สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง)
สุรังษี ทัพพะรังสี - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง)
ชื่อเรื่อง (EN): Cage Culture of Sex reversal in Nile tilapia (Oreochromis niloticus Linnaeus) with LVHD (Low Volume High Density) system
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรังษี ทัพพะรังสี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Surangsee Tapparangsee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง สุรังษี ทัพพะรังสี๑ ปวีณา ผิวขำ๒ สุริยัญ แสงหงษ์๓ สุภาพร มหันต์กิจ๓* เรณู ว่องส่งสาร๔ และมาลัย อิ่มศิลป์๓ ๑ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดราชบุรี ๒ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดมุกดาหาร ๓ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ๔ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดระยอง บทคัดย่อ ศึกษาการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง อัตรา 100, 200 และ 300 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ในบ่อพักน้ำขนาด 4 ไร่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี โดยปล่อยปลานิลความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 14.31+0.03, 14.30+0.17 และ 14.35+0.08 เซนติเมตร และน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 52.30+0.26, 51.80+0.87 และ 51.36+0.19 กรัม ตามลำดับ ลงเลี้ยงในกระชังขนาด 1.0x1.0x1.2 เมตร จำนวน 9 กระชัง ซึ่งมีระบบน้ำไหลผ่านตลอดเวลา ให้ปลาทดลองกินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำระดับโปรตีน 28 เปอร์เซ็นต์ จนอิ่มวันละ 2 ครั้ง เวลา 08.30 น.และ 16.30 น. ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกันยายน 2554 เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ปลานิลทดลองที่เลี้ยงที่ด้วยอัตราความหนาแน่น 100, 200 และ 300 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีความยาวสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 29.90+0.45, 29.38+1.18 และ 27.20+0.95 เซนติเมตร น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 626.36+26.27, 538.38+29.00 และ 437.87+54.20 กรัม น้ำหนักเพิ่มต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 6.22+1.44, 5.88+0.39 และ 4.65+0.65 กรัมต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยเท่ากับ 2.95+0.04, 2.79+0.08 และ 2.54+0.15 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราแลกเนื้อเฉลี่ยเท่ากับ 1.50+0.05, 1.73+0.07 และ 1.86+0.10 และอัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับ 91.33+1.52, 80.33+3.88 และ 78.55+4.07 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่า ปลานิลทั้ง 3 ชุดการทดลอง มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p0.05) แต่มีค่ามากกว่าและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) สำหรับอัตราแลกเนื้อเฉลี่ยของปลานิลที่เลี้ยงด้วยอัตราความหนาแน่น 200 และ 300 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับปลานิลที่เลี้ยงด้วยอัตราความหนาแน่น 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ด้านอัตรารอดเฉลี่ยของปลานิลที่เลี้ยงด้วยอัตราความหนาแน่น 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าสูงที่สุด และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับปลานิลที่เลี้ยงด้วยอัตราความหนาแน่น 200 และ 300 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับปริมาณผลผลิตเฉลี่ยปลานิลที่เลี้ยงทั้ง 3 อัตราความหนาแน่น พบว่ามีค่าเท่ากับ 57.09, 87.49 และ 104.70 กิโลกรัมต่อกระชัง ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่าต้นทุนการผลิตของแต่ละชุดการทดลองเท่ากับ 3,166.80, 4,731.74 และ 5,754.52 บาทต่อกระชัง มีจุดคุ้มทุนของราคาขายเท่ากับ 55.47, 54.08 และ 54.96 บาทต่อกิโลกรัม และผลตอบแทนต่อการลงทุนเท่ากับ 35.63, 38.95 และ 20.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากผลการทดลองครั้งนี้ เมื่อพิจารณาการเจริญเติบโต ประกอบกับต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยง สรุปได้ว่าปลานิลแปลงเพศที่เลี้ยงในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่น 200 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี และให้ผลตอบแทนสูงสุด คำสำคัญ: ปลานิลแปลงเพศ เลี้ยงในกระชัง ความหนาแน่นสูง การเจริญเติบโต ต้นทุนและผลตอบแทน *ผู้รับผิดชอบ: ๒๖๘ ม. ๕ ต.ท่าคอย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ๗๖๑๓๐ โทร. ๐ ๓๒๔๑ ๖๕๒๑ e-mail : msupaporn_psu @ yahoo.com
บทคัดย่อ (EN): Cage Culture of Sex Reversal of Nile Tilapia, Oreochromis niloticus (Linnaeus, 1758), with High Stocking Densities Surangsee Tapparangsee1 Paweena Phiwkham2 Suriyan Seanghong3 Supaporn Mahankij3* Renu Wongsongsarn4 and Malai Imsilp3 1 Ratburi Inland Fisheries Research and Development Center 2 Mukdahan Inland Fisheries Research and Development Center 3 Phetchaburi Inland Fisheries Research and Development Center 4 Rayong Inland Fisheries Research and Development Center Cage culture of sex reversal of Nile tilapia, Oreochromis niloticus (Linnaeus, 1758), with high stocking densities at 100, 200 and 300 fish/m3 was conducted in 4 Rais of earthen pond at Phetchaburi Inland Fisheries Research and Development Center. Fish with initial size of 14.31+0.03, 14.30+0.17 and 14.35+0.08 cm and 52.30+0.26, 51.80+0.87 and 51.36+0.19 g, respectively were stocked in nine of 1.0x1.0x1.2 m cages. Fish were fed with 28 % protein commercial floating pellet at apparent satiation twice a day at 08.30 AM and 16.30 PM during March to September 2011 for 16 weeks. The results showed that fish of 100, 200 and 300 fish/m3 had final body lengths of 29.90+0.45, 29.38+1.18 and 27.20+0.95 cm, respectively. Final body weights were 626.36+26.27, 538.38+29.00 and 437.87+54.20 g, respectively. Daily weight gains were 6.22+1.44, 5.88+0.39 and 4.65+0.65 g/day, respectively. The specific growth rates were 2.95+0.04, 2.79+0.08 and 2.54+0.15 %/day, respectively. Feed conversion ratios were 1.50+0.05, 1.73+0.07 and 1.86+0.10 and the survival rates were 91.33+1.52, 80.33+3.88 and 78.55+4.07 %, respectively. The final body weight of fish at 100 fish/m3 was significantly higher (p0.05) between 100 and 200 fish/m3. However, the daily weight gains had no significant difference (p>0.05) among all treatments. The feed conversion ratios of fish at 200 and 300 fish/m3 had significantly higher (p0.05) between 200 and 300 fish/m3. For the survival rates of fish at 100 fish /m3 had significantly higher (p< 0.05) than fish at 200 and 300 fish/m3, respectively. The mean of total weight of fish production at 3 treatments were 57.09, 87.49 and 104.70 kg/cage, respectively. For the production costs were 3,166.80, 4,731.74 and 5,754.52 baht/cage, respectively. The break even points were 55.47, 54.08 and 54.96 baht/kg and 35.63, 38.95 and 20.55 % cost of all returns, respectively. From the results, can be concluded that cage culture of Nile tilapia with high density at 200 fish/m3 is the most suitable when growth and production cost are considered. Key words: sex reversal tilapia, cage culture, high stocking densities, growth, production cost *Corresponding author: 268 Mu 5, Tha Khoy, Tha Yang, Phetchaburi 76130 Tel. 0 3241 6521 e-mail: msupaporn_psu @ yahoo.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-03-30
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง)
กรมประมง
30 มีนาคม 2555
กรมประมง
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ หนังสือการเลี้ยงปลานิลในกระชัง ความพร้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังเชิงพาณิชย์จังหวัดชัยนาท ในการเข้าสู่ระบบมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี) การใช้เศษขนมปังเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคมของการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร การศึกษาความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง จังหวัดหนองคาย การศึกษาการเลี้ยงปลานิลด้วยความหนาแน่นสูงในบ่อคอนกรีตที่มีระบบน้ำไหลเวียนแบบปิด การใช้เทคนิคชีววิถีในระบบกรองน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิดเพื่อผลผลิตปลานิลในเชิงพาณิชย์ การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร การวิจัยและพัฒนาวิธีป้องกันรักษาโรคปลานิลที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำชี
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก