สืบค้นงานวิจัย
การประเมินและการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มความก้าวหน้าของการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง
เฉลิมพล ภูมิไชย์ - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: การประเมินและการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มความก้าวหน้าของการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง
ชื่อเรื่อง (EN): Cassava germplasm evaluation and enhancement to increase progress toward cassava breeding
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เฉลิมพล ภูมิไชย์
คำสำคัญ: มันสำปะหลัง ประเมิน เชื้อพันธุกรรม ผลผลิต ปริมาณแป้ง คุณสมบัติเคมีกายภาพแป้ง
คำสำคัญ (EN): ไม่มีข้อมูล
บทคัดย่อ: แหล่งพันธุกรรมมันสำปะหลัง เป็นสิ่งสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านลักษณะและความหลากหลายของสายพันธุ์มันสำปะหลัง ทำให้การปรับปรุงพันธุ์มีความก้าวหน้าช้า ทั้งนี้ โครงการวิจัยจึงได้วางแผนดำเนินงานวิจัยสร้างความเข็มแข็งในงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยการสร้างแหล่งเชื้อพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะเฉพาะ โดยเริ่มวางแผนนำเข้าเชื้อพันธุกรรมที่มีประโยชน์ด้วยการปรึกษากับนักปรับปรุงพันธุ์ชื่อ Dr.Hernan Ceballos ประจำ International Center for Tropical Agriculture (CIAT) ในครั้งที่มาเยือนประเทศไทยตั้งแต่ 2555 และได้นำเข้าเชื้อพันธุกรรมใหม่มาแล้ว 21 โคลนที่มีความต้านทานโรคต่าง ๆ และคุณสมบัติทางโภชนะที่ดี เพื่อนำเข้าลักษณะใหม่ที่มีประโยชน์เข้ามาใช้ปรับปรุงให้กับพันธุ์มันสำปะหลังไทย การใช้ประโยชน์ของเชื้อพันธุกรรมใหม่และที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องมีการประเมินลักษณะทางเกษตร ทางสัณฐานวิทยา การออกดอก และทางคุณสมบัติเคมีกายภาพของแป้งมันสำปะหลัง เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่จะนำมาใช้คัดเลือกคู่ผสมสำหรับสร้างลูกผสมใหม่ให้ลักษณะที่ดีทางการเกษตร หรือมีสมบัติเคมีกายภาพของแป้งที่เป็นทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมแป้งได้มากขึ้น ที่ผ่านมา การประเมินเชื้อพันธุกรรมยังขาดการวางแผนเก็บข้อมูลที่ละเอียดชัดเจน เช่น เน้นการเก็บข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยา แต่ขาดข้อมูลด้านผลผลิต เปอร์เซ็นต์แป้ง การออกดอก โดยเฉพาะไม่มีข้อมูลด้านสมบัติเคมีกายภาพแป้ง ในโครงการวิจัยนี้ คณะวิจัยจะทำการประเมินเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังที่ได้นำเข้าจาก CIAT และที่มีเก็บรักษาไว้ในประเทศไทย ในระดับแปลงทดลองภาคสนาม (เป็นตัวอย่างมันสำปะหลังที่เก็บรักษาสำรองไว้จากศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง และที่ได้มาจาก CIAT แต่เก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เพื่อนำข้อมูลที่ได้สร้างเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังให้มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นหรือเป็นทางเลือกให้อุตสากรรมได้มากขึ้น รวมทั้ง จะเป็นการสร้างฐานข้อมูลคุณสมบัติเคมีกายภาพแป้งมันสำปะหลังของเชื้อพันธุกรรมที่รวบรวมไว้ในโครงการ ที่ประกอบด้วย สมบัติแป้งเปียกหรือการเกิด gelatinization และแนวโน้มการเกิดเจลหรือแป้งเปียกจะเริ่มจับตัวเป็นก้อน (retrogradation/ setback) นอกจากนี้ โครงการวิจัยจะศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมในรูปของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเก็บสำรองไว้อีกหนึ่งแหล่ง หากเกิดความเสียหายต่อเชื้อพันธุกรรมที่ปลูกในแปลง</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินและการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มความก้าวหน้าของการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2561
อาหารจากมันสำปะหลัง มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" การเพิ่มโปรตีนของมันสำปะหลังโดยใช้น้ำกากผงชูรสเพื่อใช้เป็นอาหารโค สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน สภาวะที่เหมาะสมต่อการวัดปริมาณไชยาไนด์อิสระในมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก