สืบค้นงานวิจัย
ความรู้และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบนที่สูง
ประเสริฐ คำออน - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความรู้และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบนที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Knowledge and Attitude of Agricultural Extension Workers on Highland Natural Resources Conservation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประเสริฐ คำออน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prasert Kham-on
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธีระเดช พรหมวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Theeradej Promwong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อวังนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์คือ ต้องการศึกษาความรู้และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนหาแนวทางในการเพิ่มพูน ความรู้ การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและศึกษาถึงระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการส่งเสริมเกษตรที่สูง วิธีดำเนินการคือทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรที่สูงจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 8 หน่วยงาน ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยวิธีสุ่มอย่างง่ายจำนวน 120 ราย โดยใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้น ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าน้ำหนักคะแนนเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับที่สูงคือร้อยละ 61.67 โดยมีคะแนนต่ำสุด 15 คะแนน คะแนนสูงสุด 30 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 25.63 คะแนน มีทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในระดับที่ดี คือร้อยละ 96.67 และไม่พบว่ามีทัศนคติไม่ดีเลย โดยมีค่าคะแนนทัศนคติเฉลี่ย 2.76 คะแนน สำหรับแนวทางในการเพิ่มพูนความรู้และสร้างจิตสำนึกที่ดี ควรจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์และสร้างความคิดริเริ่มโดยการให้การฝึกอบรม ดูงาน การสร้างขวัญกำลังใจ การเอาใจใส่จากผู้บังคับบัญชา การกำหนดบทบาทภาระหน้าที่ให้ชัดเจน มีวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และมีการประเมินผลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการ ส่งเสริมเกษตรที่สูงนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะต้องเป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น และไว้วางใจของเกษตร กรสร้างความคุ้นเคยและเป็นกันเองกับเกษตรกร ซึ่งจะเพิ่มควาซึ่งจะเพิ่มความเชื่อถือและศรัทธา ทำให้การถ่ายทอดทำได้ง่ายขึ้น จากนั้นก็ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารโดยการใช้สื่อและผู้นำหมู่บ้าน กลุ่มองค์กรต่างๆ แล้วชักจูงให้เกษตรกรมีส่วนร่วมเพื่อระดมความคิดเห็น โดยให้ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันบริหารจัดการ โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมหรือหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อเสนอแนะ ควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมรับรู้ถึงปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจังและผู้บังคับบัญชาต้องสร้างความเข้าใจในบทบาทภาระหน้าที่คอยกระตุ้นเอาใจใส่ ให้ข้อมูลข่าวสาร สร้างขวัญกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมริเริ่มโครงการต่างๆอันเป็นประโยชน์ได้
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research was to study the knowledge and attitude of the extension workers relating to natural conservation. And also to find out some approaches to encourage the self-conscious and motivation concerning natural resource conservation and to study the appropriate technique for technology transfer in agriculture extension. The population of 120 samples were selected from 8 agencies in Chiang Mai, Chiang Rai and Mae Hong Son Provinces by using simple random sampling technique. An interview questionnaire was used for data gathering. The data was analyzed and presented in forms of frequency, percentage, mean and weight mean score. From research findings, it was found that agricultural extension workers' knowledge about natural resource conservation was at high level (61.67%), The minimum point was 15, the maximum point was 30 and the average was 25.63. The attitude about natural resource conservation was also at good level (96.67%). None of them had negative attitude and the average of their attitude was 2.76. To be more knowledgeable and had better motivation, the extension workers should have training courses, field trips, moral support, clear job description, and evaluation and monitoring continuously. For technology transfer in the highland agricultural areas, the extension workers should be a person of good relation and friendly in order to be more accepted and trusted by farmers. Mass media, group leader and village organizations are effective channels for public relation. Participatory approach will be very useful for the community development, by having extension workers or government officials to support as an advisory or monitoring team. Other recommendation Highland Coffee Research and Development Center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai, 50200, Thailand.is to encourage the extension workers to be aware of the problems of natural resource and give full support to solve the problems. The head of organization or project should have clear understanding to working roles, take good care of the workers, give information, create moral support and give chances to initiate new projects which will be beneficial.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247174/169088
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความรู้และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบนที่สูง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2543
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในจังหวัดแพร่ ทัศนคติที่มีผลต่อการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ในจังหวัดสงขลา เครื่องมือสำหรับเทคโนโลยีสะอาดในงานก่อสร้างกรณีศึกษา 4 (R) การลด การใช้ซ้ำการนำกลับมาใช้ใหม่ และการดึงทรัพยากรกลับ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปีที่ 3 แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนกับการดำรงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติการผลิต วัฒนธรรม และการค้า จังหวัดเชียงใหม่ ทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการประกันภัยข้าวนาปีใน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ผลของการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อระดับความรู้ด้านการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดพังงา ทัศนคติและการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ชาเขียวแบบซอง สถานภาพการผลิตและทัศนคติในการเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่งในอำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก