สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ลดความเป็นพิษของสารตกค้างในดิน
อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ลดความเป็นพิษของสารตกค้างในดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Bio-substances for Reducing Toxicity of Residue Substances in Soils
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียไอโซเลท 17 และเชื้อราไอโซเลท 24 ในการลดปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชและปริมาณโลหะหนักที่ตกค้างในดิน แปลงนายภานุวัฒน์ แซ่ลี้ พบว่า การใส่เชื้อแบคทีเรียไอโซเลท 17 ส่งผลให้ค่า As ลดลงได้มากที่สุด (3.12 mg/kg) คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ลดลง (-) 10.40% การใส่แบคทีเรียไอโซเลท 17 และเชื้อราไอโซเลท 24 ทำให้ค่า chlorpyrifos ลดลง (-) 88.7% (0.0351 mg/kg) และ (-) 90.2% (0.0305 mg/kg) ตามลำดับ การทดสอบการเจริญของเชื้อในอาหารเหลวพบว่า MLY+ สูตร 1 ให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียไอโซเลท 17 สูงที่สุด (2.21 ? 109 cfu/ml) สำหรับสูตรชีวภัณฑ์ชนิดผง วัสดุรองรับ mixed media ให้ปริมาณแบคทีเรียไอโซเลท 17 สูงกว่าสูตร biochar ผสม leonardite (1:1) และ perlite ซึ่งปริมาณเชื้อหลังการบ่ม 15 และ 30 วัน ใน mixed media มีปริมาณสูงสุดคือ 1.65 ? 108 และ 2.62 ? 107 cfu/gm ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพต้นแบบชีวภัณฑ์ชนิดเหลวและชนิดผง พบว่าหลังการบ่มดินที่ระยะ 0 วัน การใช้ชีวภัณฑ์ทั้งชนิดเหลวและชนิดผง โดยมีการผสมปูนเพื่อปรับ pH ร่วมด้วย มีแนวโน้มทำให้โลหะหนักลดลงได้ดีกว่าการไม่ใส่เชื้อและไม่ผสมปูน โดยที่การใช้ชีวภัณฑ์เหลวนั้น กรรมวิธีที่มีการผสมแบคทีเรียไอโซเลท 17 ร่วมกับการใส่ปูนทำให้ค่า Cd และ As ลดลงเป็น 35.8 และ 34.6 mg/kg คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การลดลงจากปริมาณสารเริ่มต้น (-) 28.4 และ (-) 30.8% ตามลำดับ สำหรับการใช้ ชีวภัณฑ์ผงของแบคทีเรียไอโซเลท 17 ร่วมกับการใส่ปูนส่งผลให้ค่า Cd และ As ลดลงได้มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ โดยลดลงเหลือเท่ากับ 28.9 และ 24.7 mg/kg คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การลดลงจากปริมาณสารเริ่มต้น (-) 42.3 และ (-) 50.6% ตามลำดับ ส่วนปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชหลังการผสมชีวภัณฑ์ชนิดเหลวในดินที่ระยะ 0 วัน พบว่าการใช้ชีวภัณฑ์ทั้งชนิดเหลวและชนิดผงในทุกกรรมวิธีทำให้ carbaryl มีปริมาณลดลงจากค่าเริ่มต้นมากกว่า (-) 90% โดยมีปริมาณเหลืออยู่ในช่วง 0.02 ถึง 0.08 mg/kg การใช้ชีวภัณฑ์ผงเพียงอย่างเดียวส่งผลให้ปริมาณสาร chlorpyrifos ลดลงได้มากที่สุดคือ (-) 82.7% กรรมวิธีที่ส่งผลให้ค่า cypermethrin ลดลงได้มากที่สุดคือ การใช้ชีวภัณฑ์ผงเพียงอย่างเดียว หรือ การใช้ชีวภัณฑ์ผงร่วมกับการใส่ปูน โดยทำให้ปริมาณสาร cypermethrin ลดลงเหลือน้อยที่สุดคือ 1.19 และ 1.22 mg/kg คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การลดลงจากปริมาณสารเริ่มต้น (-) 60.3 และ (-) 59.3% ตามลำดับ ผลการประเมินประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์เหลวที่ระยะการบ่ม 30 วัน พบว่าการใส่ปูนร่วมกับการผสมชีวภัณฑ์เหลวของแบคทีเรียไอโซเลท 17 ให้ค่า Cd และ As ลดลงได้มากที่สุด คือ (-) 35.9% และ (-) 39.1% ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารกำจัดศัตรูพืช แสดงให้เห็นว่า กรรมวิธีเดียวกันนี้ทำให้ cypermethrin, chlorpyrifos และ carbaryl ลดลงได้มากที่สุดคือ (-) 92.7, (-) 82.0 และ (-) 99.0% ตามลำดับ สำหรับประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ผงที่ระยะการบ่ม 30 วัน พบว่า ให้ผลในทำนองเดียวกันกับชีวภัณฑ์เหลว คือ การใส่ปูนร่วมกับการผสมชีวภัณฑ์ผงของแบคทีเรียไอโซเลท 17 ให้ค่า Cd และ As ลดลงได้มากที่สุด แต่มีเปอร์เซ็นต์การลดลงที่สูงกว่า คือ (-) 45.0 และ (-) 58.5% ตามลำดับ ส่วนปริมาณสารกำจัดศัตรูพืช พบว่า การใช้ชีวภัณฑ์ผงของแบคทีเรียไอโซเลท 17 เพียงอย่างเดียว หรือ ใช้ร่วมกับการใส่ปูน นั้นให้ค่าการลดลงของ cypermethrin ใกล้เคียงกันคือ (-) 93.7 และ (-) 93.0% ตามลำดับ สำหรับปริมาณ chlorpyrifos และ carbaryl ลดลงในทุกกรรมวิธี โดยที่การผสมชีวภัณฑ์ผงของแบคทีเรีย ไอโซเลท 17 ร่วมกับการใส่ปูนทำให้ chlorpyrifos และ carbaryl ลดลงได้มากที่สุดคือ (-) 88.3 และ (-) 99.3% ตามลำดับ จากผลการทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์ชนิดเหลวและชนิดผง แสดงให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยแล้ว การใช้ชีวภัณฑ์ผงมีแนวโน้มทำให้ค่าโลหะหนักสองชนิดคือ Cd และ As รวมทั้งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด คือ cypermethrin, chlorpyrifos และ carbaryl ลดลงได้ดีกว่าชีวภัณฑ์ชนิดเหลว นอกจากนี้ ผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การปรับค่า pH มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง และ/หรือ การสลายตัวของทั้งโลหะหนักและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
บทคัดย่อ (EN): Effectiveness evaluation of bacterial isolate 17 and fungal isolate 24 in reduction of pesticides and heavy metals residues using the soils from field plots of Mr. Phanuwat Saelee was performed. The application of bacterial isolate 17 with liming showed lowest amount of As (3.12 mg/kg) with the decrease of (-) 10.40%. The application of bacterial isolates 17 and fungal isolate 24 could reduce the amount of chlorpyrifos to (-) 88.7% (0.0351 mg/kg) and (-) 90.2% (0.0305 mg/kg), respectively. Microbial growth determination in liquid media indicated that MLY+ formula 1 gave the highest number of bacterial isolate 17 (2.21?109 cfu/ml). In the powder form of bio-product, the carrier mixed media gave the higher number of bacterial isolate 17 than those in biochar + leonardite (1:1) and perlite. After 15 and 30 days of incubation, mixed media gave the highest number of 1.65 ? 108 and 2.62 ? 107 cfu/gm, respectively. The effectiveness evaluation of liquid and powder form of bio-product was conducted. At 0 day of incubation, the use of liquid and powder bio-product with liming showed a better tendency to reduce heavy metal than without the bio-product and without liming. Application of liquid bio-product, liming with bacterial isolate 17 resulted in Cd and As reduction to 35.8 and 34.6 mg/kg, with the decrease in percentage of (-) 28.4 and (-) 30.8%, respectively. The application of powder bio-product of bacterial isolate 17 plus liming gave the highest reduction of Cd and As with the values of 28.9 and 24.7 mg/kg, and with the decrease in percentage of (-) 42.3 and (-) 50.6%, respectively. Regarding the amount of pesticides at 0 day of incubation, the use of bio-products both in liquid and powder form could reduce more than (-) 90% of the initial concentration of carbaryl with the remaining value between 0.02 to 0.08 mg/kg. The use of only powder bio-product gave the highest reduction of chlorpyrifos, (-) 82.7%. The treatments that gave the lowest reduction of cypermethrin were the use of only powder bio-product or with liming. The two treatments could reduce the amount of cypermethrin to the lowest values of 1.19 and 1.22 mg/kg with the decrease in percentage of (-) 60.3 and (-) 59.3%, respectively. At 30 days after incubation, the results of effectiveness evaluation of liquid bio-product showed that liming and blending with liquid bio-product of bacterial isolate 17, gave the lowest reduction of Cd and As with the reduced values of (-) 35.9 and (-) 39.1%, respectively. Pesticides analysis indicated that the same treatment gave the lowest reduction of cypermethrin, chlorpyrifos and carbaryl with the values of (-) 92.7, (-) 82.0 and (-) 99.0%, respectively. The same trend was found with the powder bio-product. The highest effectiveness was found with liming plus powder bio-product of bacterial isolate 17 but with higher reduced values of Cd and As; (-) 45.0 and (-) 58.5%, respectively. The results of pesticides analysis indicated that the use of only powder bio-product or together with liming could reduce similar amount of cypermethrin with the reducing percentage of (-) 93.7 and (-) 93.0%, respectively. The amount of chlorpyrifos and carbaryl were reduced in all the treatments. The highest reduction of chlorpyrifos and carbaryl were found with the use of powder bio-product plus liming with the reduced values of (-) 88.3 and (-) 99.3%, respectively. Effectiveness determination of liquid and powder bio-products indicated that, on the average, the powder form of bio-product showed a better tendency to reduce the two heavy metals; Cd and As, and three types of pesticides; cypermethrin, chlorpyrifos and carbaryl, than the liquid form. In addition, the results of this experiment suggesting that pH adjustment had the influences on change and degradation of heavy metal and pesticides.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ลดความเป็นพิษของสารตกค้างในดิน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาและพัฒนาต้นแบบชีวภัณฑ์ลดความเป็นกรดและความเป็นพิษโลหะหนักาซินิคในดินบนพื้นที่สูง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 6 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ลดความเป็นพิษของสารตกค้างในดิน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 4 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงและสารไล่แมลงเพื่อควบคุมหนอนแมลงวันเจาะลำ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์สำหรับอบฆ่าเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชในดิน โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจบนพื โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาและพัฒนาต้นแบบชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคขอบใบไหม้กะหล่ำปลีและใบจุดตากบผักกาดหอมห่อบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก