สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของสภาพพื้นที่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวข้าวต่อพฤติกรรมโคเนื้อที่เลี้ยงภายใต้การจัดการของเกษตรกร
อาณัติ จันทร์ถิระติกุล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของสภาพพื้นที่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวข้าวต่อพฤติกรรมโคเนื้อที่เลี้ยงภายใต้การจัดการของเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of area conditions in pre- and post-rice harvesting on behaviours of beef cattle raised under farmer management
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาณัติ จันทร์ถิระติกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anut Chantiratikul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จักรพงษ์ ชายคง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chakrapong Chaikong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพพื้นที่ในช่วงก่อน และหลังการเก็บเกี่ยวข้าวต่อ พฤติกรรมการแทะเล็ม การเดิน การยืน การนอนพัก การนอนเคี้ยวเอื้อง การยืนเคี้ยวเอื้อง การกินน้ำ การถ่ายปัสสาวะ และการถ่ายมูลของโคเนื้อ โดยทำการสังเกตพฤติกรรมโคเนื้อเพศเมียอายุ 3-4 ปี จำนวน 15 ตัว ของเกษตรกรจำนวน 3 ราย โดยทำการบันทึกและเก็บข้อมูลพฤติกรรมโคเนื้อ 2 ช่วง คือ สภาพพื้นที่ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว และช่วงหลัง การเก็บเกี่ยวข้าว จำนวน 4 ครั้ง/ช่วง ทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมโคเนื้อเป็นเวลา 12 ชั่วโมง คือ 6.00-18.00 น. โดยทำการ สังเกตและบันทึกพฤติกรรมทุกๆ 5 นาที ผลการศึกษาพบว่า สภาพพื้นที่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวข้าวไม่มีอิทธิผล (P>0.05) ต่อพฤติกรรมการยื่น การยืนเคี้ยวเอื้อง การกินน้ำและการถ่ายมูลของโคเนื้อ แต่โคเนื้อใช้เวลาแสดงพฤติกรรม การเดิน และการแทะเล็มในสภาพพื้นที่ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวมากกว่า (P<0.05) ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ส่วนพฤติกรรมการนอนพัก การนอนเคี้ยวเอื้องและการถ่ายปัสสาวะของโคเนื้อในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวมากกว่า (P <0.05) ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ผลการศึกษาสรุปได้ว่าสภาพพื้นที่ช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวข้าวมีอิทธิพล (P<0.05) ต่อพฤติกรรมการเดิน การแทะเล็ม การนอนพัก การนอนเคี้ยวเอื้อง และการขับถ่ายปัสสาวะของโคเนื้อ
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to determine the effect of area conditions in pre- and post-rice harvesting on grazing, walking, standing, lying, lying rumination, standing rumination, drinking and elimination behaviours of beef cattle. All data were collected using fifteen female beef cattle from three farmers. The cattle behaviours were observed and recorded for four times during area conditions in pre- and post-rice harvesting. The behaviours of cattle were observed and recorded periodically every 5 minutes for 12 hours during 6.00 a.m. - 6.00 p.m. The result showed that area conditions in pre- and post-rice harvesting did not change (P>0.05) standing, standing rumination, drinking and defecation behaviours of beef cattle. Time spent for walking and grazing behaviours of beef cattle in area conditions in post-rice harvesting was longer (P<0.05) than that of beef cattle in area condition in pre-rice harvesting. However, beef cattle in area condition in pre-rice harvesting spent more time for lying and lying rumination and had more frequency of urination than beef cattle in area condition in post-rice harvesting. Based on the results, it could be concluded that walking, grazing, lying, lying rumination and urination behaviours of beef cattle were influenced by area conditions in pre- and post-rice harvesting
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O002 Ani03.pdf&id=2611&keeptrack=13
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของสภาพพื้นที่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวข้าวต่อพฤติกรรมโคเนื้อที่เลี้ยงภายใต้การจัดการของเกษตรกร
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
รูปแบบการจัดการผลิตและการส่งเสริมโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส ภายใต้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน สภาพการผลิตและพฤติกรรมการกรีดยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลี้ยงควายของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน ความต้องการได้รับการส่งเสริมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น การวิเคราะห์โครงสร้างรายได้ ภาระหนี้สิน สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ การเปรียบเทียบต้นทุนสุขภาพและต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวโดยใช้สารเคมีและแบบอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยใช้สารเคมี อำเภอดอกคำใต้และกลุ่มเกษตรก การพัฒนารูปแบบการผลิตข้าวแบบครบวงจรโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในพื้นที่เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์โดยการหมักของเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี (ปีที่2)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก