สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตร "พริก" เพื่อการส่งออก ของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ
เกรียงศักดิ์ โชควรกุล - มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตร "พริก" เพื่อการส่งออก ของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่อง (EN): Network development and product enhancements Agriculture, "chili" for export.Of Nakhon Ratchasima and Chaiyaphum province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกรียงศักดิ์ โชควรกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์การเกษตร “พริก” เพื่อการส่งออกของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ เพื่อสนับสนุนการแปรรูปพริกเพื่อการส่งออก เพื่อสนับการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายของประชากรผู้ปลูกพริก เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พริกและเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์พริก โดยเป็นการศึกษาเพื่อการพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์พริกเพื่อการส่งออก ได้ศึกษาสภาพการดำเนินการและสภาพปัญหาของการดำเนินการในการพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์พืชเกษตรพริก ได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรผู้ปลูกพริก ในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมา โดยผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์พบว่า 1) แนวทางการสนับสนุนการแปรรูปพริกเพื่อการส่งออกคือ (1) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปผลผลิตพริกให้กับเกษตรหรือกลุ่มผู้ประกอบการอาชีพในการแปรรูปพืชเกษตรพริก อีกทั้งต้องสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ที่จะได้จากการแปรรูป การรับการอบรมเพิ่มความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการสนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปของพืชเกษตรพริกให้ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานที่จะสามารถแข่งขันในตลาดการทั้งในและต่างประเทศได้ (2) สร้างผลิตภัณฑ์ดีจากวัตถุดิบที่ดี ซึ่งเกษตรกรกลุ่มแปรรูปพริกต้องมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์พริกที่หลากหลายให้ผู้บริโภคมีทางเลือก และพริกที่นำมาแปรรูปต้องได้มาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค อีกทั้งต้องสนับสนุนให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปในแบบใหม่ ๆ และต้องจดทะเบียนนวัตกรรมเพื่อสร้างเป็นลิขสิทธิ์ให้กับตัวสินค้า รวมทั้งต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และตราสัญลักษณ์สินค้าของไทยให้มีความแตกต่างโดดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการเลือกซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภค (3) เชื่อมโยงเครือข่ายการแปรรูปแบบครบวงจร การสนับสนุนการแปรรูปต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อให้ได้ข้อมูลและความร่วมมือในการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตพริก ด้วยการบูรณาการข้อมูลความต้องการของตลาดสินค้าพริกแปรรูป โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศใหม่ ๆ ของหน่วยงานเกี่ยวข้องที่มีฐานข้อมูล เพื่อให้บริหารจัดการวางแผนระบบการทำเกษตรพืชพริกได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว การแปรรูป และช่องทางการตลาดแบบครบวงจร 2)แนวทางการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายของประชาชนผู้ปลูกพริก คือ (1) กำหนความชัดเจนของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระ และภาคประชาชน ควรมีการร่วมมือกันทำงานแบบบูรณาการโดยมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นแกนกลาง เพื่อให้เกิดการรวมพลังในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคีต่างๆ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนผู้ปลูกพริกโดยตรง (2) สร้างและสานสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยอาจมีกิจกรรมสานสัมพันธ์ กิจกรรมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล และเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นระหว่างกันและกัน มีทัศนคติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันแล้ว (3) การสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานของรัฐ คือสนับสนุนทรัพยากร ได้แก่ งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์สิ่งของหรือปัจจัยอย่างอื่นที่เอื้อและจำเป็นในกิจการต่างๆของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริก เช่น สนับสนุนชีวภัณฑ์ ยาบำรุงรักษาโรคพริก การอบรมให้ความรู้แก่กลุ่ม การสนับสนุนเรื่องอาคารสถานที่ใจการจัดกิจกรรมของกลุ่ม เป็นต้น (4) สร้างภาวะผู้นำสู่การสร้างเครือข่ายคือผู้นำกลุ่ม เพราะถือว่าเป็นผู้ที่สามารถกำหนดทิศทางของกลุ่ม นำพากลุ่มไปสู่ความเข้มแข็ง ฉะนั้น ในการสร้างกลุ่มเครือข่ายจึงต้องการกระบวนการสร้างผู้นำกลุ่ม สร้างภาวะผู้นำให้เกิดกับหัวหน้ากลุ่ม ให้มีความเสียสละ ซื่อสัตย์ และอดทน มีลักษณะกระตือรือร้น ?มีศักยภาพในการโน้มน้าวและจูงใจ ?ทำให้สมาชิกร่วมมือร่วมใจในการ 3) แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พริก คือ (1)เพิ่มความหลากหลายในการแปรรูป ซึ่งการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตพริกนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบของการแปรรูปผลิตภัณฑ์พริกเป็นรูปแบบอื่น เช่น พริกอบแห้ง พริกป่น ทำน้ำพริก ทำซอสพริก เพื่อเพิ่มมูลค่าพริก เนื่องจากการขายเฉพาะพริกสดนั้นประสบปัญหาในด้านการกำหนดราคาจากพ่อค้าคนกลางหรือเกษตรกรไม่ทราบราคากลางที่แน่นอน (2) ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย เนื่องจากการแปรรูปนั้นมีประโยชน์หลายด้าน ทั้งเก็บได้นานและมูลค่าจากผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นด้วย และสิ่งที่สนับสนุนให้การแปรรูปผลผลิตพริกนั้นได้ผลดีมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้าผลผลิตพริกที่ได้รับการแปรรูปแล้วนั้นให้และดูสะอาด ดูแปลกตาและดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น (3) จุดจำหน่ายสะดุดตาน่าซื้อขาย ต้องส่งเสริมให้มีการนำสินค้าที่ได้จากการแปรรูปนั้นออกวางขาย ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คนผ่านไปมาและสามารถมองเห็นสินค้าได้ชัดเจน รวมไปถึงการส่งไปขาย ณ สถานที่ขายของฝากตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั่วประเทศ หรือการส่งเสริมผลักดันให้นำขึ้นวางขายในห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงการสนับสนุนพัฒนาให้ก้าวไปถึงการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ 4) แนวทางการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์พริก คือ (1) กำหนดราคากลางที่ชัดเจน การเพิ่มช่องทางการตลาดควรเริ่มที่นโยบายของภาครัฐต้องเข้ามาดูแลทั้งระดับชาติและระดับจังหวัดในการกำหนดนโยบายให้มีราคากลางพริกให้เหมือนกับพืชเกษตรชนิดอื่นที่มีการประกาศราคากลางอย่างชัดเจนมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศเพื่อแก้ปัญหาพ่อค้าคนกลาง (2) สร้างโอกาสทางการตลาด หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์หาช่องทางการตลาดจัดงานเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกได้พบกับกลุ่มบริษัทแปรรูปพริกเป็นการเปิดโอกาสทางการตลาด ผู้ปลูกพริกที่มีคุณภาพปลอดภัยจะได้มีโอกาสทำสัญญาชื้อขายพริกกับบริษัทสามารถทำให้ราคาสูงขึ้น การเพิ่มช่องทางการตลาดในระดับจังหวัด (3) สร้างมาตรฐานและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรต้องพัฒนาการปลูกพริกให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อเป็นการรับรองผลิตภัณฑ์พริกว่ามีมาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าได้บริโภคพริกที่สะอาดเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับบริษัทที่สนใจชื้อพริกของเกษตรกรเพื่อการแปรรูปในโรงงาน การได้มาตรฐาน GAP เป็นสิ่งสำคัญ เพราะรายชื่อเจ้าของสวนพริกจะไปโชว์ในระบบเว็บไซน์ของกรมวิชาการเกษตร เว็บไซน์เกษตรอำเภอ เมื่อบริษัทหรือผู้บริโภคต้องการชื้อพริกสืบค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงได้ข้อมูลได้เป็นการประชาสัมพันธ์และมีโอกาสเพิ่มช่องทางการตลาด
บทคัดย่อ (EN): The study titled “Network development and product enhancements Agriculture, "chilly" for export. Of Nakhon Ratchasima and Chaiyaphum province.” aimed to support chili processing for exports and to foster chili grower networking to increase revenue and expand market channel of chili products. The research studied to develop the network and alleviate chili as agricultural product. The study involved sample group of chili farmers in Nakhon Ratchasima and Chaiyaphum Province. The result, consistently with the objectives, indicated the following discoveries: 1) Strategies in fostering chili processing for exports: (1) Supports provided by governmental offices through developmental aid on chili processing to farmers or chili processor entrepreneur groups. Convince the farmers to see the benefit of increasing product value through product processing and participate in knowledge-improvement trainings held by governmental offices and receive governmental supports on agricultural product development especially the processed chili to strengthen its quality standard in order that it can compete in both domestic and international markets. (2) Create a quality product from quality raw materials: chili processor group must be able to create product variety to offer choices to the consumers. In addition, the chili used in processing must meet GAP standard requirements which gives consumers a sense of confidence towards the products. Supports for new product innovation must also be provided to help speed up the invention and these innovations must be patented to preserve product copyrights. The product packaging and branding must also be developed to portray the uniqueness with aim to attract the consumers and encourage them to make easier buying decision. (3) Connect the product processing network to create a full-range capability: in order to support product processing, manufacturer, entrepreneur, and consumers are required to be connected in a network fashion to ease the information sharing and collaboration regarding chili product processing. Integration of demand information on chili processing markets especially from new countries from relevant sources of data from various offices must be made so that the gathered information may be used to appropriately manage and plan a complete chili agricultural system from plantation, harvest, processing, and market channel. 2) Strategies in fostering chili grower network formation: (1) Identify the responsible governmental office: Relevant units from public sector, state enterprise, independent unit, and private sector must join force in this integrated mission while one of the sectors may be the core of the collaboration to unify and direct the mission with help of various parties to achieve the true goal that directly meet the needs of chili growers. (2) Foster a strong connecting-bond among the community: building up bonds within the community may be done through some sharing and exchanging activities supervised by the responsible office to ensure the bond has improved and that they share the same vision and values. (3) Provide the governmental resource aid: the aid may come in a form of funding, materials, equipment, or other supporting factors that may be required for smooth entrepreneurship of the chili grower network such as providing bioproducts, supplements and cures against chili diseases, knowledge training to the group, as well as the venue for group activities. (4) Foster leadership in network creation: the group should assign a leader whose role is to give the group a sense of direction which strengthen the group itself while moving forward. In establishing a network, the group needs a leader who possess the following characteristic traits; leader, honesty, patience, enthusiasm, and negotiator so that group members are willingly and fully cooperative with the project. 3) Strategies in creating added value to chili products: (1) Increase the processing variety: To add the value to chili production, the chili may be processed into various product categories for example, dried chili, chili powder, chili paste, and chili sauce. Selling only fresh chili is no longer healthy for the business since all products go through the lower pricing set by middlemen or unstable pricing due to the lack of market channel. (2) Modern-looking package design: Since there are many aspects of benefit in processing chili such as longer storage and higher profitability, one of the required factors that increases the value of processed chili product is the package design. The design should look clean, attractive, and seemingly delicious. (3) Attractive sales facility: the processed products must be placed selling in various crowded area with clear visibility of the products. The products must also be delivered to be sold in various domestic tourist destinations as well as shopping malls. It would also be best to push the products for exports so that they can reach international markets. 4) Strategies in increasing market channels for chili products: (1) Set a clear reference pricing: market channel improvement should begin at the governmental policy where the government should implement the new policy at both the national and provincial levels by setting the reference price for chili the same way that it has been done to other agricultural crops which already have the reference pricing set and used throughout the nation to encounter middleman problem. (2) Create marketing opportunity: relevant governmental offices take part in publicizing the information and finding exhibitions that chili growers can meet chili processor to open up market opportunity and drive earning to safe and quality chili growers where they can negotiate a fairer trade deal that both parties make higher profit on better pricing while at the same time it is also considered an expansion of provincial market channels. (3) Maintain standards and sufficient supply matching the market demand: farmers must grow their chili to meet GAP standard requirements to certify that their chili product is grown with standardized care and quality which further leads to consumer’s as well as manufacturer’s confidence when purchasing clean chili. Obtaining GAP certification is important because the name of certified chili grower will appear on the Department of Agriculture website and District Agricultural Extension Office websites. When consumers need chili, they would look up on the internet and access such information which is a positive publication that helps expand the market channel.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตร "พริก" เพื่อการส่งออก ของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาเครือข่ายผลิตภาพสีเขียวในวิสาหกิจลำไยแห้งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตและยกระดับความสามารถในการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์หมูหันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจ (Cluster) หมากเม่าในจังหวัดสกลนคร กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าสับปะรดผลสดครบวงจรบ้านสา อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง การพัฒนาและยกระดับการผลิตปลาช่อนเค็มแห้งเพื่อการส่งออก ความคิดเห็นของสมาชิกสถาบันเกษตรกรต่อโครงการพัฒนาข้าวหอมมะลิปลอดภัยจากสารพิษเพื่อการส่งออกในจังหวัดมหาสารคาม การศึกษาวิจัยด้านการวิเคราะห์โครงสร้าง บทบาทหน้าที่และภารกิจของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคภัย กระบวนการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีเครือข่ายนางพิมพ์ โถตันคำ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการส่งออกปลาสวยงาม การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ในการพัฒนาอาชีพการเกษตรให้แก่คนรุ่นใหม่และแรงงานคืนถิ่น : กรณีศึกษาเครือข่ายอินแปง จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก