สืบค้นงานวิจัย
ผลของเมลามีนในอาหารต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ละอองแก้ว ยะพลหา, เพ็ญศรี เมืองเยาว์, รุ่งทิวา แพงมี, นงลักษณ์ สำราญราษฎร์, สุพิศ ทองรอด, ละอองแก้ว ยะพลหา, เพ็ญศรี เมืองเยาว์, รุ่งทิวา แพงมี, นงลักษณ์ สำราญราษฎร์, สุพิศ ทองรอด - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของเมลามีนในอาหารต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Melamine in Feed on Growth and Histopathological change of seabass ( Lates calcarife , Bloch, 1790 )
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลของเมลามีนในอาหารต่อการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลง พยาธิสภาพในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) นงลักษณ์ สำราญราษฎร์ ๑* เพ็ญศรี เมืองเยาว์ ๒ สุพิศ ทองรอด๓ รุ่งทิวา แพงมี๑ และละอองแก้ว ยะพลหา ๑ ๑สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำชายฝั่ง ๒ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ๓ บริษัทไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บทคัดย่อ การศึกษาผลของเมลามีนในอาหารต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพในปลากะพงขาว โดยให้อาหารทดลองที่เติมเมลามีน 4 ระดับ ได้แก่ 0, 5, 50 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร ระดับละ 3 ซ้ำ แก่ปลากะพงขาวขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 1.57?0.01 กรัม ในถังไฟเบอร์กลาสก้นกรวยขนาดความจุ 150 ลิตร ใส่น้ำ 100 ลิตร ใส่ปลาถังละ 20 ตัว ให้กินอาหารจนอิ่ม วันละ 3 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการทดลองระยะเวลา 10 สัปดาห์ พบว่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่มของปลาในชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 257.70 ? 18.22 เปอร์เซ็นต์ มีค่าไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (P>0.05) กับปลาในชุดการทดลองที่ 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 268.09 ? 17.44 เปอร์เซ็นต์ แต่มีค่าต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยของปลาในชุดการทดลองที่ 1 และ 2 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 355.97 ? 22.31 และ 318.27 ? 25 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ (P0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 96.67 ? 5.77, 96.67 ? 5.77, 95.00 ? 0.00 และ 95.00 ? 5.00 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ขณะที่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาในชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.74 ? 0.13 มีค่าสูงกว่าชุดการทดลองที่ 1 และ 2 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.10 ? 0.09 และ 1.25 ? 0.17 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) กับชุดการทดลองที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.56 ? 0.19 ขณะที่ชุดการทดลองที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.25 ? 0.17 มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับชุดการทดลองที่ 1 และ 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.10 ? 0.09 และ 1.56 ? 0.19 ตามลำดับ แต่การศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อของไต ม้าม ลำไส้ กล้ามเนื้อ และตับ ของปลาที่ได้รับอาหารเติมเมลามีนทุกชุดการทดลอง คำสำคัญ : เมลามีน ปลากะพงขาว การเจริญเติบโต พยาธิสภาพ *ผู้รับผิดชอบ: ๔๑/๑๔ หมู่ ๙ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๑๐โทร. ๐ ๓๘ ๓๑ ๒๕๓๒ e-mail: nsamranrat@yahoo.com
บทคัดย่อ (EN): Effect of Melamine in Feed on Growth and Pathological Changes of Seabass (Lates calcarifer Bloch, 1790) Nonglak Samranrat 1* Pensri Muangyao2 Supis Thongrod3 Rungtiwa Paengmee1 and Laongkeaw Yaponha1 1 Coastal Aquatic Feed Research Institute 2 Coastal Aquaculture Research Institute 3 Thai Union Feedmill Company Effects of melamine added in feed on growth, survival rate, feed conversion ratio and pathological changes in Seabass (Lates calcarifer Bloch, 1790) were studied. Four experiment diets containing melamine at 0, 5, 50 and 500 mg/kg diet were fed three times daily to the fish with initial average body weight of 1.57 ? 0.01 g in three replication in 150 liter in fiberglass tanks for 10 weeks. At termination, results showed that the percentage weight gain of the fish in treatment 4 that was 257.70 ? 18.22 % was not significantly different (P>0.05) from that (268.09 ? 17.44 %) of the fish in treatment 3, but significantly different (P0.05). While the average feed conversion ratios of the fish in treatment 4 that was 1.74 ? 0.13 significantly different (P0.05) from that (1.56 ? 0.19) of the fish in treatment 3. However, no pathological changes were found in the in kidney, spleen, liver, intestines and muscle of the fish in all 4 treatments. Keywords : melamine, Seabass, growth, pathology *Corresponding author: 41/14 Moo 9 Bangpra Sub-district, Sriracha District, Chonburi Province 20110. Tel. 0 3831 2532 e-mail: nsamranrat@yahoo.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของเมลามีนในอาหารต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
กรมประมง
31 มีนาคม 2552
กรมประมง
ผลของความถี่การให้อาหารสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของปลากะพงขาว, Lates calcarifer (BLOCH) ที่เลี้ยงในกระชังให้ได้ขนาดตลาด ผลของเมลามีนในอาหารต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพในกุ้งกุลาดำ(Penaeus monodon Fabricius,1798) การเปลี่ยนแปลงลักษณะพยาธิสภาพเหงือกของปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ที่เกิดจากโคพีพอด Lernanthropus sp. และกลุ่มโมโนจีเนีย Diplectanum sp. ผลการเสริมโปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งในอาหารสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ผลของแร่ธาตุสังกะสี ต่อการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน ความต้านทานโรค และพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อในปลานิลแดงแปลงเพศ (Oreochromis niloticus x O. mossambicus) ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ผลของอาหารที่ใช้โปรตีนจากพืชเป็นแหล่งโปรตีนต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และคุณค่าทางโภชนาการของกุ้งขาว Litopenaeus vannamei (Boone, 1931) กุ้งกุลาดํา Penaeus monodon (Fabric ผลการใช้สารสกัดขมิ้นชันต่อการเจริญเติบโต พยาธิสภาพเนื้อเยื่อ และการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในกุ้งก้ามกราม ผลของสารพิษเมลามีนต่อสมรรถนะการผลิต ภูมิคุ้มกัน และพยาธิสภาพเนื้อเยื่อของไก่เนื้อ การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก