สืบค้นงานวิจัย
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลปลาซิวสุมาตราด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง
อัครเดช นาคประดิษฐ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลปลาซิวสุมาตราด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง
ชื่อเรื่อง (EN): Determination of the Age of transition from live foods to artificial diet in the Redtail rasbora Rasbora borapetensis
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัครเดช นาคประดิษฐ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): AKARADEJ NAKPRADIT
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): pimpha pakeewat
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การอนุบาลปลาซิวสุมาตรา Rasbora paviei (Tirant, 1885) ด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดงในระยะเวลา คือ 5, 10, 15, 20 และ 25 วัน ในโหลขนาด ความจุ 5 ลิตร ใส่น้ำปริมาตร 3 ลิตร สุ่มปลาซิวสุมาตราลงในโหลทดลองโหลละ 50 ตัว จำนวน 7 ชุดการทดลอง ในแต่ละชุดการทดลองประกอบด้วย 6 ซ้ำ ลูกปลาซิวสุมาตราอายุ 3 วันมีความยาวเฉลี่ย 4.13?0.08 มิลลิเมตร ขนาดความกว้างปาก 0.25 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉลี่ยไม่สามารถชั่งวัดได้ เนื่องจากลูกปลามีขนาดเล็ก และมีจำนวนน้อย ทำการทดลองเลี้ยงด้วยไรแดงในช่วงแรกแล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำระดับโปรตีนไม่ต่ำกว่า 38 % ตามระยะเวลาที่กำหนดในการทดลองที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ส่วนในชุดการทดลองที่ 6 ให้ไรแดงตลอดการทดลอง และชุดการทดลองที่ 7 ให้อาหารสำเร็จรูปตลอดการทดลอง ให้กินอาหารจนอิ่มวันละ 5 ครั้ง ในเวลา 08.00, 10.00, 12.00, 14.00 น. และ 16.00 น. ดำเนินการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2551 ถึงเดือนมิถุนายน 2551 เป็นระยะเวลา 35 วัน จากการทดลองพบว่า มีลูกปลาซิวสุมาตราชุดการทดลองที่ 6 ซึ่งให้ไรแดงตลอดการทดลอง สามารถเลี้ยงได้จนลูกปลาอายุ 35 วัน มีความยาวเฉลี่ยสุดท้าย 19.15?1.82 มิลลิเมตร แต่ลูกปลายังมีการพัฒนาไม่เหมือนตัวเต็มวัย และน้ำหนักเฉลี่ยสุดท้าย 0.27?0.08 กรัม อัตราการรอดตายเฉลี่ย 11.33?2.42 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การทดลองอื่นตายหมด การทดลองในครั้งนี้ไม่สามารถทำการเก็บข้อมูลได้ทุกการทดลอง เนื่องจากปลาทดลองตาย สาเหตุน่าจะมาจาก การเลี้ยงปลาทดลองในโหลที่มีปริมาตรน้ำน้อยเกินไป มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในระหว่างวันมากทำให้ปลาเครียด ประกอบกับการให้อาหารผงในโหลทำให้คุณภาพน้ำไม่ดี การเปลี่ยนถ่ายน้ำและดูดตะกอนทุกวันทำให้ปลาตื่นตกใจและเครียด จึงควรเปลี่ยนเป็นการทดลองในตู้กระจกแทน และในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม เมื่อเตรียมการทดลองใหม่ในระยะต่อมาพบว่า แม่ปลาที่เลี้ยงไว้มีการพัฒนาของไข่ไม่สมบูรณ์ สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากการเลี้ยงและการให้อาหารที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง และในเวลาต่อมาสูญเสียพันธุ์ปลาทั้งหมดจากภาวะอุทกภัย ปัจจุบันได้พยายามหาพันธุ์ปลาซิว สุมาตราจากธรรมชาติ และตลาดปลาสวยงามมาทำการทดลอง แต่ไม่สามารถหาพันธุ์ปลาให้เพียงพอต่อการทดลองได้
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 54,320.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลปลาซิวสุมาตราด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาแขยงนวลด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ระยะเวลาที่เหมาะสมและต้นทุนการผลิตในการอนุบาลลูกปลาพลวงชมพู (Tor douronensis Val, 1842) ด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง รูปแบบที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาหลดด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง การอนุบาลลูกปลาตะเพียนข้างลาย, Systomus johorensis (Duncker, 1904) โดยการใช้อาหารมีชีวิตร่วมกับอาหารสำเร็จรูป (ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะเพียนข้างลายด้วยอาหารสำเร็จรูป) ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาเทพาวัยอ่อนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง อาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาจาด ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาเทโพด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดทดแทนไรแดง อิทธิพลของอาหารธรรมชาติในบ่อที่มีต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของลูกปลาโมงในการอนุบาลด้วยอาหารเสริมและอาหารสำเร็จรูป การอนุบาลลูกปลาซิวควายพม่า
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก