สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาชะโอน 6 กลุ่มประชากร โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ
ณิชารินทร์ แก้วฤทธิ์, อนันต์ สี่หิรัญวงศ์, อำไพพรรณ ไกรสุรสีห์, ยงยศ หรี่คะนอง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาชะโอน 6 กลุ่มประชากร โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Diversity of Six Populations of Ompok bimaculatus (Bloch,1794) Using Microsatellites DNA Marker
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาชะโอน 6 กลุ่มประชากรโดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ เก็บตัวอย่างปลาชะโอนจากแหล่งน้ําธรรมชาติในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง โรงเพาะฟัก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําจืดชลบุรีจังหวัดชลบุรี หนองคาย พิจิตร และจากโรงเพาะฟัก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําจืดสงขลา จังหวัดสงขลา แหล่งละ 50 ตัว ทําการศึกษาอนุกรมวิธานและลักษณะโดยทั่วไปของปลาชะโอนแต่ละแหล่ง ตามวิธีของ Sambrook and Russell, (2001); ระยะเวลาที่ทําการทดลอง ตุลาคม 2557 – กันยายน 2560 ซึ่งผลการทดลองพบว่าดีเอ็นเอ ของตัวอย่างปลาชะโอนจาก 6 กลุ่มประชากรอยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีปริมาณเพียงพอ สําหรับวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาชะโอน 6 กลุ่มประชากรโดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอโดยนําตัวอย่างดีเอ็นเอของปลาชะโอนแต่ละแหล่งประชากรไปวิเคราะห์ความผันแปรของไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ตําแหน่งต่างๆ โดยเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบโพลีเมอเรส (PCR) โดยใช้สภาวะที่เหมาะสมของปฏิกิริยาพีซีอาร์ของแต่ละไพรเมอร์แยกขนาดดีเอ็นเอด้วยเทคนิคอิเล็คโตรโฟรเรซีสบนอะคริลาไมด์เจล 8 เปอร์เซ็นต์ (acrylamide gel) ในบัฟเฟอร์ TBE และอ่านขนาดโดยเปรียบเทียบกับเครื่องหมายดีเอ็นเอมาตรฐาน (10 bp DNA ladder; Invitrogen) หลังจากย้อมเจลด้วยสารเรืองแสงฟลูออ เรสเซนต์ (Cyber Gold?) และอ่านผ่านเครื่องอ่านเจล (FluorChem 8000, Alpha Innotech Corp) ในขั้นตอนคัดเลือกคู่ไพรเมอร์ที่สามารถแยกขนาดดีเอ็นเอได้โดยใช้ไพรเมอร์ของปลาชนิดอี่นๆ มีดังนี้ไพรเมอร์ปลาก้างพระร่วง ปลากดคัง ปลาดุกอุย ปลารากกล้วย ปลาเค้าขาว ปลาน้ําเงิน ทั้งหมด 52 คู่ไพรเมอร์นํามาทําการคัดเลือกไพรเมอร์ที่เหมาะสมสําหรับวิเคราะห์ความหลากหลายของปลาชะโอน 6 กลุ่มประชากร ไม่สามารแยกแทบดีเอ็นเอที่เหมาะสมได้ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาไพรเมอร์ของปลาชะโอนขึ้นมาใหม่ เพื่อนํามาวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาชะโอน 6 กลุ่มประชากรสําหรับผู้ที่จะทํางานวิจัยความหลากหลายของปลาชะโอนโดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): --
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาชะโอน 6 กลุ่มประชากร โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ
กรมประมง
30 กันยายน 2559
กรมประมง
การประเมินสถานภาพของประชากรปลาหมูงวงในแม่น้ำว้า จังหวัดน่านโดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรปลาพลวงหินในประชากรธรรมชาติ บริเวณแม่น้ำน่าน โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ 2557A17002046 ความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรเลียหิน (Garra cambodgiensis)  บริเวณแม่น้ำน่าน โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์   การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของถั่วลิสงนาโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาโมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เทคนิคไมโครแซททัลไลท์ดีเอ็นเอ การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว 2555A17003008 ความหลากหลายทางพันธุกรรมของผักเชียงดาโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลากระพงขาวจากทะเลสาบสงขลาและทะเลอันดามันโดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกกลุ่ม โคพื้นเมืองไทยด้วยไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของผักคาวตองในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก