สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่าคุณภาพในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
นางสาวรัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่าคุณภาพในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Quality of Custard Apple Technology Production in Nakhon Ratchasima Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวรัชดา ปรัชเจริญวนิชย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่าคุณภาพในจังหวัดนครราชสีมาเริ่มดำเนินการในปี 2554-2556 เนื่องจากเป็นพืชที่มีการปลูกมากในพื้นที่แต่ข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการมีน้อยและยังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตน้อยหน่าคุณภาพ งานวิจัยจึงมีเป้าหมายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้อยหน่า ตั้งแต่กระบวนการผลิตถึงการตลาด ศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขให้ได้เทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้บริโภค วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแมลงศัตรูน้อยหน่าและแมลงศัตรูธรรมชาติ ศึกษาการระบาดและการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง สำรวจและศึกษาสาเหตุของอาการกิ่งแห้งใบแห้ง ศึกษาการจัดการปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ การสร้างและพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดขนาดผลน้อยหน่า และการจัดทำเว็บไซด์เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ของน้อยหน่าที่ง่ายต่อการสืบค้น ผลการดำเนินงานพบว่า น้อยหน่าที่ปลูกในนครราชสีมามี 2 ชนิด คือ น้อยหน่าพื้นบ้าน ได้แก่ น้อยหน่าฝ้ายและน้อยหน่าหนัง และน้อยหน่าลูกผสมที่รู้จักดีในชื่อ เพชรปากช่อง การผลิตน้อยหน่ามี 2 รูปแบบ คือ แบบพอเพียงที่ปลูกตามที่ว่างบริเวณบ้าน ส่วนใหญ่เป็นน้อยหน่าฝ้าย พบที่ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง และแบบการค้าที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ พบมากที่อำเภอปากช่อง เป็นน้อยหน่าพื้นเมืองร้อยละ 75 และลูกผสมร้อยละ 25 เก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนมิถุนายนโดยเก็บทุก 4 วัน เจ้าของสวนจะคัดขนาดผลตามน้ำหนักบรรจุลงเข่งรอพ่อค้ามารับซื้อที่สวนหรือบางรายนำไปจำหน่ายเองโดยตรง ตลาดน้อยหน่าที่สำคัญคือ ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง การเจริญเติบโตช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พบแมลงปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยหอยยักษ์ ทำลายยอดที่แตกใหม่ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน พบเพลี้ยแป้ง แมลงวันทอง และหนอนเจาะผล ทำลายผลผลิต ส่วนแมลงศัตรูธรรมชาติพบตลอดปี ได้แก่ ด้วงเต่าตัวห้ำ แมลงช้างปีกใส และหนอนผีเสื้อสีเงินหน้าลิง เป็นต้น เพลี้ยแป้งจัดเป็นศัตรูสำคัญเพราะอาจทำให้ผลผลิตจำหน่ายไม่ได้ การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมี เช่น ปิโตรเลียมสเปรออยล์ ไวท์ออยล์ และไทอะมีโทแซม เป็นต้น การใช้ตัวอ่อนแมลงช้างในการควบคุมเพลี้ยแป้งจะได้ผลดีเมื่อใช้ตัวอ่อนแมลงช้าง 15 ตัวต่อผล และปริมาณเพลี้ยแป้งบนผลมีน้อยกว่า 20 ตัวต่อผล การสุ่มเก็บตัวอย่างพืชและดินบริเวณต้นที่แสดงอาการกิ่งแห้งใบแห้งไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ พบเชื้อราในกลุ่ม Pythium sp. ในดิน เชื้อราในกลุ่ม Fusarium sp. ในพืช และเชื้อราในกลุ่ม Phytophthora sp. ทั้งในดินและพืช การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและพืชช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 โดยทำให้ผลขนาดใหญ่และกลางมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าวิธีเกษตรกร ผลผลิตที่นำมาคัดขนาดด้วยเครื่องคัดขนาดผลน้อยหน่าต้นแบบพบว่า เครื่องมีความเร็วในการคัดแยก 0.5 ผล/วินาที ความแม่นยำในการคัดแยกร้อยละ 80 ผลผลิตเสียหายจากการใช้เครื่องมือร้อยละ 2 ข้อมูลงานวิจัย/ทดสอบ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ถูกนำไปเผยแพร่ในระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบให้สืบค้นได้ง่ายที่เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร (http://it.doa.go.th/sugarapple/)
บทคัดย่อ (EN): Sugar apple research and development project was conducted in Nakhon Ratchasima province in 2011 to 2013. The project was aimed to survey and collect data of sugar apple production technology and market chain of farmers. The objectives were also to study on insect pests and their control, natural predator, the incidence of dried branch and leaf symptom, fertilizer management, invention and development of fruit mechanical sizer, and creating a sugar apple website. The results was suggested that there were 2 types of sugar apple varieties cultivated in the province; i.e. local varieties and hybrid varieties. The cultivation was observed either as backyard gardens in Nonsoong district, or as commercial gardens in Pakchong district. The yield was harvested in June, about 4-day interval. Then they were sized by hands (5 sizes). Main market of sugar apple were domestic markets in the province and in Bangkok. Major insect pests observed in January-April were white flies. In May-September, there were mealy bugs, fruit flies and sugar apple fruit borers. Natural predators found in the areas were lady beetles, green lacewings and ape flies. Mealy bugs were key pest of sugar apple, which could absolutely destroy the yields. However, it could be efficiently controlled by spraying petroleum oil, white oil, or thiamethoxam. Larvae of green lacewings at the rate of 15 larvae/fruit could be also used to control mealy bugs. According to dried branch and leaf symptom, Pythium sp. was observed in the planted soil, Fusarium sp. was observed in the plant tissue, Phytopthera sp. was observed in both, soil and plant. Fertilizer recommendation referred to soil and plant analyses, could increase farmer’s yield and net benefit by 22 and 32%, respectively, especially large and medium sizes. A fruit mechanical sizer efficiencies were; 0.5 fruit/second of grading speed, 80% of precision, and 2% of damaged fruits. The information related to sugar apple were collected and presented on the DOA website: http://it.doa.go.th/sugarapple.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่าคุณภาพในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
เทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่า และน้อยหน่าลูกผสม การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการพัฒนาต้นแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตลำไยอินทรีย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543 ของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันแกวในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก