สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาอัตราการทำลายไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยด้วยความร้อน : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอัตราการทำลายไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยด้วยความร้อน : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการทำลายไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยซีโรไทป์โอ เอและเอเชียวัน ณ อุณหภูมิ 50, 60, 70, 80, 90, และ 100 องศาเซลเซียส ในสารละลาย PBS ได้เส้นโค้งการทำลายไวรัส (inactivation curve) 3 แบบ คือ แบบเส้นตรง (linear) แบบหัวไหล่ (shoulder) และแบบท้ายลาด (tailing) คำนวณหาประสิทธิภาพการทำลายไวรัสจากเส้นโค้งการทำลายไวรัสแบบเส้นตรงด้วยสมการเชิงเส้นแบบถดถอย (linear regression) เป็นค่า D สำหรับรูปแบบการทำลายไวรัสแบบหัวไหล่ถ้าไม่พบความแตกต่างของค่า D กับค่า lag time (t[subscript L]) ถือว่าไม่มี shoulder effect ส่วนรูปแบบการทำลายไวรัสแบบท้ายลาดจะคำนวณค่า D ตามสัดส่วนการทำลายไวรัสทั้ง 2 ระยะมารวมกัน พิสัยของ D[subscript 50], D[subscript 60], D[subscript 70], D[subscript 80], D[subscript 90] and D[subscript 100] ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย 6 เสตรน คือ 732-2414, 16.37-42.00, 6.06+10.87, 2.84-5.99, 1.65-3.18, และ 1.90-294 วินาที ตามลำดับ พิสัยของค่าZ ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยซีโรไทป์โอ และซีโรไทป์เอ คือ 21.78-23.26 และ 19.11-22.79 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และค่า Z ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยซีโรไทป์เอเชียวัน คือ 18.50 องศาเซลเซียส ค่า Z ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยทุกเสตรนที่ทำการศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความทนต่อความร้อนของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยทุกเสตรนที่ทำการศึกษาครั้งนี้ไม่แตกต่างกันแต่มีความทนต่อความร้อนน้อยกว่าไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยเสตรนที่มีการระบาดในต่างประเทศ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6184
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาอัตราการทำลายไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยด้วยความร้อน : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2548
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย โดยวิธี Real-Time PCR การศึกษาด้านระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยที่ระบาดในประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี พ.ศ.2553-2555 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติแอนติเจนของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยที่แยกได้จากพื้นที่ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2552 – 2553 การพัฒนา recombinant 3ABC-based ELISA เพื่อวินิจฉัยสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยออกจากสัตว์ที่ได้รับวัคซีน การพัฒนา recombinant 3ABC-based ELISA เพื่อวินิจฉัยสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยออกจากสัตว์ที่ได้รับวัคซีน เจาะลึก โรค มือ เท้า ปาก โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย โรค มือ เท้า ปากจาก Enterovirus 71 การศึกษา whole genome sequence ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย ที่เกิดจากการระบาดในประเทศไทย พัฒนาการผลิตชุดตรวจสอบโรคปากและเท้าเปื่อย โดยวิธี อี ไล ซ่า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก