สืบค้นงานวิจัย
ทัศนคติของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศรีสอางค์ ศรีอรุโณทัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีสอางค์ ศรีอรุโณทัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องทัศนคติของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความคิดเห็นของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืช ทราบแหล่งเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกในปี 2539 และเพื่อทราบความคิดเห็นของเกษตรกรต่อมาตรฐานความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชผลิต ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สอบถามความคิดเห็นด้านการใช้เมล็ดพันธุ์ คุณภาพและมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ สัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 300 ราย จากจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธุ์และสกลนคร แล้วทำการบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้โปรแกรม SPSS หาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้ไคว์สแควร์ (Chi-square) สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 1. เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 70.0 ส่วนใหญ่อายุ 31 ปีขึ้นไปเป็นเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ร้อยละ 60.0 การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาร้อยละ 88.7 ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ยครอบครัวละ 22.0 ไร่ ส่วนใหญ่ทำการปลูกพืชมากกว่า 1 ชนิด ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน โดยจะปลูกข้าวเป็นพืชหลัก รายได้ของเกษตรกรในปี 2539 เฉลี่ย 34,595.22 บาท 2. เกษตรกรร้อยละ 91.6 ใช้เมล็ดพันธุ์จากการซื้อจากศูนย์ขยายพันธุ์พืช โดยตัดสินใจซื้อจากศูนย์ขยายพันธุ์พืชเป็นอันดับแรก ร้อยละ 65.3 และเกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองร้อยละ 71.0 โดยเลือกการเก็บเมล็ดพนธุ์ไว้ใช้เองเป็นอันดับแรกร้อยละ 30.0 เกษตรกร ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.9 ไม่ทำการทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนนำไปปลูก โดยให้เหตุผลว่า เพาะไม่เป็น ไม่เห็นความจำเป็นในการเพาะและมั่นใจในคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ผลิต โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืช ร้อยละ 28.3, 26.8 และ 26.1 ตามลำดับ 3. เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพอใจมากต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์โดยรวมที่ผลิต โดย ศูนย์ขยายพันธุ์พืช ทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง คิดเป็นร้อยละ 79.02, 81.78, 83.20 และ 86.30 ตามลำดับ 4. ด้านมาตรฐานความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง ที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดไว้ เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมแล้วร้อยละ 60.9, 65.8, 62.8 และ 60.9 ตามลำดับและที่เห็นว่าควรปรับปรุงให้สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 37.9, 31.6, 35.9 และ 37.5 ตามลำดับ 5. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร ปรากฎว่า ระดับการศึกษาและอายุมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์จากโครงการของรัฐที่ขายราคาถูกในขณะที่รายได้มีความสัมพันธ์กับการใช้เมล็ดพันธุ์จากหน่วยงานของรัฐอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นด้านมาตรฐานความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการทดสอบความงอกก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกของเกษตรกร แต่พบว่าความคิดเห็นต่อมาตรฐานความงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวจะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งต่อการทดสอบความงอกก่อนปลูกของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2540
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทัศนคติของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2540
การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่ผลิตจากสถานีพืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี ปริมาณเมล็ดผิวสีคล้ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว กำแพงแสน 2 ที่ผลิตโดยเกษตรกรแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีต่อวิธีการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์คืนของศูนย์ขยายพันธุ์พืชในเขตจังหวัดภาคเหนือ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 จากแปลงสำรองพันธุ์ของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดชัยนาท ในปี 2538 การศึกษาความงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ผลิตจากแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์ขยายพันธุ์พืชระหว่างปี พ.ศ. 2536-2538 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก