สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กรณีปุ๋ยชีวภาพ
สุภาพ สุทธิรักษ์, สุภาพ สุทธิรักษ์ - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กรณีปุ๋ยชีวภาพ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิต การตลาดปุ๋ยชีวภาพของวิสาหกิจชุมชน ศึกษาระดับศักยภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษา พบว่า ด้านการผลิตส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่เป็นหลัก คือมูลสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นของสมาชิกเองเป็นส่วนใหญ่ ในด้านแรงงานใช้แรงงานจากสมาชิกกลุ่มร่วมกันทำการผลิต ส่วนเงินทุนนั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากค่าหุ้นของสมาชิก ปริมาณการผลิตปุ๋ยชีวภาพได้จำแนกเป็นปุ๋ยอัดเม็ด ปุ๋ยผง และปุ๋ยน้ำ โดยทำการผลิตปุ๋ยผงเฉลี่ย 16.65 ตัน/ปี/กลุ่ม อัดเม็ด 9.23 ตัน/ปี/กลุ่ม และปุ๋ยน้ำ 778.68 ลิตร/ปี/กลุ่ม มีต้นทุนการผลิต (ต้นทุนผันแปร) ชนิดผง เม็ด เฉลี่ยตันละ 1,423.74 3,291.66 บาท และชนิดน้ำเฉลี่ยลิตรละ11.46 บาท มีรายได้เหนือต้นทุนรวมผันแปรเท่ากับ 1,146.26 2,768.34 บาทต่อตัน และ8.39 บาท/ลิตร สำหรับด้านการตลาดนั้น พบว่า การจำหน่ายปุ๋ย ได้จำหน่ายให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปในพื้นที่ ทั้งในรูปเงินสดและเงินเชื่อ โดยมีช่องทางการจำหน่ายในชุมชนร้อยละ 95 และนอกชุมชนร้อยละ 5 ทางกลุ่มมีการส่งเสริมการตลาด เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ วิทยุชุมชน สมาชิกและผู้ใช้ช่วยประชาสัมพันธ์ ส่วนโอกาสทางการตลาด พบว่า จุดแข็งที่สำคัญ คือภาวะความเป็นผู้นำของกลุ่ม และต้นทุนในการจัดจำหน่ายต่ำ จุดอ่อนคือ ส่วนแบ่งด้านตลาดมีน้อย และขาดการวิจัยพัฒนา โอกาสคือ กระแสนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ จำนวนคู่แข่งขันปุ๋ยชีวภาพมีไม่มาก ส่วนอุปสรรคคือ ขาดการรับรองมาตรฐานสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน พบว่า ระดับศักยภาพหรือระดับความเข้มแข็งอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรประกอบด้วย กระบวนการผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการจัดการ ความพึงพอใจของลูกค้า ความสามารถเชิงสมรรถนะของพนักงาน การบริการเชิงคุณภาพ และความภักดีของลูกค้า แต่มีเพียง 4 ปัจจัยเท่านั้น ที่ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือกระบวนการผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการจัดการ และความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้น การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจสามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ ควรเน้นการพัฒนาความสามารถในการจัดการ พัฒนากระบวนการผลิต และการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า รวมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้มากขึ้น ภาครัฐควรจัดหาสถานที่แน่นอนในการจำหน่ายสินค้า และพัฒนาระดับศักยภาพที่เป็นข้อด้อยให้มีระดับดีขึ้น โดยการวางแผนการดำเนินงานและพัฒนาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้ต่างจากผู้ผลิตรายอื่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กรณีปุ๋ยชีวภาพ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2551
การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS การศึกษาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อลดเวลาการย่อยสลายฟางข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อสนองแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปุ๋ยชีวภาพ พีจีพีอาร์-ทู การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน การพัฒนาชุมชนผู้เลี้ยงแพะบ้านห้วยทรายใต้สู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนการฟอกหนังแพะ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก