สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาระบบคุณภาพและวิธีการทดสอบ
วิภา เศวตกนิษฐ์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบคุณภาพและวิธีการทดสอบ
ชื่อเรื่อง (EN): Accreditation of RRI’s Laboratory and Development of Testing Method
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิภา เศวตกนิษฐ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการที่มีการประกาศมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจในระบบคุณภาพดังกล่าว และสอบถามข้อมูลความพร้อมของห้องปฏิบัติการภาครัฐ ว่าได้รับการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตาม ISO/IEC 17025 หรือไม่ ดังนั้น เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทดสอบ/วิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง ได้รับการยอมรับและเป็นที่เชื่อถือในระดับสากลมากขึ้น จึงเห็นควรจัดระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยยาง ให้ได้รับการรับรองคุณภาพตาม ISO/IEC 17025 ซึ่งห้องปฏิบัติการยางแท่งเอสทีอาร์ของส่วนอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง ได้รับการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตาม มอก. 17025 หรือ ISO/IEC 17025 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2545 และห้องปฏิบัติการยางแท่งเอสทีอาร์ของสถาบันวิจัยยางส่วนแยกสงขลา กำลังดำเนินการขอการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ส่วนห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นของส่วนอุตสาหกรรมยาง กำลังอยู่ในขั้นตอนการทบทวนเอกสารคู่มือคุณภาพ จัดทำเอกสารขั้นตอนการดำเนินงาน คู่มือวิธีปฏิบัติงานทดสอบน้ำยางข้น และให้พนักงานห้องปฏิบัติการฯ ปฏิบัติตามที่เขียนไว้ในคู่มือ นอกจากนี้ ผู้ผลิตยางยังมีความต้องการที่จะให้การทดสอบสมบัติต่าง ๆ ของยางมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และอาจเพิ่มข้อกำหนดมาตรฐานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ดังนั้น จึงควรพัฒนาวิธีการทดสอบสมบัติของยางที่จำเป็นและที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย สะดวกและรวดเร็วในการให้บริการแก่ภาคเอกชนเพื่อให้เป็นที่เชื่อถือต่อไป จึงได้ทดลองวิธีการทดสอบสมบัติปริมาณของแข็งทั้งหมดและเนื้อยางแห้งของน้ำยางข้น และการทดสอบความชำนาญของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ในการทดสอบสมบัติความคงตัวของน้ำยางต่อเครื่องมือกลได้ผลดังนี้ การทดสอบปริมาณของแข็งทั้งหมด จะอบแผ่นยางที่อุณหภูมิ 70oC + 2 oC ระยะเวลาในการอบ 16 ชั่วโมง ส่วนการทดสอบปริมาณเนื้อยางแห้ง จะใช้น้ำยาง 5 กรัม ปริมาณกรดที่ใช้ไม่กำหนดแต่ให้สังเกตการจับอย่างสมบูรณ์ของก้อนยาง อบแผ่นยางที่อุณหภูมิ 70oC + 2 oC ระยะเวลาในการอบ 16 ชั่วโมง และการทดสอบความชำนาญของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการในการทดสอบสมบัติความคงตัวของยางต่อเครื่องมือกล พบว่า ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่มีความเข้าใจตรงกันในการสังเกตจุดยุติ เจ้าหน้าที่มีความชำนาญในระดับเดียวกันที่สามารถยอมรับได้ ดังนั้น วิธีทดสอบที่ใช้เป็นวิธีที่เหมาะสมในทางปฏิบัติและมีความถูกต้องแม่นยำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาระบบคุณภาพและวิธีการทดสอบ
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
โครงการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพ โครงการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพ (ด้านวิศวกรรม) โครงการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพ (ด้านวิศวกรรม) โครงการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพ (ด้านวิศวกรรม) โครงการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพ (ด้านวิศวกรรม) โครงการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของการปลูกพืชผัก การศึกษากระบวนการพัฒนาระบบการผลิตข้าวคุณภาพ ในสถานการณ์การเปิดเขตการค้าเสรี กรณีศึกษา: โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการระบบการผลิตและการจัดการข้าว ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ การทดสอบคุณภาพเส้นไหมที่สาวได้ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลิตผลพืชผักในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี/องค์ความรู้โครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูก ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 25 เรื่อง เส้นทางการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากลสู่ก้าวย่างที่มั่น คงอย่างยั่งยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก