สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการบางประการต่อการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ประดิษฐ์ รากทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการบางประการต่อการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประดิษฐ์ รากทอง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานโดยทั่วไปของเกษตรตำบลได้แก่ความต้องการด้านความรู้ทางวิชาการ การฝึกอบรมรายปักษ์ การฝึกอบรมเฉพาะกิจสวัสดิการในการปฏิบัติงาน และปัญหาด้านความรู้ทางวิชาการ การฝึกอบรมรายปักษ์ การฝึกอบรมเฉพาะกิจ สวัสดิการ การแก้ไขปัยหาตลอดจนข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาของเกษตรตำบล ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นเกษตรตำบลจำนวน 200 รายใน 4 จังหวัด ในภาคตะวันตกที่อยู่ในเขตดำเนินงานโครงการปรับปรุงงานส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย คือ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ใช้วิธีอธิบายประกอบแล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาค่าร้ยอละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรตำบลส่วนมากเป็นชาย มีอายุระหว่าง 22-39 ปี อายุเฉลี่ย 26 ปี นับถือศาสนาพุทธ มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในภาคตะวันตก และส่วนใหญ่ยังเป็นโสด เกษตรตำบลส่วนใหญ่จบการศึกษาประโยควิชาชีพชั้นสูงแผนกเกษตรกรรมไม่เคยปฏิบัติงานอื่นมาก่อน มีอายุราชการระหว่าง 3-4 ปี มีตำแหน่งระดับ 3 และไม่เคยย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน ได้รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตร 1 ตำบล และจำนวนครอบครัวเกษตรกรตั้งแต่ 501-1,000 ครอบครัว เฉลี่ย 1,102 ครอบครัวต่อเกษตรตำบลหนึ่งคน เกษตรตำบลส่วนมากต้องการความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับสัตว์ใหญ่ ข้าว และวิธีการส่งเสริมการเกษตรแบบกลุ่ม การฝึกอบรมรายปักษ์เดือนละ 2 ครั้ง เหมาะสมดีแล้ว วิธีการที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ คือ การบรรยายความรู้และศึกษาดูงาน เนื้อหาวิชาเกี่ยวกับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เกษตรตำบลส่วนมากต้องการเข้ารับการฝึกอบรมเฉพาะกิจ และคิดว่าวิทยากรที่บรรยายความรู้ควรเป็นนักวิชาการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งวิธีการให้ความรู้โดยการบรรยายและฝึกภาคปฏิบัติ ควรใช้ระยะเวลา 5-7 วัน สวัสดิการต่าง ๆ ที่ทางราชการสนับสนุน เกษตรตำบลส่วนมากเห็นว่าไม่เหมาะสมโดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป และส่วนมากที่มีความต้องการสวัสดิการในการปฏิบัติงานอาทิเช่น เงินเดือน ค่าครองชีพ ค่าเช่าบ้าน เบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักเพินทาง การพิสูจน์สมมติฐานปรากฏว่าเกษตรตำบลมีความต้องการความรู้ทางวิชาการที่ได้รับจากการฝึกอบรมเฉพาะกิจมากกว่าการฝึกอบรมรายปักษ์ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเกษตรตำบลที่มีตำแหน่งระดับที่แตกต่างกันมีความต้องการความรู้ทางวิชาการและสวัสดิการไม่แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานดังกล่าว ปัญหาความรู้ทางวิชาการของเกษตรตำบลส่วนมากคือ เรื่องข้าว สัตว์ใหญ่ และวิธีการส่งเสริมการเกษตรแบบกลุ่ม ส่วนปัญหาการฝึกอบรมรายปักษ์คือ วิทยากรไม่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา สำหรับปัญหาการฝึกอบรมเฉพาะกิจและสวัสดิการในการปฏิบัติงานคือ วัสดุทัศนูปกรณ์ไม่เพียงพอและน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป เกษตรตำบลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้วิธีการศึกษาจากผู้รู้ ทำการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากตำราและเอกสารทางวิชาการ รวมทั้งใช้เงินส่วนตัวซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ตามลำดับ ข้อเสนอแนะของเกษตรตำบล ควรใช้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ จัดฝึกอบรมรายปักษ์เพียงเดือนละครั้ง ควรจัดฝึกอบรมเฉพาะกิจให้มากขึ้น และเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอ ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย ควรเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการให้นักวิชาการเกษตรประจำจังหวัดมีความรู้ความชำนาญและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ดีขึ้น รวมทั้งปรับปรุงวิธีการดำเนินการประชุมรายปักษ์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ควรขอความร่วมมือสถานีทดลองต่างๆ ในท้องถิ่นจัดฝึกอบรมเฉพาะกิจแก่เกษตรตำบลโดยเน้นการฝึกปฏิบัติให้มาก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2533
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2534
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการบางประการต่อการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในภาคตะวันตกของประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2534
ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายวิชาการของสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย การปฏิบัติงานของเกษตรตำบลที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนตำบล บทบาทของเกษตรอำเภอและเกษตรตำบลภาคตะวันตก ตามระบบการฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ภายใต้โครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติงานตามระบบพัฒนาชนบทแห่งชาติของเกษตรตำบลในภาคตะวันตกของประเทศไทย ทัศนคติของเกษตรตำบลต่อการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตก ประเทศไทย ขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ปัญหาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในจังหวัดภาคกลาง ที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ความต้องการการฝึกอบรมของเกษตรตำบล จังหวัดสุรินทร์ ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก