สืบค้นงานวิจัย
ผลของคุณค่าทางโภชนการในอาหารที่มีวัตถุดิบหลักจากข้าวโพดและผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารหยาบคุณภาพ
รัชนี บัวระภา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของคุณค่าทางโภชนการในอาหารที่มีวัตถุดิบหลักจากข้าวโพดและผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารหยาบคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): The effect of nutritional content in feeds containing the main raw materials from corn and agricultural by-products concerning produce the quality roughage
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัชนี บัวระภา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ratchanee Bourapa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ วัตถุแห้ง เถ้า โปรตีน เยื่อ ใย ADF เยื่อใย NDF และพลังงานรวม เพื่อนำไปใช้สำหรับเลี้ยงโคเนื้อ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design, CRD โดยมีอาหารทดลอง 4 สูตรๆละ 3 ซ้ำ คือ อาหารสูตรที่ 1: อาหารข้น ผสมกับฟางข้าว สัดส่วน 40:60 (Control) อาหารสูตรที่ 2: เมล็ดข้าวโพดนึงสุกหมักสายีสต์ ผสมร่วมกับข้าวโพด หมัก สัดส่วน 40:60 (fermented grain corn ration, FGCR) อาหารสูตรที่ 3: เมล็ดข้าวโพดมอลต์สดหมักส่า ยีสต์ ผสมร่วมกับข้าวโพดหมัก สัดส่วน 40:60 (brew fresh malted corn ration, BFMCR) และอาหารสูตรที่ 4: เมล็ดข้าวโพดมอลต์แห้งหมักสายีสต์ ผสมร่วมกับข้าวพดหมัก สัดส่วน 40:60 (brew dry malted corn ration, BDMCR) พบว่า ค่าวัตถุแห้งในอาหารสูตรที่ 1 มีค่าสูงที่สุด คือ 64.88 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากอาหารทั้ง 3 สูตร เท่ากับ 53.65, 51.29 และ 57.47 เปร์เซ็นต์ ตามล้ำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P< 0.01) และ ค่าระดับโปรตีน พบว่า ในสูตรอาหารทดลองที่ 1 มีค่าโปรตีนสูงที่สุด 15.79 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากอาหารทั้ง 3 สูตร เท่ากับ 15.70, 15.53 และ 15.55 เปร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิต (P> 0.05)
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study was to compare feed nutritional value, dry matter, ash, protein, fiber, ADF, NDF fiber and total energy. The experiment was designed in a completely randomized design (CRD) with 4 treatments and 3 replicates with consisted of formula 1: finished feed mixed with rice straw, 40:60 ratio (Control), formula 2: steamed corn seed with yeast fermented mixed to corn fermented, 40:60 ratio (fermented grain corn ration, FGCR), formula 3: fresh corn malt seeds with yeast fermentation mixed to corn fermented, 40:60 ratio (brew fresh malted corn ration, BFMCR) and formula 4: dry corn malt seeds with yeast fermented mixed to corn fermented, 40:60 ratio (brew dry malted corn ration, BDMCR) found that the dry matter value in formula 1 was the highest value of 64.88 percent, which is different from all 3 formulas 53.65, 51.29 and 57.47 %, respectively, was significantly different (P<0.01) and the protein value was found that in formula 1, the highest protein content was 15.79, 15.70, 15.53 and 15.55 % respectively, were not significant differences among treatment (P> 0.05)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=1162.pdf&id=3839&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของคุณค่าทางโภชนการในอาหารที่มีวัตถุดิบหลักจากข้าวโพดและผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารหยาบคุณภาพ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยการเอ๊กทรูด (ตอนที่ 2)2. การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสุกร ผลของการเสริมกากข้าวโพดในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่และคุณภาพไข่ คุณค่าทางอาหารและการย่อยได้ของเปลือก -ซังข้าวโพด ที่ปรับปรุงคุณภาพ ผลของระดับข้าวโพดดีดีจีเอสและระบบการขนส่งจากโรงงานอาหารสัตว์สู่ฟาร์มไก่เนื้อต่อประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพเม็ดอาหารสัตว์ การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร ผลของการทดแทนข้าวโพดด้วยกลีเซอรีนดิบในอาหารผสมเสร็จต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ของโภชนะ กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน และเมแทบอไลท์ในกระแสเลือดของแพะ ผลของการใช้เปลือกและซังข้าวโพดหมักร่วมกับฟางข้าว ในอาหารโคนมรุ่น การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเอทานอลคุณภาพสูงจากข้าวโพดเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ ผลการใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเปรียบเทียบหญ้าขนหรือหญ้าซีตาเรียร่วมกับการให้อาหารข้นเต็มที่ หรือจำกัดอาหารข้นในกระต่ายรุ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก