สืบค้นงานวิจัย
การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่อง (EN): Supply chain management of organic rice production of Tabthai organic cooperatives in Thamo sub-district, Prasat district, Surin province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Benchamas Yooprasert
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิก (2) ความรู้ความเข้าใจ ของสมาชิกเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ (3) การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิก (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มสหกรณ์ เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 64 ราย และประธานกลุ่ม 1 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม 2559 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกมีประสบการณ์ทำนาอินทรีย์ เฉลี่ย 7.78 ปี ได้รับการฝึกอบรมด้านการผลิตข้าวอินทรีย์ และได้รับความรู้จากสื่อต่างๆ ในระดับมาก มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.06 คน มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 15.41 ไร่ พื้นที่ทำนาอินทรีย์ เฉลี่ย 14.81 ผลผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 382.81 กิโลกรัม ต่อไร่ มีรายได้จากการทำนาอินทรีย์เฉลี่ย 5,564.45 บาทต่อไร่ และรายจ่ายจากการทำนาอินทรีย์เฉลี่ย 840 บาทต่อไร่ (2) สมาชิกทั้งหมด มีความรู้ความเข้าใจการจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ในระดับมาก (3) สมาชิกมีการจัดการโซ่ อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ ต้นน้ำ ในระดับมากที่สุด มีการจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ กลางน้ำ ในระดับมากที่สุด และมีการจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ ปลายน้ำ ในระดับปานกลาง 4) สมาชิกมีปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำและระบบชลประทาน สถานที่รับซื้อข้าวอินทรีย์มีน้อย ขาดเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวอินทรีย์ จึงเสนอแนะว่าหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว การศึกษาโอกาสทางการตลาดและผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อ (EN): The objectives of the study were to investigate the following: (1) the socio-economic background of the members; (2) the members’ perception about supply chain management of organic rice production (3) supply chain management of organic rice production of the members; and (4). problem and suggestions of the members on managing the supply chain of organic rice production. The population were 64 members and the chairman of Tabthai Organic Cooperatives Ltd. in Thamo Sub-District, Prasat District, Surin Province. Data were collected during June-July 1016 through interviews using questionnaires. Data were analyzed using frequencies, means, percentages, minimum, maximum, and standard deviation. The results showed that: (1) the members had 7.78 years of organic rice production experience on average. Had been trained in organic rice production. They received knowledge from various media at a high level. Their average household labors was 2.06, their average agricultural land holding was 15.41 rai which 14.81 rai was used for organic rice production. Their organic rice production yield was 382.81 kg/rai on average, their average income and expenses from organic rice farming were 5564.45 baht/rai and 840 baht/rai respectively. (2) All members had a high level of perception about supply chain management of organic rice production. (3) Members had managed the supply chain of organic rice production to the highest level in the upstream and midstream, but to a moderate level in the downstream. (4) Some problems in supply chain management of organic rice production were inadequacy of water resources and irrigation systems, few channel of organic rice distribution, lack of technology in value added of organic rice production. Based on the result, it was suggested that accomplice sectors should provide technological support to add value of organic rice, marketing opportunities and product should be studied.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P155 Ags13.pdf&id=2867&keeptrack=13
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ต.ทมอ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มิถุนายน - กรกฎาคม 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2560
เอกสารแนบ 1
การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ การส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ตำบลตั้งใจ อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวเคมีในจังหวัดสุรินทร์ การผลิตข้าวอินทรีย์ปี 2546 ของเกษตรกรตำบลเกาะ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าวเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อบูรณาการ การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์จังหวัดบุรีรัมย์ การประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่ากับการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการย่อยที่2 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักจากกากมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวแบบอินทรีย์ ในกลุ่มเกษตรกร รายย่อยของอําเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ปี 2547 จังหวัดศรีสะเกษ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก