สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบล
พรพรรณ สุทธิเรืองวงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรพรรณ สุทธิเรืองวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นันทวรรณ สโรบล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล จากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องรวม 4 ส่วน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์สภาพพื้นที่การเกษตรและเกษตรกร ความสามารถของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลในการแก้ปัญหาการพัฒนาการเกษตร ความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน่วยงาน และความรู้สึกมั่นคงต่อการมีสภาพโอกาสและความยุติธรรมในหน่วยงานของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล และวิเคราะห์อิทธิพลขององค์ประกอบดังกล่าวที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ประชากรที่ทำการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ใช้วิธีเก็บตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 350 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเปอร์เซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสรุปลักษณะทั่วไปของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลที่ศึกษา และใช้วิธีการสถิติอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple correlation coefficient) เพื่อวิเคราะห์ระดับและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression Analysis) โดยวิธีแบบกำหนดตัวแปรอิสระเข้าสมการทั้งหมด เพื่ออธิบายกลุ่มตัวแปรอิสระและลำดับความสำคัญของตัวแปรอิสระและลำดับความสำคัญของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม และอธิบายชุดตัวแปรอิสระ ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลที่เป็นตัวอย่างศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 81.2 เป็นชาย มีอายุราชการในกรมส่งเสริมการเกษตรมานานไม่ต่ำกว่า 5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.3 เป็นเจ้าหน้าที่ระดับ 5 รองลงมาร้อยละ 8.3 และ 9.4 เป็นเจ้าหน้าที่ระดับ 6 และ 4 ตามลำดับ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 67.7 ปวส. ร้อยละ 27.7 และ ปวช. ร้อยละ 4.6 เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลส่วนใหญ่ร้อยละ 96 เป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่ตนปฏิบัติงาน การประเมินประสิทธิภาพในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง จำนวนเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลส่วนใหญ่ร้อยละ 75.4 มีประสิทธิภาพในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 21.7 มีประสิทธิภาพสูง และร้อยละ 2.9 มีประสิทธิภาพต่ำถึงต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบอิทธิพลขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์พื้นที่การเกษตรและเกษตรกร ความสามารถของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลในการแก้ปัญหาการพัฒนาการเกษตร ความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน่วยงานของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล และความรู้สึกมั่นใจต่อการมีสภาพโอกาสและความยุติธรรมในหน่วยงานของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล พบว่าความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์สภาพพื้นที่การเกษตรและเกษตรกร มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลเป็นอันดับที่หนึ่ง มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (Standardized regression coefficient) เท่ากับ 0.60 รองลงมาได้แก่ ความสามารถของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลในการแก้ปัญหาการพัฒนาการเกษตร ความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน่วยงาน และความรู้สึกมั่นคงต่อการมีสภาพโอกาสและความยุติธรรมในหน่วยงานของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานเท่ากับ 0.43 0.14 และ 0.13 ตามลำดับ และองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน สามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิภาพในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลได้ 75.5% เนื่องจากผลการพิสูจน์สมมติฐานเกี่ยวกับอิทธิพลขององค์ประกอบที่ใช้วัดประสิทธิภาrพใน การจัดแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ที่เปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพพื้นที่การเกษตรและเกษตรกร และความสามารถในการแก้ปัญหาการพัฒนาการเกษตรมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในระดับสูงกว่าองค์ประกอบทางด้านความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน่วยงาน และความรู้สึกมั่นคงต่อการมีสภาพโอกาสและความยุติธรรมในหน่วยงาน ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลจึงควรพิจารณาจากประเด็นที่ทำให้ประสิทธิภาพการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลลดลง โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์ สภาพพื้นที่การเกษตรและเกษตรกร และความสามารถในการแก้ปัญหาพัฒนาการเกษตรเป็นหลัก ซึ่งจะมีความเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่การลำดับขั้นตอน และการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการเกษตรตามลักษณะการจำแนกเกษตรกรที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดไว้ ตลอดจนการวางแผนการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพที่พบในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง ผลจากการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) ควรจัดการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลในหลักสูตรการวางแผนและจัดทำโครงการ และหลักสูตรการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อเพิ่มทักษะในการวางแผนการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของเกษตรกร และเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาได้ตรงตามความต้องการของเกษตรกร (2) ควรมีการติดตามและนิเทศงานจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน/โครงการจากส่วนกลางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ได้ร่วมกันประเมินแผนงาน/โครงการ ตลอดจนปรับแนวทางหรือเงื่อนไขของการปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับแผนการเกษตรที่เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลกำหนดไว้ (3) กรมส่งเสริมการเกษตรควรทบทวนหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้านปัจจัยการผลิตที่สนันสนุนการใช้เทคโนโลยี เช่น สินเชื่อ ตลาด เป็นต้น ด้านผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีทั้งในด้านผลผลิต รายได้ และในด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาลู่ทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสม ทันสมัย และสนองตอบต่อความต้องการของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร เนื่องจากในปัจจุบันงานส่งเสริมการเกษตรจะมีลักษณะการพัฒนาอาชีพแบบครบวงจรพร้อมกับพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในการจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบล
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงหนือ สภาพการใช้สื่อในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ความต้องการสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ความต้องการเอกสารเผยแพร่เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันออก การใช้สื่อของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย ประสิทธิภาพในการใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเกษตรตำบลในจังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดในเขตที่ 1 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอจังหวัดมหาสารคาม การปฎิบัติงานส่งเสริมประมงและปศุสัตว์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก