สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาป่านิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรสมุนไพรอย่างยั่งยืน
ผศ. ดร.สันติ วัฒฐานะ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาป่านิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรสมุนไพรอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Community Forest of Sufficiency Estate Amphur Wangnumkaew, Nakhon Ratchasima for Sustainable Conservation of Herbs and their Resource Base
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผศ. ดร.สันติ วัฒฐานะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Assoc. Prof.Santi Wattatana
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รศ. ดร.หนูเดือน เมืองแสน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Asst. Prof. Dr.Nooduan Muangsan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การพัฒนาป่าเพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์พืชสมุนไพรในธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นในยุคที่มนุษย์ครองโลก เนื่องจากพื้นที่ป่าธรรมชาติกำลังลดลง และต้องการการทำงานแบบบูรณาการโดยมีชุมชนเป็นส่วนร่วม ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ บัญชีรายชื่อพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาในท้องถิ่น และการสร้างความตระหนักให้กับคนในท้องถิ่นหวงแหนทรัพยากรของตนเองและใช้อย่างยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ให้ความสำคัญกับพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ชุมชนร่วมกันรักษา และพื้นที่ป่าวนเกษตรที่เกษตรกรสนใจพืชสมุนไพร โดยทำการสำรวจชนิดพืชสมุนไพรที่พบ และภูมิปัญญาจากปราชญ์ในท้องถิ่น รวมถึงการทดลองรวบรวมพืชสมุนไพรมาปลูกรวบรวมร่วมกับชุมชน และการทำเส้นทางศึกษาสมุนไพรและพรรณไม้ในพื้นที่หย่อมป่า ในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ป่า 80 ไร่ สำรวจพบพันธุ์ไม้ 136 ชนิด พืชวงศ์เด่นได้แก่ วงศ์ถั่ว (Fabaceae: 23 ชนิด) รองลงมาคือ วงศ์เข็ม (Rubiaceae: 7 ชนิด) เป็นพืชสมุนไพรโดยการนำชื่อวิทยาศาสตร์ตรวจสอบกับเอกสารทางวิชาการพืชสมุนไพรที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ พบพืชสมุนไพรในพื้นที่นี้ 114 ชนิด (83.8%) ชนิดที่เป็นสมุนไพรโดยภูมิปัญญาของปราชญ์พื้นบ้านมีจำนวน 69 ชนิด สังคมพืชเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดิบแล้ง มีโมกมันเป็นพืชเด่น แต่พบบริเวณที่เป็นป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์อยู่เป็นหย่อมในพื้นที่ (แปลงที่ 3) ส่วนการสำรวจพืชสมุนไพรในแปลงวนเกษตรจำนวน 6 ไร่ พบพืชสมุนไพร 152 ชนิด เนื่องจากเกษตรกรเป็นผู้สนใจพืชสมุนไพร จึงนำมาปลูกในพื้นที่วนเกษตรของตน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมุนไพรโดยชุมชน ส่วนการทดลองรวบรวมพืชสมุนไพรปลูก 47 ชนิด พบว่าในปีแรก มีอัตราการรอด 80-100% และการทดลองทำเส้นทางศึกษาพืชสมุนไพรในพื้นที่ 80 ไร่ ผู้ทดลองใช้เส้นทางมีความพึงพอใจในระดับดีถึงดีมาก ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาธนาคารพืชสมุนไพรระดับชุมชนต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Forest development for in situ medicinal plant conservation is needed in Anthropocene, due to deforestation. The integrated activities from relevant sectors especially community is also needed. Indeed, it requires the basic information such as inventory list of medicinal plants and educated local people to sustainably conserve their natural resources. This study focuses on destroyed forest fragments which local community is interested and their agroforestry areas by checking species occurrence, gathering local wisdom knowledge and cultivating selected medicinal plant species in the common area of community, as well as providing natural trail for medicinal plant study in the conserved area. There are 136 plant species, dominated by Fabaceae (23 spp.) and Rubiaceae (7 spp.) in the 80 Rais conserved area. Among those, 114 spp. (83.8%) were recorded as medicinal plants referring from previous reports and 69 spp. were included local wisdom knowledge of local medicinal plant knowledgeable people. The plant community is dry evergreen-mixed deciduous forest with Wrightia arborea as dominant species. However, there was a rather abundant dry evergreen forest as clump in the area (studied plot 3). For medicinal plant listing, there are 152 spp. because the farmers have been interesting in medicinal collection. Indeed, it is a kind of ex situ conservation in the community. Moreover, a try on medicinal garden for species collection with 47 selected species had 80-100% survival rate in the first monitored year. While, the natural trail for medicinal plants in conserved area was well satisfied by users. The information of this study could be used to develop the community biobank in the future.
ชื่อแหล่งทุน: สำนักงบประมาณ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 357,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาป่านิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรสมุนไพรอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
2562
เอกสารแนบ 1
การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เปรี้ยวแดง (Begonia alicida C. B. Clarke) อย่างยั่งยืน การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนายาสมุนไพรเพื่อสุขภาพจากตำรับยาสมุนไพรของชาวไทยใหญ่และ ชาวเขาชนเผ่าต่างๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ สมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน: หูเสือ เวชสำอางสมุนไพร มิติใหม่ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนมีส่วนร่วมในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นด้านผลิตปศุสัตว์ต่อ เศรษฐกิจชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก