สืบค้นงานวิจัย
โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
สุธิดา โส๊ะบีน - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Structure and Distribution of Fish Community in Kwan Phayao, Phayao Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธิดา โส๊ะบีน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ปาริฉัตร มูสิกธรรม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): structure, distribution, fish community, Kwan Phayao
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา ทำการสุ่มตัวอย่าง ด้วยกระแสไฟฟ้าและข่ายขนาคช่องตาต่างกัน คือ 20, 30, 40, 55, 70 และ 90 มิลลิมตร ในเดือนมิถุนายน 2546 ถึงเดือนกันชายน 2548 รวม 8 ครั้ง โดยสุ่มตัวอย่าง 4 จุดสำรวจ แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ดัชนีบ่งชี้สภาพนิเวศ และการวิเคราะห์ทางสถิติแบบหลายตัวแปรด้วยวิธีการจัดกลุ่มและการจัดลำดับ ผลการศึกษาพบพันธุ์ปลาในกว๊านพะเยามีจำนวนรวม 45 ชนิด 17 วงศ์ โดยพบวงศ์ปลา ตะเพียนมากที่สุดจำนวน 21 ชนิด โครงสร้างประชาคมปลาพบปลาแป้นแก้วและปลาตะเพียน มีสัดส่วนโดยจำนวนและน้ำหนักมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยของดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความเท่าเทียม เท่ากับ 4.20±0.51, 3.63±0.30 และ 0.74±0.04 ตามลำดับ การศึกษาการแพร่กระจายของพับธุ์ปลาที่พบมากจำนวน 9 ชนิด พบว่าบริวณบ้านสันช้างหิน มีความชุกชุมของพันธุ์ปลามากที่สุดจำนวน 5 ชนิด มีความชุกชุมมาก การสำรวจเดือนมิถุนายนถึงเดือน กันยายนมีความชุกชุมมาก และพันธุ์ปลา 7 ชนิด มีความแตกต่างกันในหลายช่วงอันตรภาคชั้นของความยาวจากการวิเคราะห์เส้นโค้งการจัดลำดับความชุกชุม (ranked species abundance curve) พบการสำรวจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ประชาคมปลามีการแพร่กระจายโดยความชุกชุมและความหลากหลายที่ใกล้เคียงกัน ส่วนการวิเคราะห์การจัดกลุ่มและการจัดลำดับพบการสำรวจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม และเดือบมิถุนายนถึงเดือนกันยายน มีชนิดและปริมาณของประชาคมปลาที่คล้ายคลึงกันระหว่างจุดสำรวจ การศึกษาประสิทธิภาพผลจับปลาของเครื่องมือข่ายพบว่ามีค่าเฉลี่ย 574.29 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน โดยข่ายขนาดช่องตา 20 มิลลิเมตร มีผลจับเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 908.81 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน และผลจับปลาของชุดเครื่องมือข่ายโดยน้ำหนักพบมีความแดกด่างกับทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (1<0.01) ระหว่างจุดสำรวจ ช่วงเดือนสำรวจ และ ขนาดช่องตาข่าย ส่วนผลจับปลาโดยจำนวนพบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (0<0.01) ระหว่างช่วงเดือนสำรวจและขนาดช่องตาข่ายส่วนผลจับปลาในแต่ละจุดสำรวจไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2551
เอกสารแนบ 1
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างประชาคมปลาในหนองหารจังหวัดสกลนคร การใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา การกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา (ชื่อเดิม ชีววิทยาการกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา) โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา ชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยเพื่อการจัดการทรัพยากร ในพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การศึกษาชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยในกว๊านพะเยา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก