สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ของยีน MC4R ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจในสุกร
กมล ฉวีวรรณ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของยีน MC4R ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจในสุกร
ชื่อเรื่อง (EN): Association of the Melanocortin-4 Receptor (MC4R) with economic traits in pigs
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กมล ฉวีวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kamon Chaweewan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ยีน Melanocortin-4 Receptor (MC4R) เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกินอาหาร และการเจริญเติบโต การกลายพันธุ์ของยีน MC4R เพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ปริมาณการกินได้และความหนาไขมันสันหลัง การวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของยีน MC4R ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรที่พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โดยกรมปศุสัตว์ ในสุกรพันธุ์ดูร็อค ลาร์จไวท์แลนด์เรซ เปียแตรง ปากช่อง 2 ปากช่อง 3 ปากช่อง 4 ปากช่อง 5 และเชียงใหม่ 1 จำนวน 956 ตัวนำ DNA ที่สกัดจากเลือดมาเพิ่มจำนวนชิ้นส่วนของยีน MC4R ด้วยปฏิกิริยา PCR นำชิ้น DNA ที่ได้ไปตัด ด้วยเอนไซม์ TaqI เพื่อตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม เปรียบเทียบความแตกต่างของความถี่ของอัลลีลของยีน MC4R และวิเคราะห์ disequilibrium ของลักษณะพันธุกรรม วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะพันธุกรรมกับข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจที่ได้จากการทดสอบพันธุ์คืออัตราการเจริญเติบโต (ADG) ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร (FCR) ปริมาณ อาหารที่กิน (FI) ความหนาไขมันสันหลัง (BF) พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (LEA) และอายุเมื่อน้ำหนัก 90 กก. (Age90) โดย ใช้General Linear Model (GLM) พบว่าสุกรแทบทุกพันธุ์มีการกระจายของลักษณะพันธุกรรมเป็นไปตามกฏสมดุลย์ ของฮาร์ดี้-ไวน์เบิร์ก ยกเว้นสุกรพันธุ์ดูร็อค (P<0.05) ลักษณะพันธุกรรมของยีน MC4R ทั้ง 3 รูปแบบ ไม่มีอิทธิพลต่อลักษณะ ADG, BF, LEA, FI และ Age90 ในสุกรทุกพันธุ์ยกเว้นลักษณะ FCR และพบว่าอิทธิพลของลักษณะพันธุกรรม MC4R ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลจากชนิดพันธุ์ของสุกร
บทคัดย่อ (EN): Melanocortin-4 Receptor (MC4R) gene has been found to be associated with feed intake regulation and growth performance. The mutation of MC4R gene affected backfat thickness, average daily gain and feed intake. In this study, the association of MC4R genotypes with economic traits of DLD’s breeding pigs was studied. Blood samples were taken from 956 pigs of Duroc, LargeWhite, Landrace, Pietrain, Pakchong 2, Pakchong 3, Pakchong 4, Pakchong 5 and Chiangmai 1 and DNA was isolated. The isolated DNA was amplified for MC4R targeted sequence. The amplicons were digested with TaqI restriction enzyme for genotyping. Genotypic data were compared between different breeds for MC4R allelic frequencies. Genotypic frequencies were analyzed with Hardy-Weinberg equilibrium assumption. The association of MC4R genotype with economic traits obtained from performance test data was analyzed using General Linear Model (GLM); average daily gain (ADG), feed conversion ratio (FCR), feed intake (FI), backfat thickness (BF), loin eye area (LEA) and age at 90 kilogram body weight (Age90). Linkage disequilibrium analysis revealed that the genotype were not significant different in most of breed, however, the Duroc breed was significantly different (P<0.05). The MC4R genotypes were not associated with ADG, BF, LEA, FI and Age90 except for FCR. The effect of MC4R genotypes on economic traits was dependent on breed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=751.pdf&id=742&keeptrack=6
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ของยีน MC4R ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจในสุกร
กมล ฉวีวรรณ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากในสุกรพันธุ์กระโดน ความถี่จีโนไทป์และความถี่อัลลีลของยีน cathepsinB (CTSB), L (CTSL) ในสุกรลูกผสม การแพร่กระจายของยาปฏิชีวนะและการหายีนต้านทานยาปฏิชีวนะที่มาจากของเสียฟาร์มสุกรในสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในสุกร พฤตกิรรมของแม่สุกรในซองคลอด และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง กับลูกสุกรถูกทับตาย สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และสหสัมพันธ์ปรากฎของสมรรถภาพการผลิตของแม่สุกร ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความหนาของไขมันสันหลังในวันผสมครั้งแรกและความล้มเหลวในการตั้งท้องด้วยค่าสังเกต Cohort ในสุกรสาว ลักษณะเนื้อซีด, เหลว และไม่คงรูปในสุกร การระบุโมเลกุลเครื่องหมายที่สัมพันธ์กับยีนควบคุมลักษณะความต้านทาน โรคเส้นใบเหลืองกระเจี๊ยบเขียว การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์กับลักษณะสีขนของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก