สืบค้นงานวิจัย
การปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล จากแหล่งประมงบริเวณชายฝั่งจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2554
สมชาย วิบุญพันธ์, ธิดารัตน์ คงชัย, อุทิศ โชติธรรมโน, พิมพ์วิมล อินทร์แก้ว - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล จากแหล่งประมงบริเวณชายฝั่งจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2554
ชื่อเรื่อง (EN): The Bioaccumulation of Petroleum Hydrocarbon Compounds by Marine Animals and Fishing Ground in the Coastal of Songkhla province : 2011
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล จากแหล่งประมง บริเวณชายฝั่งจังหวัดสงขลา ทำการเก็บตัวอย่างจำนวน 10 สถานี ในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน พฤษภาคม และกรกฎาคม พ.ศ. 2554 นำตัวอย่างมาสกัดแยกปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนโดยใช้เฮกเซน แล้วนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีฟลูออเรสเซนส์สเปคโตรสโคปี เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานไครซีน ซึ่งพบว่าการปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล มีปริมาณความเข้มข้นอยู่ในช่วง 0.27-16.80 ไมโครกรัมต่อลิตร และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.46?5.99 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยรูปแบบการแพร่กระจายพบปริมาณความเข้มข้นสูงบริเวณห่างฝั่ง ปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเลในแต่ละสถานีไม่แตกต่างกัน (p>0.05) สำหรับปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ มีค่าสูงกว่าเดือน เมษายน พฤษภาคม และกรกฎาคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.37?3.85, 7.06?4.20, 0.62?0.47 และ 0.81?0.72 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The Contamination of total Petroleum Hydrocarbon in Seawater from Coastal Fishing Ground in Songkhla Province 2011. Seawater samples were collected from 10 station in February April May and July 2011. Total petroleum hydrocarbon was determined by fluorescence spectroscopy compared with chrysene standard. The average concentration of total petroleum hydrocarbon in seawater during the study was 5.46?5.99 ?g/l and ranged from 0.27-16.80 ?g/l. The highest concentrations were found in station situated at offshore. The average concentration of total petroleum hydrocarbon by station was no difference (P>0.05). The average concentration of total petroleum hydrocarbon in February was significant higher than April May and July (P0.05) which average at 13.37?3.85, 7.06?4.20, 0.62?0.47 and 0.81?0.72 ?g/l respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-06-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล จากแหล่งประมงบริเวณชายฝั่งจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2554
กรมประมง
30 มิถุนายน 2555
กรมประมง
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การปนเปื้อนของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเลตะกอนดิน และสัตว์ทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนกับมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ปริมาณโลหะหนักในสัตว์น้ำ และแหล่งประมงบริเวณชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ปี 2554 ความไวต่อยาต้านจุลชีพและสภาวะการดื้อยาของเชื้อวิบริโอจากกุ้งทะเลที่ เป็นโรค และแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่เลี้ยงกุ้งทะเลจังหวัดสงขลา คุณภาพน้ำในคลองอู่ตะเภา ในจังหวัดสงขลา ปริมาณโลหะหนักในน้ำ ตะกอนดิน และสัตว์น้ำ บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก จังหวัดสงขลา ปี 2556 ระบบการปลูกข้าวนาปีและการทำประมงในหมู่บ้านยากจนของชายฝั่งทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานต้นแบบน้ำยางข้นจังหวัดสงขลาโดยวิธีเติมอากาศ การประมงอวนครอบปลากะตักที่แจ้งเข้าออกในจังหวัดสงขลาปี 2562 การควบคุมกระบวนการผลิตและคุณภาพน้ำยางข้นในโรงงานต้นแบบที่จังหวัดสงขลา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก