สืบค้นงานวิจัย
การตรวจสอบความเป็นพิษของสารสกัดสะเดาต่อการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมในไส้เดือนดิน
ปทุมพร เมืองพระ - มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบความเป็นพิษของสารสกัดสะเดาต่อการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมในไส้เดือนดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Genotoxicity assessments of neem extract using earthworm species
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ปทุมพร เมืองพระ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: อะซาดิแรคติน (azadirachtin) เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในสารสกัดสะเดา จัดเป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่ม tetranortriterpenoid ทำหน้าที่ยับยั้งการลอกคราบและใช้เป็นสารไล่แมลงศัตรู ในดินที่มีอะซาดิแรคตินปริมาณมาก สามารถก่อให้เกิดพิษแบบเรื้อรังต่อสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมาย เช่น ครัสทาเซียน (Daphnia magna และ Hyalella azteca) ผ่านการชะละลายจากดินลงสู่น้ำ ผลดังกล่าวทำให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้สารสกัดสะเดาเป็นสารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร การศึกษาผลของสะเดาไทย 111 ซึ่งเป็นสารสกัดสะเดาทางการค้าต่อการรอดชีวิตของไส้เดือนดิน 2 ชนิด คือ Pheretima peguana และ Pheretima posthuma บนกระดาษกรอง พบว่าค่า LC50 ในเวลา 48 และ 72 ชั่วโมงของอะซาดิแรคตินต่อ P. peguana มีค่า 0.259 และ 0.243 ?g.cm-2 ตามลำดับ และ P. posthuma มีค่า 0.026 และ 0.016 ?g.cm-2 ตามลำดับ การศึกษาผลของสะเดาไทย 111 ต่อความผิดปกติของสารพันธุกรรมของเซลล์ coelomocytes ของไส้เดือนดินบนกระดาษกรอง เป็นเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ด้วยวิธี Micronucleus Test พบว่าหลังจาก P. peguana และ P. posthuma ได้รับอะซาดิแรคตินเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ทำให้มี binucleate เพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) แสดงว่าสะเดาไทย 111 ชักนำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ coelomocytes แต่ไม่เป็นพิษต่อสารพันธุกรรมของเซลล์ เมื่อทำการทดสอบในดินด้วยความเข้มข้น 0.17, 0.42 (ความเข้มข้นที่แนะนำให้เกษตรกรใช้), 0.83, 1.25 และ 1.67 mg Aza.Kg-1 ดิน เป็นเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่าเวลาและความเข้มข้นของสะเดาไทย 111 ไม่มีผลต่อสารพันธุกรรมของเซลล์ coelomocytes ในไส้เดือนดินทั้งสองชนิด การศึกษาครั้งนี้แสดงว่าความเข้มข้นของสารสกัดสะเดาที่ใช้เป็นสารกำจัดแมลงในการเกษตรปลอดภัยต่อไส้เดือนดิน คำสำคัญ: ไส้เดือนดิน, อะซาดิแรคติน, coelomocytes, genotoxicity, binucleate, micronucleus
บทคัดย่อ (EN): The most active chemical of neem extract is azadirachtin (Aza), which belongs to the tetranortriterpenoid group of organic compounds. It functions as an ecdysone blocker and a feeding deterrent for some insect pests. High Aza concentrations in soil can cause chronic toxicity to non-target organisms such as crustaceans (Daphnia magna and Hyalella azteca) through leaching from soil into waterways. These effects raise concern over the safe use of neem extract as pesticide in agricultural practices. The effects of Sadao Thai 111, commercial neem extract, on the survival of Pheretima peguana and Pheretima posthuma in filter paper were conducted. The results showed that at 48 and 72 h median lethal concentration (LC50) of Aza to P. peguana were 0.259 and 0.243 ?g.cm-2 and P. posthuma were 0.026 and 0.016 ?g.cm-2, respectively. The genotoxicity of Sadao Thai 111 to coelomocytes of earthworms using Micronucleus test for 24, 48 and 72 h were performed in filter papers. The results showed that Aza significantly (P<0.05) increased the number of binucleated coelomocytes of P. peguana at a concentration of 0.98 ?g.cm-2 and P. posthuma at 0.035 ?g.cm-2 after 48 h exposure. Numbers of micronuclei were not significantly increased in earthworms to Aza. It implies that Sadao Thai 111 induces cytotoxicity through the inhibition of cytokinesis but not genotoxic to coelomocytes. In soil test [0.17, 0.42 (recommended concentration for agricultural practice), 0.83, 1.25 and 1.67 mg Aza. Kg-1 soil] for 48 and 72 h, the exposure time and concentration of Sadao Thai 111 were not genotoxic to coelomocytes of both earthworm species. This study demonstrates that the recommended dosage of commercial neem extract as an insecticide in agricultural practices is safe for earthworms. Key words: earthworm, azadirachtin, coelomocytes, genotoxicity, binucleate, micronucleus
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตรวจสอบความเป็นพิษของสารสกัดสะเดาต่อการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมในไส้เดือนดิน
มหาวิทยาลัยศิลปากร
30 กันยายน 2551
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การประเมินความปลอดภัยของการใช้สารสกัดสะเดาด้วยวิธีตรวจผลต่อการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรม (genotoxicity) ในสิ่งมีชีวิต และพิษต่อพืช (phytotoxicity) การตรวจสอบความเป็นพิษของสารสกัดสะเดาต่อการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมในปลา เทคนิคการเพิ่มอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของสารพิษตกค้างในดินเพื่อลดระยะเวลาการ ปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ความเป็นพิษของสารสกัดสะเดาไทย (Azadirachta indica var. simensis Valeton) ต่อหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Ostrinia furnacalis (Guenee)) การศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตสารสกัดสะเดาไทยเชิงธุรกิจ การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด1 และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้สารสกัดสะเดาในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผักที่ปลูกในเชิงการค้าของเกษตรกร ในจังหวัดลำปาง ผลของการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการปรับปรุงดินเค็ม ความเข้มข้นของสารสกัดสะเดา (Azadiracta indica Wall) ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมหอยทากซักซิเนีย (Succinea sp.) ในสวนกล้วยไม้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก