สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกพืชทดสอบเพื่อใช้ประเมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน
อนันด์ หิรัญสาลี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกพืชทดสอบเพื่อใช้ประเมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Selection of Indicator Plants for the estimation of Root-knot Nematode Population Density in soil
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนันด์ หิรัญสาลี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anan Hiransalee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อคัดเลือกพืชทดสอบสำหรับใช้ประเมินความหนาแน่นของประซากรไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ในดิน ได้ทำการคัดเลือกเบื้องต้นจากพืช 40 ชนิด ในกระถางขนาดเล็กในเรือนทดลอง แต่ละชนิดพืชได้ทดสอบ 10:20 ต้น แต่ละต้นได้รับไข่ไส้เดือนฝอย M. incognita 5,000 ไข่, วัดผลเมื่อครบ 30 วัน ประเมินระดับความรุนแรงการเกิดปมที่รากเป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งระบบราก เลือกพืชที่มีการเกิดปมระดับปานกลางขึ้นไป (>51%) เกิดปมสม่ำเสมอ ระบบรากไม่เป็นฝอยมากและไม่ขาดง่าย และมีลำต้นตั้ง ได้ 5 ซนิด คือ กระเจี๊ยบเขียว (Abelimoschus esculentus) พันธุ์ พ. 005, ปอกระเจา (Cochorus olitonius), มะเขือเทศ (Lycopersicon escuientum), เทียนไทย (Impatiens balsaminal, และถั่วเขียว (Vigna radiata นำมาทดสอบความไวต่อการเกิดปมรากที่ความหนาแน่นต่างๆ 12 ระดับ ของประชากรเริ่มต้น (ไข่ของไส้เดือนฝอย ระดับละ 20 ต้น เก็บไว้ในเรือนทดลองนาน 30 วัน พบว่าเปอร์เซ็นต์การเกิดปมรากของพืชทั้ง 5 ซนิต มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความหนาแน่นประชากรเริ่มต้นของไส้เดือนฝอย (ค่า r = 0.891** ถึง 0.986**) จึงเลือกพืชจากกลุ่มนี้ที่หามล็ดพันธ์ได้ง่าย เมล็ดไม่พักตัว และมีเปอร์เซ็นด์การงอกสูง ได้ 2 ชนิด คือ เทียนไทย และถั่วเขียว นำไปทดสอบในแปลงขนาดเล็ก (microplot ที่เตรียมให้มีความหนาแน่นของประซากรไส้เดือนฝอยหลายระดับ ตรวจผลหลังหว่านเมล็ด 30 วัน เก็บข้อมูลได้เฉพาะเทียนไทยซึ่งพบว่ามีการงอกไม่สม่ำเสมอ และไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์การเกิดปมรากกับระดับความหนาแน่นประซากรเริ่มต้นของไส้เดือนฝอย ส่วนถั่วเขียว ซึ่งปลูกครั้งที่สองในแปลงที่เคยปลูกถั่วเขียวและปลูกเทียนไทย พบสหสัมพันธ์ดังกล่าวในถั่วเขียวที่ปลูกไม่หนาแน่น แต่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำกว่าที่พบในเรือนทดลอง แม้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าถั่วเขียวมีความเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นพืชทดสอบประมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในระดับไร่นา ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติม แต่ก็ถือว่าถั่วเขียวมีความเหมาะสมกว่าพืชอื่นที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้
บทคัดย่อ (EN): Selection of potential indicator plants for estimation of soil population density of root-knot nematode (Meloidogyne spp.) was initially made in a greenhouse. After germination, a single plant from 40 different plant species grown in a 350-ml plastic cup filled with sterilized soil was inoculated with 5,000 eggs of M. incognita and kept for 30 days, 10-20 plants of each species were tested. Each washed root system was rated for galling percentage (GP). Okra (Abelmoschus esculentus) var. PJ 005, jute (Cochorus olitorius), tomato (Lycopersicon esculentum), garden basam (Impatiens balsamina), and mungbean (Vigna radiata) were five plant species selected for a further test, based on the following criteria: GP greater than slightly high level (>51%), consistent galling, strong root system, and upright stem. Twenty plants of each 5 plant species germinated singly as in the earlier test were inoculated with 12 different density levels of nematode eggs and kept for 30 days in the greenhouse. At the results, all 5 species showed positive correlation between GP and initial population density (Pi) (r=0.891** to 0.896**). Concerning about having non-dormant seed and high percent germination rates, garden balsam and mungbean were selected for microplot test. The two plant species were broadcast seeded in microplot artificially infested with varied population densities of the nematode. After 30 days, data were available only for garden balsam with non-uniform germination, and showed no correlation between GP and Pi. A repeated test of mungbean with 2 rates of seed use showed positive correlation between GP and Pi, especially in the low seed rate plot, and the correlation coefficients were lower than those in the greenhouse. The results could not finalize the suitability of mungbean as the indicator plant for the estimation of soil population of root-knot nematode. Further studies are still needed. However, among 40 plant species tested, mungbean seemed to be a good choice for this purpose.
ชื่อแหล่งทุน: ทุนอุดหนุนการทำวิจัยประเภทบัณฑิตศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=04-Panyasri.pdf&id=336&keeptrack=15
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกพืชทดสอบเพื่อใช้ประเมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2553
เอกสารแนบ 1
ศักยภาพการใช้พืชปฏิปักษ์และผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปมพริกในแปลงปลูกพืชขนาดเล็ก ผลของสารสกัดจากดาวเรืองในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมมะเขือเทศ การจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมมันฝรั่งของเกษตรกรในจังหวัดตาก การป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม meloidogyne incognita (Kofoid & White) Chitwood ศัตรูพริกโดยวิธีปลูกพืชหมุนเวียน ผลของการอบดินด้วยแสงแดดต่อสุขภาพของต้นกล้าและความต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากปม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว การค้นหาไส้เดือนฝอยตัวห้ำเพื่อใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การคัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของพืชผักบางชนิด ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากสาบเสือต่อพืชทดสอบและการใช้ต้นคลุกดิน เพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก