สืบค้นงานวิจัย
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
หฤษฎ์สลักษณ์ วิริยะ, นิรันดร์ คงฤทธิ์, หฤษฎ์สลักษณ์ วิริยะ, นิรันดร์ คงฤทธิ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Greenhouse Gas Emission from Local Upland Rice Plantation System in Nakhon Ratchasima Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: หัวข้อวิจัย : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการปลูกข้าวไร่ในเขตพื้นที่ ตำบลหินดาดอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ชื่อผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร์ คงฤทธิ์ และคณะ หน่วยงาน : โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ทำวิจัยเสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2559 บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจัดทำฐานข้อมูลจากนาข้าวไร่ในตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งระยะเวลาในการวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะต้นอ่อน ระยะแตกกอ ระยะออกดอกหรือตั้งท้อง และระยะก่อนการเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่ละระยะ มีค่าอยู่ในช่วง 24.89 – 29.28 27.38 – 32.20 29.86 – 35.13 และ 29.86 – 35.13 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ โดยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยทั้ง 4 ระยะ มีค่าเท่ากับ 27.10 29.76 32.52 และ 32.71 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 30.50 กิโลกรัมต่อไร่ และผลการตรวจวัดก๊าซมีเทน พบว่า ปริมาณก๊าซมีเทนแต่ละระยะ มีค่าอยู่ในช่วง 0.08 – 0.10 0.09 – 0.11 0.09 – 0.12 และ 0.09 – 0.12 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ โดยปริมาณก๊าซมีเทน เฉลี่ยทั้ง 4 ระยะ มีค่าเท่ากับ 0.09 0.10 0.11 และ 0.11กิโลกรัมต่อไร่ โดนสรุปการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวไร่เฉลี่ย เท่ากับ 0.10 กิโลกรัมต่อไร่ ในส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่าต่อไร่จากนาข้าวไร่ พบว่า ระยะต้นอ่อน ระยะแตกกอ ระยะออกดอกหรือตั้งท้อง และระยะก่อนการเก็บเกี่ยว มีปริมาณเฉลี่ย 29.40 32.34 35.28 และ 35.57 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่าต่อไร่ เมื่อพิจาราอัตราการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในรูปกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่าต่อไร่ จากระยะต้นอ่อน เป็นระยะแตกกอ ระยะออกดอกหรือตั้งท้อง และระยะก่อนการเก็บเกี่ยว มีค่าประมาณร้อยละ 10 20 และ 21 ซึ่งปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่าต่อไร่ ในระยะออกดอกหรือตั้งท้อง จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในรูปกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่าต่อไร่มากที่สุด ซึ่งหากพิจารณาตลอดช่วงระยะเวลาการปลูกข้าวไร่ 4 ระยะ มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ เท่ากับ 132.58 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่าต่อไร่?
บทคัดย่อ (EN): Title: Greenhouse Gas Emissions from Upland Rice in Hin DAT Sub-Distric, Huai Thalaeng Distric, Nakhon Ratchasima Province. Researcher : Assist Prof Dr. Nirun Kongritti et al. Institute : Environmental Science Program Faculty of Science and Technology Nakhon Ratchasima Rajabhat University Years : 2016 This study aims to collect data rate of greenhouse gas emissions from upland rice in hin dat sub-distric, Huai Thalaeng Distric, Nakhon Ratchasima Province. The measurement of greenhouse gas emissions is divided into four phases namely rice seedlings phases, tillering phases, rice flowering phases and before the harvest phases. The Carbon dioxide of each phase were 24.89 – 29.28 27.38 – 32.20 29.86 – 35.13 and 29.86 – 35.13 kilograms per Rai respectively. The Methane of each phase were 0.09 0.10 0.11 and 0.11 kilograms per Rai respectively. The average of methane were 0.10 kilograms per Rai. In terms of greenhouse gas emissions in kilograms of carbon dioxide equivalent per Rai of paddy fields of each phase were 29.40 32.34 35.28 and 35.57 kilograms of carbon dioxide equivalent per Rai. The increase rate of greenhouse gas In kilograms of carbon dioxide equivalent per Rai of rice seedlings up to tillering phases, rice flowering phases, and before the harvest phases were 10 20 and 21 percent. The rice flowering phase was high kilograms of carbon dioxide equivalent per Rai. The carbon dioxide equivalent per Rai from four phases were 132.8 kilograms of carbon dioxide equivalent per Rai.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
30 กันยายน 2559
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา วันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่ โครงการย่อยที่ 4 การทดสอบพันธุ์ข้าวร่วมกับระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในข้าวไร่และระบบนาน้ำน้อยในข้าวนาบนพื้นที่สูง การพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกและระบบสารสนเทศการผลิตข้าวเพื่อสนับสนุนการ ตัดสินใจเชิงนโยบายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกและระบบสารสนเทศการผลิตข้าวเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในเมล็ดข้าวป่าสามัญ ข้าวพันธุ์ปลูก และข้าวไร่ การศึกษาภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย (7 ต.ค. 2557) การปรับปรุงพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองเพื่อปลูกแซมยางพาราและปาล์มน้ำมันในภาคใต้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก