สืบค้นงานวิจัย
ความยั่งยืนของข้าวอินทรีย์สุรินทร์: บนเส้นทางมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร
รณชัย ช่างศรี - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ความยั่งยืนของข้าวอินทรีย์สุรินทร์: บนเส้นทางมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): Sustainable of Surin organic rice: On the way of organic crop standard, DOA
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รณชัย ช่างศรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ronnachai Changsri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การรับรองผลผลิตข้าวอินทรีย์ที่จังหวัดสุรินทร์เริ่มจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารหางชาติ (มกอช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐาน (Accreditation Body) ต้องการทดสอบระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานในปี 2546 ซึ่งสถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานตรวจสอบและออกใบรับรองมาตรฐาน (Certification Body) โดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบออกใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ และมีคณะผู้ตรวจ (Inspectors) จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และผู้ตรวจจากส่วนกลางเป็นผู้ตรวจสอบแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ และมีการพัฒนาระบบตรวจสอบรับรองเรื่อยมา ผลการดำเนินการตรวจรับรองพบว่ามีเกษตรกรที่ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์มาตรฐานรวม 4 ปี จำนวน 895 คน จากผู้สมัครรายเดี่ยวทั้งสิ้น 4,378 คน ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์น้อยมาก ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการละเมิดมาตรฐานข้อสำคัญคือ การใช้ปุ๋ยเคมี แนวป้องกันความ เสี่ยงทางน้ำไม่ได้มาตรฐาน และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานเป็นต้น เนื่องจากเกษตรกรยังไม่เข้าใจในหลักการเกษตรอินทรีย์ที่ดีพอ แต่สมัครขอรับรองมาตรฐานตามนโยบายของจังหวัด ตามที่ออกตรวจพบอุปสรรคที่มีผลต่อความยั่งยืนคือไม่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์ และเกษตรกรมักนำปัจจัยการผลิตจากภายนอกเข้าไปใช้ในไร่นา และระบบกลุ่มยังมีความอ่อนแอ รัฐจึงต้องเร่งให้ความรู้กับผู้ผลิต และผู้บริโภค ส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อผลิต แปรรูป และสนับสนุนปัจจัยการผลิตในบางส่วน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Organic Rice Certification at Surin was begun in 2003 by the National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS) as an accreditation body (AB). The ACFS tried to work with the Organic Institute of the Department of Agriculture (DOA) as a certification body (CB) and the Office of Agriculture, Surin Province. Many inspectors from Office of Agricultural Research and Development Region 4 (OARD4) and DOA had been inspected organic rice fields in Surin. The certification process system is developed yearly. During 2003-2006, there are 4378 farmers applied for organic rice certification but only 895 farmers were certified. The main reasons that many farmer's fields could not past inspection were: chemical fertilizer were applied, the bunds could not prevent the risk of contaminated water from chemical rice field and the usage of uncertified granule organic fertilizer. Farmers did not understand the standards for organic crop production. They applied for the certification because they wanted to support the government policy. The inspectors suggested that many obstructions of the sustainability of organic rice production such as lack of crop and animal diversity in their farms: use of substances foreign to their farms and the weakness of farmer's group. To sustain the organic farming system in the future, government must educate the farmers (producers), consumers, promote the group of farmer to produce, processing and support some production materials.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155757
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1 table
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความยั่งยืนของข้าวอินทรีย์สุรินทร์: บนเส้นทางมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่ากับการผลิตข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อบูรณาการ การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตรองเท้าบู๊ทสำหรับการเกษตร การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โครงการย่อยที่2 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักจากกากมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวแบบอินทรีย์ ในกลุ่มเกษตรกร รายย่อยของอําเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก