สืบค้นงานวิจัย
การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ปิยะ เพชรสงค์, วไลพร สุขสมภักดิ์, เกศกุฎา โกฏิกุล, กฤติกา จินาชาญ, สิทธิพร นิลแสง, วไลพร สุขสมภักดิ์, เกศกุฎา โกฏิกุล, กฤติกา จินาชาญ, สิทธิพร นิลแสง, ปิยะ เพชรสงค์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง (EN): Supply Chain Management for Litopenaneus Vanamei in Nakhonsri-thammarat Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช เกศกุฎา โกฏิกุล1, วไลพร สุขสมภักดิ์1, ปิยะ เพชรสงค์1, กฤติกา จินาชาญ 1, สิทธิพร นิลแสง2 Ketkuda Kotikul1, Valaiporn Suksomphak1, Piya Pechsong 1, Krittika Jinachan1, Sithiporn Nilsang2 บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2.) เพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพทุกขั้นตอนในโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช 3.) เพื่อเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาทั้งระบบของโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน จำนวนประชากร 237 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ 63 คน สามารถสุ่มกลุ่มตัวอย่างแยกตามอำเภอโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) แยกเป็นอำเภอปากพนัง 25 คนและอำเภอหัวไทร 38 คน ผู้รวบรวมในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 รายและโรงงานแปรรูปในจังหวัดสงขลา 1 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ (percentage) ฐานนิยม (mode) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean) ค่าความเบี่ยงแบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่มีอายุ 45 ปี ขึ้นมีจำนวนสมาชิกที่ 3 -4 คน ใช้แรงงานในการเลี้ยงกุ้งจากสมาชิกในครอบครัว สมาชิกในครัวเรือนที่ทำงานเกษตรหลัก จำนวน 1 -2 คน ส่วนใหญ่มีสิทธิ์ครอบครองเป็นของตนเอง มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้ง ระหว่าง 15-20 ปี มีทุนเป็นของตนเอง เกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกซื้อลูกกุ้งและเลือกอาหารกุ้งจะเลือกซื้อลูกกุ้งจากความไว้วางใจ เลี้ยงกุ้งอยู่ที่ระยะเวลา 3 เดือน เกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกผู้รวบรวม (แพปลา ห้องเย็น) จะเลือกซื้อจากราคา ด้านเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกเวลาในการจับกุ้งจะเลือกเวลาในตอนที่กุ้งโตเต็มที่ ใช้เวลาในการจับกุ้งในหนึ่งบ่อประมาณ 5-6 ชั่วโมง ระดับการให้ความสำคัญทั้งหมด 5 ด้านคือ 1.)การวางแผนการผลิต 2.)การผลิต 3.)การเตรียมวัตถุดิบก่อนการผลิต 4.)การขนส่ง 5.)การส่งคืน เกษตรกรให้ความสำคัญในการวางแผนการผลิตและการขนส่งมากที่สุดรองลงมาคือการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และการส่งคืน ระดับการระดับการให้ความสำคัญทั้งหมด 5 ด้านของประสิทธิภาพการดำเนินงานในโซ่อุปทานคือ 1.)ความรวดเร็ว 2.)การประหยัด 3.)ความปลอดภัย 4.)ความสะดวกสบาย 5.)ความแน่นนอนเชื่อถือได้และตรงต่อเวลา เกษตรกรให้ความสำคัญประสิทธิภาพการดำเนินงานในโซ่อุปทานสูงสุดด้านความปลอดภัย รองลงมาคือด้านความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย ผู้รวบรวม ให้ความสำคัญประสิทธิภาพการดำเนินงานในโซ่อุปทานให้ความสำคัญด้านความรวดเร็ว และการประหยัด และความแน่นนอนเชื่อถือได้และตรงต่อเวลา และความปลอดภัย และความสะดวกสบาย โรงงานแปรรูป ให้ความสำคัญประสิทธิภาพการดำเนินงานในโซ่อุปทานให้ความสำคัญ ความแน่นนอนเชื่อถือได้และตรงต่อเวลา ความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว, การประหยัด, ความปลอดภัย ตามลำดับ คำสำคัญ โลจิสติกส์, โซ่อุปทาน, การบริหารจัดการ, ประสิทธิภาพของการขนส่ง
บทคัดย่อ (EN): Supply Chain Management for Litopenaneus Vanamei in Nakhonsri-thammarat Province Ketkuda Kotikul1, Valaiporn Suksomphak1, Piya Pechsong 1, Krittika Jinachan1, Sithiporn Nilsang2 This research aims to 1) study the supply chain Whiteleg Shrimp Vanamie in Nakhonsithammarat Province, 2) demonstrate the effectiveness of every step in the supply chain of Whiteleg Shrimp Vanamie, and 3) offer guidance to develop the supply chain system of Whiteleg Shrimp Vanamie in the province. The population of this research includes 237 shrimp farmers from Nakhonsri-thammarat Province.The sample of this research consists of 63 farmers abtained by stratified random sampling. The sixty-three sample are from Pak Pha-nang Subdistrict (25), Hua Sai Subdistrict (38), shrimp traders in the province (5), and a processing plant. Data are analyzed by percentage, mode, arithmetic mean, and standard deviation. The findings are found that most shrimp farmers are more than forty-five years old with three to four family members. Shrimp culturing workers are their own family members. One to two of the family members have agricultural work on their own farm with 15-20 years of experience. They have their own budget for the shrimp culture. Trust from their suppliers is used to settle the criteria of choosing and buying shrimps. The culturing period is three months. The shrimp traders (from fish markets or frozen companies) are selected regarding price. Mature shrimps only are caught to sell. Time to catch shrimp in each pond is taken about 5-6 hours. There are five important features: 1) planning, 2) production, 3) preparation of raw materials before production 4) transportation, and 5) returning. The farmers mostly focus on planning and transportation, followed by production, preparation of raw materials before production, and returning. Importance levels of all five features of operational efficiency in the supply chain include 1) speed, 2) economy, 3) safety, 4) convenience, and 5) certainty and punctuality. Regarding to the farmers’ opinion, the most important feature is safety, followed by speed and convenience. According to the shrimp traders, the priority of the important features is speed, economy, certainty and punctuality, safety, and convenient. The processing plant prioritizes certainty and punctuality, speed, economy, and safety, respectively. Keyword: Logistics, Supply Chain, Management, Efficiency of Transport
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของพืชสวนเศรษฐกิจ การศึกษาโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าน้ำนมโค ประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ในประเทศไทย การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของส้มโอ จังหวัดสมุทรสงคราม ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์มันสำปะหลัง การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของโซ่อุปทานผลหม่อนในจังหวัดน่าน การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไปยังจีนตอนใต้ โครงการศึกษาศักยภาพตลาดกลางยางพารา ระบบโครงข่ายโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานยางพาราของจังหวัดพิษณุโลกในระดับนานาชาติ โครงการพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ตัวแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก