สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้องเพื่อวิสาหกิจชุมชน
ใจทิพย์ วานิชชัง, ผดุงศักดิ์ วานิชชัง, นฤมล บุญกระจ่าง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้องเพื่อวิสาหกิจชุมชน
ชื่อเรื่อง (EN): The Development of Brown Rice De-Stoner for Rural Community Enterprise
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: เครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้อง
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและหลักการทำงานของเครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้อง พัฒนาเครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้องสำหรับวิสาหกิจชุมชน และทดสอบสมรรถนะเครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้องสำหรับวิสาหกิจชุมชน พัฒนา ออกแบบ สร้าง และทดลอง ณ. สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยี คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ อาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้องที่พัฒนาขึ้น เป็นเครื่องคัดแยกที่อาศัยความแตกต่างของน้ำหนักจำเพาะของเมล็ดข้าวกล้องกับก้อนกรวด โดยใช้ตะแกรงและพัดลมในการคัดแยกประกอบด้วยตะแกรงคัดแยก วางเอียงเป็นมุมประมาณ 14 องศากับแนวราบ ด้านล่างของตะแกรงเป็นพัดลมแบบใบตรงเพื่อเป่าลมลอดขึ้นตามรูของตะแกรงคัดแยก จากผลการทดลองพบว่า เมื่อเพิ่มมุมเอียงของตะแกรงแยกก้อนกรวดให้มากขึ้นจะทำให้อัตราการทำงานและประสิทธิภาพการใช้พลังงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ผลผลิตที่คัดแยกได้มีความบริสุทธิ์ และประสิทธิภาพการคัดแยกไม่แตกต่างกัน ขณะที่การสูญเสียและประสิทธิผลการคัดแยกมีแนวโน้มลดลง เมื่อเพิ่มความเร็วพัดลมเครื่องคัดแยกก้อนกรวดให้สูงขึ้นจะทำให้อัตราการทำงานและประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดที่ความเร็วรอบ 1685 รอบต่อนาที ผลผลิตที่คัดแยกได้มีความบริสุทธิ์ ประสิทธิภาพการคัดแยก การสูญเสีย และประสิทธิผลการคัดแยกไม่แตกต่างกัน เมื่อเพิ่มปริมาณส่วนผสมของก้อนกรวดในข้าวจะทาให้ข้าวกล้องที่ได้มีความบริสุทธิ์และประสิทธิภาพการคัดแยกลดลง แต่เมื่อเพิ่มอัตราการป้อนให้มากขึ้นจะทำให้อัตราการทำงานของเครื่อง ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น และประสิทธิผลเพิ่มขึ้น แต่ข้าวกล้องที่ได้มีความบริสุทธิ์ลดลง จากผลการทดสอบพอสรุปได้ว่า เครื่องมีประสิทธิผลการคัดแยกสูงที่อัตราการป้อน 1200 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยมีอัตราการทำงาน ระหว่าง 466.45-509.31 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ข้าวมีความบริสุทธิ์ระหว่าง 99.98-99.99 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพการคัดแยกระหว่าง 99.53-99.76 เปอร์เซ็นต์ และประสิทธิผลการคัดแยกระหว่าง 83.19-88.60 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to study the basic data and principle of brown rice de-stoner, develop and performance test. The development and experiment were conducted at Department of Agricultural Engineering and Technology, Faculty of Agriculture and Natural Resource, Rajamangala University of Technology Tawan-ok, Bangpra Campus, Sriracha, Chonburi. The brown rice de-stoner developed by using the difference in specific gravity of brown rice and stone, consisted of separating sieve with 14 degree tilt angle from horizontal and straight blade blower to brow up through the separating sieve. The results showed that when tilt angle of separating sieve increases, the capacity and energy efficiency trend to increase but not significantly difference in purity and fraction yield of end products, while the effectiveness of separating and grain loss trend to decrease. When blower speed increases, the capacity and energy efficiency reached highest at 1685 revolution per minute but not significantly difference in purity, fraction yield, grain loss and the effectiveness of separating of end products. When the percentage of stone mixed increases, the purity and fraction yield will decrease but when the feed rate increases, the capacity, energy efficiency and effectiveness of separating will increase but the purity of brown rice decrease. From the study, it could be concluded that the brown rice de-stoner received high effectiveness of separating at the feed rate of 1200 kilogram per hour and demonstrated the capacity during 466.45-509.31 kilogram per hour, the purity of brown rice during 99.98-99.99 percent, the fraction yield during 99.53-99.76 percent and the effectiveness of separating during 83.19-88.60 percent.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292278
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเครื่องคัดแยกก้อนกรวดออกจากข้าวกล้องเพื่อวิสาหกิจชุมชน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ข้าวกล้องงอกเพิ่ม กาบา การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบางเลน การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี การรักษาคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีแกมมาเพื่อความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การออกแบบและพัฒนาเครื่องปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ ข้าวกล้องดอยและข้าวดอยซ้อมมือ การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตข้าวนึ่งคุณภาพสูงสำหรับวิสาหกิจชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก