สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาชีววิทยา ชนิดพันธุ์ และการพัฒนาระบบการเลี้ยงปลากัดเชิงพาณิชย์
อรุณี รอดลอย, สุจินต์ หนูขวัญ, นนทรี ปานพรหมมินทร์, นนทรี ปานพรหมมินทร์, อรุณี รอดลอย, สุจินต์ หนูขวัญ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาชีววิทยา ชนิดพันธุ์ และการพัฒนาระบบการเลี้ยงปลากัดเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Biology, Species and Culture System Development of Betta spp. for Commercial.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ปลาสวยงามพื้นเมืองของไทยที่ส่งออกเป็นมูลค่าอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2548 และอันดับ 2 ในปี พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2547 คือ ปลากัด Betta splendens (สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ, 2549) ปลากัดที่ผลิตส่งออกเป็นอันดับหนึ่ง คือปลากัดไทยหรือปลากัดจีน Betta splendens ซึ่งเป็นปลาที่ผลิตจากฟาร์มและมีการปรับปรุงพันธุ์ต่อเนื่องกันมาหลายปีจนได้ลักษณะปลากัดจีนที่สวยงามและแปลกใหม่ เช่น ลักษณะหางมงกุฎ หางแบบ Haft moon หางสองแฉก และแบบที่มีสีสันต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ในแหล่งน้ำธรรมชาติหลาย ๆ แห่งของไทย ยังมีสายพันธุ์ปลากัดที่ยังมีศักยภาพในการนำมาเพาะเลี้ยงให้ได้ผลผลิตตามตลาดต้องการ เช่น Betta imbellis (กัดป่าภาคใต้) Betta smaragdina (กัดอีสาน) Betta pugnax (กัดหัวโม่ง) Betta simplex (กัดกระบี่) Betta prima (กัดหัวโม่งตะวันออก) Betta pi (กัดน้ำแดง) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติ ปัจจุบันตลาดปลาสวยงามยังต้องการพันธุ์ปลาที่แปลกใหม่ มีความหลากหลายของชนิดปลามากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงาม ดังนั้นการศึกษาวิจัยวิธีการเพาะเลี้ยงปลากัดพื้นเมืองของไทย รวมทั้งการผลิตปลากัดสายพันธุ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเชิงพาณิชย์ ให้มีคุณภาพ จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์ปลาของไทย และทดแทนการเก็บรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาชีววิทยา ชนิดพันธุ์ และการพัฒนาระบบการเลี้ยงปลากัดเชิงพาณิชย์
กรมประมง
31 มีนาคม 2555
กรมประมง
การศึกษาชนิดพันธุ์และพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามของไทยเชิงพาณิชย์ ชีววิทยาเพื่อการเพาะพันธุ์ของปลารากกล้วยในแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง(ชีววิทยาบางประการของปลารากกล้วยในแม่น้ำวังจังหวัดลำปาง) ชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้านในจังหวัดพิจิตร ชีววิทยาบางประการของปลาชะโด ประสิทธิภาพและการจัดการระบบกรองชีวภาพขนาดใหญ่สำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทะเล การเลี้ยงปลากะพงแดงในกระชังโดยใช้ อาหาร 3 ชนิด การทดลองเลี้ยงหอยสังข์กระโดด Strombus canarium ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) ชีววิทยาบางประการของกบอ๋องข้างลายในจังหวัดเชียงใหม่ การเก็บรักษาหนอนแดงมีชีวิตเพื่อเป็นอาหารปลาสวยงามเชิงพาณิชย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก