สืบค้นงานวิจัย
การปลดปล่อยคาร์บอนและแก๊สเรือนกระจกจากการผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี และนครราชสีมา
ณัฐวุฒิ ธานี, สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล, ประยงค์ กีรติอุไร, ปาณิสรา วิชัยรัตนตระกูล, คำจันทร์ บำรุงนอก - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: การปลดปล่อยคาร์บอนและแก๊สเรือนกระจกจากการผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี และนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Carbon massflow and greenhouse gases emission from livestock productions in Thailand: case study of Chonburi Prachin Buri and Nakhon Rachasima provinces
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: สภาวะเรือนกระจกก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหานี้คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และ มีเทน การทาปศุสัตว์โดยเฉพาะการใช้พลังงานสาหรับการเลี้ยง เพื่อการผลิตเนื้อ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มปริมาณแก๊สเหล่านี้ ในชั้นบรรยากาศ ดังนั้นจึงควรศึกษาเพื่อพัฒนาค่าการปลดปล่อยคาร์บอนจากการทาฟาร์ม การศึกษาครั้งนี้เลือกศึกษาสุกร และ แพะเพื่อศึกษาอัตราการถ่ายเทมวลคาร์บอนจากพืชอาหารสัตว์ไปสู่สัตว์ทั้งสองชนิด โดยการกิน การศึกษาอัตราการปลดปล่อยปริมาณคาร์บอนจากการใช้พลังงานที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตเนื้อ จากการทาฟาร์มปศุสัตว์ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดปราจีนบุรีใน พ.ศ. 2556 กระทาโดยสำรวจเก็บข้อมูลจากฟาร์ม และโรงฆ่าสัตว์ในจังหวัดนครราชสีมา 32 อำเภอและ 6 กิ่งอำเภอ (จะรวมเรียกเป็น 32 อำเภอ) จังหวัดชลบุรี 11 อำเภอ จังหวัดปราจีนบุรี 7 อำเภอ ตัวอย่างความหนาแน่นของฟาร์มปศุสัตว์ในแต่ละอำเภอ การวิเคราะห์ตัวอย่างพืชอาหาร มูลสัตว์ และเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการ การศึกษาเปรียบเทียบค่าการปลดปล่อยคาร์บอนต่อวันจากสัตว์ทั้งสองชนิดต่างกัน โดยเทียบจากน้ำหนักสัตว์ที่เท่ากันในหน่วยกิโลกรัมคาร์บอนต่อกิโลกรัมน้ำหนักสัตว์ต่อวัน (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) ผลการศึกษาพบว่าแพะมีค่าการปลดปล่อยคาร์บอนต่อวันสูงกว่าสุกร คือ 4.02 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) และ 2.78 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) ตามลำดับ ค่าการถ่ายเทมวลคาร์บอนที่น้ำหนักสัตว์ที่เท่ากันแพะมีค่ามากกว่าสุกรคือ 31.73 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) และ 9.53 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) ค่าการปลดปล่อยคาร์บอนที่น้ำหนักสัตว์ที่เท่ากันแพะมีค่ามากกว่าสุกรคือ 9.63 x 10-3 (กก.C/กก.นน.สัตว์/วัน) และ 2.78 x 10-3 (กก.C/กก.นน.สัตว์/วัน) ค่าการตรึงคาร์บอนที่น้ำหนักสัตว์ที่เท่ากันแพะมีค่ามากกว่าสุกรคือ 19.57 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) และ 6.48 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) การปลดปล่อยคาร์บอนส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบของการใช้พลังงานทั้งในฟาร์มปศุสัตว์และโรงฆ่าสัตว์ ค่าการปลดปล่อยคาร์บอนจากพลังงานภายในฟาร์ม และโรงฆ่าสัตว์ ภายในฟาร์มแพะมีค่ามากกว่าฟาร์มสุกรคือ 9.29 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) และ 8.25 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) ) ตามลาดับ ภายในโรงฆ่าสัตว์สุกรมีค่ามากกว่าโรงฆ่าแพะคือ 30.41 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) และ 24.29 x 10-3 (กก.คาร์บอน/กก.นน.สัตว์/วัน) ตามลำดับ ส่วนการศึกษาอัตราการถ่ายเทมวลคาร์บอนทั้งหมดจากอาหารไปสู่สัตว์ทั้งสองชนิดด้วยการกิน แล้วมาสะสมเป็นร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งขับถ่ายของสัตว์ในช่วงระยะเวลาของการเลี้ยง ซึ่งจากการเปรียบเทียบผลการศึกษาประสิทธิภาพการตรึงคาร์บอนพบว่า สุกรมีประสิทธิภาพการตรึงปริมาณคาร์บอนจากอาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงสุกรมาสะสมไว้ในร่างกายได้มากถึง 70.81% ในขณะที่แพะมีประสิทธิภาพในการตรึงคาร์บอนจากอาหารสัตว์ต่ำกว่าคือ 69.65% ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกันระหว่างสุกร และแพะ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบร้อยละของสัดส่วนปริมาณคาร์บอนที่ถูกปลดปล่อยต่อปริมาณคาร์บอนจากอาหารที่ถ่ายเทไปสู่สัตว์แต่ละชนิดที่ทาการศึกษาโดยการกินพบว่าปริมาณคาร์บอนในอาหารสัตว์บางส่วนที่เหลือจากการตรึงจะถูกปลดปล่อยออกมาโดยมีส่วนในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากตัวแพะ เท่ากับ 30.53% และสุกร 29.19% ตามลาดับ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าในแต่ละวันสุกร 1 ตัว มีความสามารถในการปลดปล่อยคาร์บอนออกจากร่างกายได้น้อยกว่าแพะเมื่อเทียบจากปริมาณคาร์บอนที่กินเข้าไปเท่ากัน ดังนั้นสุกรจึงมีส่วนทาให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในแง่ของการปลดปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าแพะ
บทคัดย่อ (EN): One of the environmental threats that our planet faces today is the greenhouse effect. The important greenhouse gases including carbon dioxide (CO2), nitrogen oxide (NOx) and methane (CH4) cause global warming. Livestock production is a cause which releases CO2 and CH4 to the atmosphere. Swine (monogastric animals) and goats (small ruminant animals) that are raised for their meat and all produce the emissions of both CO2 and CH4. Therefore, it is important to determine carbon emitted factors, to investigate the rate of carbon massflow from plants to swine and goats, and to study the carbon emission in energy patterns that are used in meat production from these farms and slaughterhouses. The research was conducted in 26 districts and 6 sub-communes in Nakhon Ratchasima, 11 districts in Chonburi, and 7 districts in Pragineburi provinces. Samples of grass and food used for feeding in meat production and the feces produced were collected and transferred to the laboratory for analysis. The results revealed that the carbon emitted per living weight from swine and goats were 4.02 x 10-3 and 2.78 x 10-3 kg. C/kg. living weight/day. The rate of carbon massflow from grass and animal feed (C-input) of goats was higher than swine at 31.73 x 10-3 and 9.53 x 10-3 kg. C/kg. living weight/day. Carbon emission (C-emission) of goats was higher than swine at 9.63 x 10-3 and 2.78 x 10-3 kg. C/kg. living weight/day. Carbon fixation (C-fixation) in goats and swine were 19.57 x 10-3 and 6. 48 x 10-3 kg. C/kg. living weight/day, respectively. The carbon emitted from goat meat productions increased higher the environmental problems than swine meat productions because the study also showed that the performance comparison of carbon fixation [ (Cinput – Cemission) / Cinput] of goats and swine were 69.65% and 70.81%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปลดปล่อยคาร์บอนและแก๊สเรือนกระจกจากการผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี และนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2555
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร แนวทางการใช้สมุนไพรในปศุสัตว์ประเทศไทย แนวโน้มการผลิตพืชอาหารสัตว์อีก 5 ปีข้างหน้า KM ในประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต การหาค่าการปลดปล่อยเฉพาะของประเทศไทย ภาคปศุสัตว์ การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัสAvian Influenza A จากสัตว์ปีกในประเทศไทย การศึกษาการผลิตอาหารสุนัข ปริมาณใบหม่อนที่ผลิตได้ในศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2523 ถึงเดือนมกราคม 2524 การผลิตน้ำยาขนมจีนกึ่งสำเร็จรูป การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เพื่อประกอบในการพิจารณากำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษสำหรับข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก