สืบค้นงานวิจัย
วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ธานินทร์ ชัชวัชวิมล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธานินทร์ ชัชวัชวิมล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักโดยวิธีผสมผสานในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักโดยวิธีผสมผสานในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรและศึกษาปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ดำเนินการศึกษาโดยสัมภาษณ์ข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจำนวน 10 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี จังหวัดละ 1 กลุ่ม รวม 10 กลุ่ม เกษตรกรที่ศึกษาและเก็บข้อมูลจำนวน 225 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 - 60 ปี จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 แรงงานในครอบครัวที่ใช้ในการปลูกผักเฉลี่ย 2.58 คน มีพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกผักเฉลี่ยครอบครัวละ 1.26 ไร่ ลักษณะการปลูกผักของเกษตรกรจะปลูกผักตลอดทั้งปี ใช้แหล่งน้ำจากบ่อน้ำสาธารณะ ชนิดผักที่เกษตรกรปลูกเฉลี่ย 4.42 ชนิด มีผักกินใบและผักกินผล รายได้ของครอบครัวเกษตรกรเฉลี่ย 40,978.84 บาท / ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เคยได้รับการถ่ายทอดความรู้จากเจ้าหน้าที่ในเรื่องการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ วิธีการจำหน่ายผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรจะให้พ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อ และขายตามราคาผักในท้องตลาด ราคาขายเท่ากับราคาผักทั่วไป การเตรียมดินจะใช้รถไถและรถไถเดินตาม ไถพลิกหน้าดินเพื่อตากดินนาน 7 - 10 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 201 - 400 กิโลกรัม / ไร่ ไม่ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ ไม่คลุกเมล็ดพันธุ์เพื่อควบคุมโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง สูตร 15 - 15 - 15 และ 46 - 0 - 0 มีการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมด้วย และมีการสำรวจศัตรูพืช 4 ครั้ง / เดือน ศัตรูพืชที่สำคัญได้แก่ หนอนกระทู้ผัก ด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก กำจัดวัชพืชด้วยมือหรือใช้แรงงานคน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่รู้จักตัวห้ำ ตัวเบียน ไม่ใช้กับดักกาวเหนียว ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง 1 - 2 ครั้ง ต่อการปลูกผัก 1 ฤดู สารเคมีกำจัดแมลงที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ methylparathion ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ใช้พืชสมุนไพรในการควบคุมศัตรูพืช 3 - 4 ครั้งต่อฤดู ได้แก่ สะเดา หางไหล ตะไคร้หอม สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อ ไวรัส NPV เชื้อ Bt และไส้เดือนฝอย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ใช้ ผู้ที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ไม่ถูกต้อง ผลการใช้เกษตรกรพึงพอใจและมั่นใจปานกลาง ด้านปัญหาและอุปสรรคในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร คือ ปัญหาเรื่องโรคแมลงศัตรูพืชผัก ราคาผักไม่ดี หาซื้อผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ได้ยาก ไม่มีสถานที่จำหน่ายผักปลอดภัยจากสารพิษ และเกษตรกรได้เสนอแนะคือ ต้องการให้เจ้าหน้าที่มาถ่ายทอดความรู้บ่อย ๆ ต้องการให้ทางราชการสนับสนุนสารชีวภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และต้องการมีสถานที่จำหน่ายผักปลอดภัยจากสารพิษ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี เทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักโดยวิธีผสมผสานในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร : กรณีศึกษา บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก