สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี
ประภา เหล่าสมบูรณ์, ประภา เหล่าสมบูรณ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ชื่อเรื่อง: การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Participatial Research to Development Rice Processing in Bergphai Sub-district, Chom Bueng, Ratchaburi Province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชื่องานวิจัย การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี(ต่อเนื่อง) A Continuation of a Participatory Action Research on Developing Rice Production in Boek Phrai Sub-district, Chom Bueng District, Ratchaburi Province. ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภา เหล่าสมบูรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร.ต.ปัญญา คามีศักดิ์ อาจารย์สุพัตรา จันทร์ศิริโพธา อาจารย์เรืองอุไร ตัณฑ์เจริญรัตน์ อาจารย์บุญศรี หวังคุณธรรม อาจารย์กุลยา อนุโลก ปีที่ทำการวิจัย ปีงบประมาณ 2551 บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยหลายวิธีร่วมกัน ทั้งการสำรวจสัมภาษณ์ สัมภาษณ์เจาะลึก ศึกษาดูงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การตรวจวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ และการศึกษาทดลองในแปลงนาเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทด้านกระบวนการผลิตข้าวของเกษตรกรในชุมชนตำบลเบิกไพร 2) เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชนตำบลเบิกไพร โดยมีเป้าหมายในการลดต้นทุนการผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอด 3) เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน โดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจ ผลการวิจัยพบว่าประชากรของชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ทำไร่อ้อย ทำนา เพาะเห็ด ฯลฯ โดยทำร่วมกันมากกว่า 1 อย่าง และกว่าร้อยละ 95 เป็นครัวเรือนเกษตรกร ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา ร้อยละ 23.81 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ในการทำนาส่วนใหญ่เป็นการทำนาปีในพื้นที่นาที่เป็นของตนเอง โดยทำนาเฉลี่ยครอบครัวละ 10-15 ไร่ เพื่อผลิตข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก พันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะด้านการหุงต้มตรงตามรสนิยมของครอบครัวนั้น ๆ ได้แก่ พันธุ์เหลืองประทิว หอมมะลิเหลืองชุมพล เป็นต้น สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา ดินมีลักษณะแน่นแข็ง มีอินทรียวัตถุในดินน้อยมาก เฉลี่ยเพียง 1.25 เปอร์เซ็นต์ มีธาตุอาหารหลักไม่ว่าจะเป็น N P และ K ต่ำมาก โดยมีค่า N ทั้งหมด เฉลี่ย 0.0625 เปอร์เซ็นต์ มี P และ K ที่เป็นประโยชน์เฉลี่ยเท่ากับ 1.67 ppm และ11.57 ppm ตามลำดับ เนื่องจากสภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายจึงกักเก็บน้ำไม่อยู่ ประกอบกับมีแหล่งน้ำธรรมชาติเพียงแหล่งเดียว คือ ลำห้วยหินเหล็กไฟ ดังนั้นจึงขาดแคลนแหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร การทำนาจึงต้องอาศัยเพียงน้ำฝนเท่านั้น ปริมาณน้ำฝนตลอดจนช่วงเวลาที่ฝนตก หรือฝนทิ้งช่วงจึงมีผลต่อเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของข้าว ทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้ในแต่ละปีไม่แน่นอน ในปีเพาะปลูก 2549 ได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียงไร่ละประมาณ 20 ถัง ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยากำจัดหอยเชอรี่ ยากำจัดวัชพืชเป็นต้น ทำให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุน จากการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการผลิต และวิเคราะห์ทางเลือกในการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชนตำบลเบิกไพร เพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอด ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรจะเริ่มจาก การศึกษาสภาพดินอย่างเข้าใจ โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และนำองค์ความรู้จากการไปศึกษาดูงานมาปรับใช้ในส่วนที่ยังขาด เช่น การใช้จุลินทรีย์ การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกที่เกษตรกรผลิตขึ้นเองจากเศษวัสดุเหลือใช้ที่มีในท้องถิ่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ ของดิน เป็นต้น ผลจากการศึกษาทดลองในแปลงนาเกษตรกร โดยเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนการลงทุนที่เกษตรกรได้รับจากการทำนา โดยใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก และใช้เฉพาะปุ๋ยคอก ผลปรากฏว่าต้นทุนการลิต ผลผลิต และผลตอบแทนการลงทุนที่เกษตรกรได้รับใกล้เคียงกัน แต่ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 2 เท่า ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากภาวะฝนตกน้อยและฝนทิ้งช่วงทั้งระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น และระยะตั้งท้อง
บทคัดย่อ (EN): Research Title: A Continuation of a Participatory Action Research on Developing Rice Production in Boek Phrai Sub-district, Chombueng District, Ratchaburi Province. Researchers: Asst. Prof. Prapa Laosomboon, Asst.Prof. Acting Lieu. Panya Kameesak, Supattra Jansiripota, Ruang-u-rai Tanjaroenrat, Boonsi Wangkoonatam and Kulaya Anulok. Fiscal Year: 2008 This qualitative research on developing rice production was conducted by using surveys, interviews, in-depth interviews, study tours, a participatory action conference, the laboratory soil analysis and an experiment in paddies. The main purposes of this study were: 1) to study the context of rice production in the community of Boek Phrai Sub-district; 2) to investigate the community guidelines for developing rice production, based on lower production costs, environmentally friendly processes and local resources; 3) to develop rice production development in this community based on participatory action research in order to be a learning resource. It was found that most people in this community carried out more than one form of agriculture such as growing sugar cane, growing rice and growing mushrooms, etc. 95 % of the households worked in agriculture. 23.81% were rice farms owners; each household had an average of 10 – 15 Rais (1 Rai = 1,600 square meters). The rice production was mainly for own consumption. The indigenous rice species such as Luang Pa Thiu, Luang Choomphon and Jasmine Fragrant rice were mostly cultivated according to taste preference of each household. The geography of the community area is foothill plain with sandy loam which cannot store water well. The solid soil for growing rice in this area contains little organic matter (about 1.25%) and has low levels of primary nutrient elements -- 0.0625 % of total N, 1.67 ppm available P and 11.57 ppm available K. The community lacks water for agriculture as the only water resource available is Hin Lek Fai Brook. Rice farming in the community depends on rain water. Rice growth and production are affected by the quantity and duration of rain or the absence of rain. As a result, the amount of products grown each year is inconsistent. In 2006 an average of 20 Thangs (1 Thang = 10 kilos) of paddy rice per Rai was harvested. This amount is much lower than the national average production. During the production process, most farmers use chemical substances including chemical fertilizers, golden apple snail eliminators and herbicides. During the brainstorming discussion about production situations and the analysis of alternatives for developing rice production in the community of Boek Phrai Sub-district based on lower production costs, environmentally friendly processes and using local resources, it was agreed that the community should begin with a soil study that included factors affecting soil fertility. Then knowledge gained from study tours should be applied to increase soil fertility by using microbes, manure, compost from local waste products, etc. A comparison of production costs, production and investment returns from the experiment in the paddy field using chemical fertilizer, dung and a mixture of chemical fertilizer and dung, it revealed that they had similar results. However, the production per unit area was one third that of last year due to less rain overall and a dry spell during the vegetative growth and reproductive stages.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
30 กันยายน 2551
การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเสาไห้พันธุ์เจ๊กเชยเชิงพาณิชย์จังหวัดสระบุรี การศึกษากระบวนการผลิตข้าวเพื่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกสังข์หยดหุงสุกเร็ว การศึกษากระบวนการผลิตข้าวก่ำเปลือกนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา การศึกษากระบวนการผลิตข้าวหุงสุกเร็วเสริมแคลเซียม กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้สูงอายุ : ข้าวฮางงอกอัดเม็ดเสริมใยอาหารสูง (ชื่อข้อเสนองานวิจัยเดิม "กระบวนการผลิตข้าวฮางงอกจากข้าวปทุม1 คุณสมบัติและการใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ" การปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวพาร์บอยล์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแทรกซึมภายใต้สุญญากาศเพื่อผลิตข้าวพาร์บอยล์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวพาร์บอยล์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแทรกซึมภายใต้สุญญากาศเพื่อผลิตข้าวพาร์บอยล์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การสร้างเครื่องผลิตและการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเม่าเพื่ออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และขนาดย่อม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก