สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สุพจน์ ขวาสระแก้ว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพจน์ ขวาสระแก้ว
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการผลิตและพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตและปัญหาในการปลูกพริกของเกษตรกร 3) พฤติกรรมในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริก และ 4) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรที่มีสภาพสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการผลิตที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกพริกในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 171 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2545 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC โดยใช้ค่าสถิติความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรปลูกพริกเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.8 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.4 คน เป็นแรงานในด้านการเกษตรเฉลี่ย 2.4 คน ทำสวนผักเป็นอาชีพหลัก ำทนาเป็นอาชีพรอง ครอบครัวมีรายได้ เฉลี่ย 80,628.75 บาทต่อปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มส่งเสริมอาชีพและสมาชิก ธ.ก.ส. เงินทุนในการปลูกพริกส่วนใหญ่ก็มาจาก ธ.ก.ส. เฉลี่ย 40,700 บาท ต่อครอบครัว สภาพการผลิตและปัญหาในการปลูกพริก พบว่า มีการปลูกพริกแบบยกร่องและปลูกตลอดปี โดยประสบการณ์ปลูกพริกเฉลี่ย 11.5 ปี การเตรียมแปลงปลูกพริกส่วนใหญ่เกษตรกรไถตากแดด เฉลี่ย 5.9 ใส่ปูนขาวเฉลี่ย 92.9 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก เฉลี่ย 508.5 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี เฉลี่ย 73.9 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่สารเคมีฟูราดาน เฉลี่ย 3.3 ิกิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์พริกที่เกษตรกรปลูก คือ พริกพันธุ์หัวเรือ และพริกจินดา ปลูกโดยการเพาะกล้าและแยกปลูกภายหลัง ปัญหาในการปลูกพริก ได้แก่ สารเคมีมีราคาแพง ราคาผลผลิตไม่แน่นอน ปุ๋ยเคมีราคาแพง และการระบาดของศัตรูพืชรุนแรง พฤติกรรมการใช้สารเคมี พบว่า เกษตรกรทำการฉีดเมื่อพบศัตรูพืชระบาด โดยฉีดมากที่สุดในฤดูแล้ง เฉลี่ย 7.3 ครั้งต่อรุ่น และน้อยที่สุดในฤดูหนาว 4.1 ครั้งต่อรุ่น จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ควรจัดอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง 2)ควรจัดอบรมร้านค้าสารเคมีเพื่อให้สามารถแนะนำเกษตรกรได้อย่างถูกต้อง 3) เก็บผลผลิตออกจำหน่ายหลังพ่นสารเคมีแล้วอย่างน้อย 10-15 วัน 4) จัดทำโครงการตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช ตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้างในพริก และตรวจหาสารตกค้างในตัวเกษตรกรเป็นประจำทุกปี 5) จัดหาตลาดผักปลอดภัยจากสารพิษให้แก่เกษตรกรจำหน่ายได้สะดวก และ 6) ควรกำหนดให้ร้านค้าสารเคมีมีนักวิชการเกษตรประจำร้านเพื่อแนะนำการใช้สารเคมีแก่เกษตรกรอย่างถูกต้อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมืองอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรกิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก