สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการปลูกข้าวนาน้ำฝนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
สุรจิต ภูภักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการปลูกข้าวนาน้ำฝนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Risk analysis of rainfed rice production using GIS and crop growth simulation model
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรจิต ภูภักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Surajit Phuphak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บาส เบาว์แมนน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Bas Bouman
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การปลูกข้าวแบบนาน้ำฝนในภาคตะว้นออกเฉียงเหนือ มีความเสี่ยงเรื่องความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝน งานวิจัยนี้ได้ใช้ระบบการจัดการองค์ความรู้ โดยใช้ GIS และแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช วิเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการบริหารความเสี่ยงในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพพื้นที่นาที่จำแนกตามคุณลักษณะที่ตั้งทางภูมิทัศน์เป็น 6 กลุ่ม โดยใช้ระบบ GIS จากนั้นใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าว (ORYZA2000) จำลองสถานการณ์การปลูกข้าวในแต่ละกลุ่ม และวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยใช้ทฤษฎี expected utility function เปรียบเทียบความเสี่ยงของผลผลิตข้าวจากสภาพภูมิอากาศย้อนหลัง 15 ปีของพื้นที่ส่วนบนของลุ่มน้ำลำโดมใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิเคราะห์พบว่า ความไม่แน่นอนของผลผลิตข้าวมีอิทธิพลจากระยะเวลาปลูกซึ่งเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝน มีมากกว่าลักษณะของพื้นที่นาที่มีภูมิทัศน์และลักษณะดินน้ำต่างกัน การปลูกข้าวเร็วในต้นฤดูมีแนวโน้มจะให้ผลผลิตสูงกว่าปลูกช้า เดือนมิถุนายนจะเหมาะสมที่สุด การปลูกแบบนาดำในบริเวณนี้เหมาะสมกว่าการปลูกแบบหว่านข้าวแห้ง ส่วนการปลูกในที่นาแต่ละชนิดแตกต่างไม่ชัดเจนในเรื่องของผลผลิตและความเสี่ยง แต่บริเวณนาลุ่มส่วนบนของลุ่มน้ำมีแนวโน้มเหมาะสมกว่าการปลูกในพื้นที่นาบริเวณอื่นๆ ของลุ่มน้ำ
บทคัดย่อ (EN): Risk due to rainfall variability is crucial in rainfed rice growing areas in the NE Thailand therefore analysis on risk coping of the farmers is importance. This research had evaluated the yield of KDML105 rice variety using a knowledge-based system approach, subject to rainfall uncertainty in 6 different kinds of paddies that related to soil and hydrological variability, with 4 scenarios of sowing times and 2 sowing methods in a watershed area of Ubon Ratchathani province. A GIS and a rice growth simulation model, ORYZA2000, tools were used with stochastic efficiency rule to analyze risk. The results showed that KDML105 yield was sensitive to rainfall variability, sowing times and sowing methods rather than variability of soil and hydrology which related to paddy's landscape positions. The results had proven that GIS and crop growth simulation model can help research and extension works to discuss the production constraints for concrete recommendation in order to reduce risk and increase farm's income in rainfed areas in the NE and other areas in Thailand where extrapolation is possible.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/405942
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการปลูกข้าวนาน้ำฝนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี แบบจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียว โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม การจำลองอิทธิพลของวันปลูกและการจัดการไนโตรเจนต่อข้าวไร่ พันธุ์เงาะสะตะโดยแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ การประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชในการประเมินการตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน ระบบการปลูกพืช ปอ-ข้าว ในสภาพน้ำฝน ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโต การฟื้นตัวจากการขาดน้ำและการเพิ่มผลผลิตของข้าวนาน้ำฝน 5 พันธุ์ การประเมินค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของถั่วลิสงเมล็ดโต เพื่อใช้ในแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช การพัฒนาสารสนเทศเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก