สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
อภิเดช ชัยพิริยะกิจ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อภิเดช ชัยพิริยะกิจ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ:      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ตำบล พะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 288 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า      ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 39 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้รับ การศึกษา มีสถานภาพสมรส มีพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 16 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยรวมใน ครัวเรือน 104,000 บาทต่อปี มีภาระหนี้สินเฉลี่ย 86,788 บาท จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นสมาชิกของสถาบันทางการเกษตร มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี โดยส่วนมากได้รับข่าวสารด้านการเกษตรจากสื่อโทรทัศน์ มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 7 ปี มีประสบการณ์ในการศึกษาดูงานและฝึกอบรมด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกขา้ วโพดเลี้ยงสัตวอ์ ยูใ่ นระดับปานกลาง สำหรับปจั จัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ เพศ และการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร      ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรที่สำคัญ คือ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีต้นทุนที่สูง เกษตรกรจึงต้องการให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาที่สูงขึ้น และสารเคมีที่ใช้ควรมีราคาตํ่าลงเพื่อลดต้นทุนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และต้องการให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://www.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/200909
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การยอมรับเทคโนโลยีในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี การยอมรับของเกษตรกรต่อโครงการส่งเสริมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว ปี 2540

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก