สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการงอกของเมล็ดกวาวเครือขาว
สมพร สุริยันต์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการงอกของเมล็ดกวาวเครือขาว
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Seed Germination of Pueraria mirifica Airy-Shaw & Suvatabandhu
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพร สุริยันต์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somporn Suriyant
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาความงอกของเมล็ดกวาวเครือขาว Pueraria mirifica Airy-shaw & Suvatabandhu ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2544 ในเรือนทดลอง กลุ่มงานพฤกษชีพการวิทยา กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช วางแผนการทดลอง แบบ RCB มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี โดยเพาะเมล็ดกวาวเครือขาวในกระบะพลาสติกขนาด 15x20 ซม. ที่บรรจุขี้เถ้าแกลบผสมทราย อัตราส่วน 2:1 จำนวน 1.5 กิโลกรัม แต่ละกรรมวิธีเพาะ 100 เมล็ดต่อกระบะ กรรมวิธีที่ 1 ไม่มีการกระตุ้นการงอก กรรมวิธีที่ 2 แช่น้ำ 15 ชั่วโมง กรรมวิธีที่ 3 แช่น้ำ 15 ชั่วโมง แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 55๐ซ นาน 30 นาที กรรมวิธีที่ 4 แช่น้ำ 15 ชั่วโมง แล้วนำไปผึ่งแดด 3 ชั่วโมง กรรมวิธีที่ 5 แช่น้ำ 15 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปแช่กรดซัลฟูริคเข้มข้น 0.2% นาน 30 นาที หลังปลูกรดน้ำแ ละคลุมกระบะด้วยพลาสติกทำการเพาะติดต่อกัน 9 เดือน บันทึกความงอกหลังเพาะ 7, 14, 21, 28 และ 35 วัน พบว่า กรรมวิธีที่ 3 แช่น้ำ 15 ซม. แล้วนำไปอบ ที่อุณหภูมิ 55๐ซ นาน 30 นาที และกรรมวิธีที่ 4 แช่น้ำ 15 ซม. แล้วนำไปผึ่งแดด 3 ชม. ทุกเดือนที่เพาะกวาวเครือมีความงอกสูงไม่ต่างกัน ยกเว้นเพาะเดือนกันยายน กรรมวิธีที่ 3 มีความงอกสูงสุดส่วนเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงสุดเดือนพฤษภาคม ที่ 51.25 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): The study on seed germination of Pueraria mirifica Airy-Shaw & Suvatabandhu was conducted in the glasshouse of the Plant Physiology Group, botany and Weed Science Division, during April to December 2001. Randomized Complete Block Design with four replications and five treatments were employed. The seeds were planted in 15x20 cm plastic boxes containing the mixture of paddy ash and sand at the ratio 2:1 with 1.5 kg in each box. The 100 seeds were separately planted in each plastic box of each treatment. Seed germination was tested monthly up to nine months. The first treatment, seeds were untreated, the second, third, fourth and the fifth treatment, seeds were soaked in water for 15 hours and then the third treatment was dried in oven at 55๐C, the fourth dried in sunlight for 3 hours and the fifth was soaked in 0.2% sulfuric acid for 30 minutes. The plastic boxes were watered and covered with the plastic sheets. The percent of seed germination was counted at 7, 14, 21, 28 and 35 days after planting. The results showed that the third and the fourth treatment gave the highest seed germination for every month of testing. In September the third treatment was the highest percentage of germination and was different from other treatments. An average of germination percentage in May tended to be the highest at 51.25 percent.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการงอกของเมล็ดกวาวเครือขาว
กรมวิชาการเกษตร
2546
เอกสารแนบ 1
การขยายพันธุ์กวาวเครือขาวแบบไม่ใช้เพศ การกระตุ้นการเจริญเติบโตของลูกอ๊อดกบนาด้วยกวาวเครือขาวและกวาวเครือแดง ความสัมพันธ์ระหว่างการงอกของเมล็ดในแปลงปลูกกับผลการทดสอบ* คุณภาพเมล็ดในห้องปฎิบัติการของเมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่และเฮมิล ผลของการใช้กวาวเครือขาวต่อสมรรถภาพการผลิตของนกกระทาเพศผู้ ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อการงอกของเมล็ดมะแขว่น ผลของสมุนไพรกวาวเครือขาวต่อการแสดงลักษณะเพศและการเจริญเติบโตของปลาตะเพียนขาว ผลการเสริมกวาวเครือขาวต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่เนื้อสายพันธุ์การค้า ผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงต่อการพัฒนารังไข่ของแม่พันธุ์กุ้งฝอย (Macrobrachium lanchesteri) การประดิษฐ์กระดานนับ 100 เมล็ดสำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวและสำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง พันธุ์ สารออกฤทธิ์สำคัญและผลของสารสำคัญในกวาวเครือขาว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก