สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลช้างด้วย เครื่องหมายดีเอ็นเอ
นฤมล ธนานันต์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลช้างด้วย เครื่องหมายดีเอ็นเอ
ชื่อเรื่อง (EN): Analysis of genetic relationships among Rhynchostylis by using DNA markers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นฤมล ธนานันต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธีระชัย ธนานันต์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กล้วยไม้สกุลช้างเป็นกล้วยไม้ไทยที่มีความสำคัญและได้รับความนิยม แต่ปัจจุบันการจำแนกพันธุ์ตามลักษณะทางสัณฐานมีความยุ่งยากและเกิดความสับสนง่าย เนื่องจากมีการปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงตรวจสอบกล้วยไม้สกุลช้าง 22 พันธุ์ ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี เอสอาร์เอพี และไอเอสเอสอาร์ โดยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีใช้ ไพรเมอร์แบบสุ่ม 72 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ 41 ชนิด สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ จากนั้นคัดเลือกไพรเมอร์ 23 ชนิด ที่ให้ลายพิมพ์ดีเอ็นเออย่างชัดเจนมาตรวจสอบดีเอ็นเอของกล้วยไม้สกุลช้างทั้งหมด เทคนิคเอสอาร์เอพีดีใช้ไพรเมอร์ 168 คู่ พบว่าไพรเมอร์ 103 คู่ สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ จากนั้นคัดเลือกไพรเมอร์ 31 คู่ ที่ให้ลายพิมพ์ดีเอ็นเออย่างชัดเจนมาตรวจสอบดีเอ็นเอกล้วยไม้สกุลช้างทั้งหมด ซึ่งทั้งเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและเอสอาร์เอพีสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกล้วยไม้สกุลช้างแต่ละพันธุ์ได้ด้วยแถบดีเอ็นเอจำเพาะ ส่วนเทคนิคไอเอสเอสอาร์ใช้ไพรเมอร์ไมโคร แซทเทลไลท์ 8 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ (CA)7 สามารถแยกความแตกต่างของกล้วยไม้สกุลช้างทั้ง 22 พันธุ์ เมื่อวิเคราะห์แถบดีเอ็นเอที่ได้จากเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและเอสอาร์เอพีด้วยโปรแกรม NTSYS-pc รุ่น 2.0 และจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA โดยคำนวณค่าดัชนีความเหมือนและแสดงผลในรูปแผนภูมิความสัมพันธ์ พบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีค่าดัชนีความเหมือน 0.15-0.65 และ 0.75-0.98 ตามลำดับ โดยทั้งสองเทคนิคสามารถแบ่งกล้วยไม้สกุลช้างเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไอยเรศ ช้าง และ เขาแกะ โดยผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าทั้งเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี เอสอาร์เอพี และไอเอสเอสอาร์สามารถระบุชนิดของกล้วยไม้สกุลช้าง ซึ่งใช้วางแผนการผสมพันธุ์เพื่อพัฒนาพันธุ์ใหม่ ๆ ได้
บทคัดย่อ (EN): Rhynchostylis is an important and popular Thai orchid, but identification base on morphology have been difficult and confusion from breeding and tissue culture. High annealing temperature-random amplified polymorphic DNA (HAT-RAPD), sequence related amplified polymorphism (SRAP) and inter-simple sequence repeats (ISSR) were used to identify 22 Rhynchostylis varieties. HAT-RAPD technique, the total 72 random primers were screened and 41 primers could be used for DNA amplification. Twenty-three primers which gave clear amplified products were selected and used to analyze all varieties. SRAP technique, the total 168 primer pairs were screened and 103 primer pairs could be used for DNA amplification. Thirty-one primers which gave clear amplified products were selected and used to analyze all varieties. The results showed both techniques capable to specify Rhynchostylis. ISSR technique, the total 8 microsatellite primers were screened and the (CA)7 primer could be used for specify 22 Rhynchostylis varieties. When analyzing DNA fingerprints of HAT-RAPD and SRAP by using NTSYS-pc version 2.0 and grouped by unweighted pair group method using arithmetic average (UPGMA), similarity coefficients were 0.15-0.65 and 0.75-0.98, respectively. A dendrogram based on polymorphic bands separated Rhynchostylis to 3 groups i.e., R. gigantean, R. retusa and R. coelestis. Finally, these results indicate that the HAT-RAPD, SRAP and ISSR markers capable to specify Rhynchostylis, which used to planning in the breeding program.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลช้างด้วย เครื่องหมายดีเอ็นเอ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
30 กันยายน 2555
การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการและการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายของปูวงศ์ Portunidae การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฟักทองไทย 29 สายพันธุ์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ AFLP การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะดอกของกล้วยไม้สกุลช้าง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลฟาแลนอปซิสด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหม่อนพันธุ์อนุรักษ์ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ จากเทคนิค SSR การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลคราม (Indigofera L.) ด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ท้องถิ่นสกุลหวายด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ การประเมินความหลายหลายทางพันธุกรรมของสบู่ดำโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบและลูกผสมด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก