สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขิงกึ่งแห้งเสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยวิธีการออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง
พรนภา น้อยพันธ์ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขิงกึ่งแห้งเสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยวิธีการออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Development if intermediate moisture ginger product enriched with physiologically active compounds from gac fruit (Momordica cochirichinensis Spreng) aril using osmotic dehydration combinded with drying
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรนภา น้อยพันธ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิชมณี ยืนยงพทธกาล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขิงกึ่งแห้งเสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยวิธีการออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง จากการศึกษาผลของการลวกขิงก่อนการออสโมซิส พบว่า ชนิดของสารที่ใช้ลวก (น้ำ, สารละลายโซเดียมคลอไรด์) และเวลาในการลวก (5, 10, 15 นาที) มีผลต่อค่าการถ่ายเทมวลจากการออสโมซิสและคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสของขิงหลังการออสโมซิส (p<0.05) การลวกในน้า 5 นาที ก่อนการออสโมซิส มีผลทำให้ขิงหลังการออสโมซิสมีกลิ่นรสเผ็ดของขิงลดลง และมีค่าการถ่ายเทมวลสารจากการออสโมซิสมากที่สุด (p<0.05) ศึกษาผลของความเข้มข้นของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว (15, 20, 25%) และระดับความดันในการโฮโมจิไนซ์ (1450, 2900 psi) ของสารละลายออสโมติก พบว่าอิทธิพลร่วมของทั้ง 2 ปัจจัย มีผลต่อค่าการถ่ายเทมวลสารและสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ (p<0.05) และพบว่าไม่มีอิทธิพลของปัจจัยต่อปริมาณไลโคพีน ปริมาณแคโรทีนอยด์ และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด (p≥0.05) การใช้ความเข้มข้นเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว 25% ร่วมกับความดันในการโฮโมจิไนซ์ 2900 psi ทาให้ขิงหลังการออสโมซิสมีค่าการถ่ายเทมวลสารและสมบัติการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด จากการศึกษาผลของเวลาการออสโมซิสในสภาวะสุญญากาศ (0 20 30 และ 40 นาที) ที่ความดัน 50 มิลลิบาร์ พบว่า การออสโมซิสในสภาวะสุญญากาศเป็นเวลา 30 นาที ก่อนการออสโมซิสในสภาวะบรรยากาศ ทำให้มีค่าการถ่ายเทมวลสารสูงที่สุด รวมถึงมีปริมาณไลโคพีน ปริมาณแคโรทีนอยด์ และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้สภาวะสุญญากาศ โดยได้รับคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสไม่แตกต่างกับการไม่ใช้สภาวะสุญญากาศ ผลิตภัณฑ์ขิงกึ่งแห้งที่พัฒนาได้เมื่อบรรจุในถุงอลูมิเนียมฟอยด์เก็บที่อุณหภูมิห้อง พบว่า ในวันที่ 30 ของการเก็บรักษา ยังมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคและเป็นที่ยอมรับ
ชื่อแหล่งทุน: เงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: https://dspace.lib.buu.ac.th/handle/1234567890/1842
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขิงกึ่งแห้งเสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยวิธีการออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การชักนำให้ฟักข้าวเกิดแคลลัสและผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขิงกึ่งแห้งเสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยวิธีการ ออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง สมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน: ขิง การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้ประโยชน์จากฟักข้าวเพื่อพัฒนาเป็ยผลิตภัณฑ์ซุปกึ่งสำเร็จรูปที่อุดมด้วยสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ด้วยกระบวนการทำแห้งแบบลูกกลิ้ง การทำหญ้าแพงโกล่าแห้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก