำรูปแบบการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่อง สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนนี้ไปใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุในกลุ่มนี้
ชื่อแหล่งทุน: เงินรายได้จากส่วนงาน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-03-26
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-03-26
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่องต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน
มหาวิทยาลัยบูรพา
26 มีนาคม 2557
เอกสารแนบ 1
การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยยางยึดประยุทต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง กินเจอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน การพัฒนาข้าวก่ำเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง กระบวนการพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุอำเภอเมืองบุรีรัมย์ การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวเขตเมือง กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก ประเทศไทย นํ้ามันมะกอกกับสุขภาพ การพัฒนาผู้นำกิจกรรมทางกายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เคล็ดลับสุขภาพสำหรับคุณผู้หญิง การควบคุมน้ำหนักและไขมันในนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินปกติ โดยวิธีออกกำลังกายแบบแอโรบิคด๊านซ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก