สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมด้วงงวงข้าวโดยชีววิธีจากพืชสมุนไพร
วันวิสาข์ ลิจ้วน - มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ชื่อเรื่อง: การควบคุมด้วงงวงข้าวโดยชีววิธีจากพืชสมุนไพร
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of medicinal plants in biological control of rice weevil (Sitophilus oryzae)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วันวิสาข์ ลิจ้วน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบสารเคมีที่สำคัญของพืชสมุนไพร และศึกษาประสิทธิภาพของพืชสมุนไพรในการควบคุมด้วงงวงข้าว พืชสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ มะระขี้นก แมงลัก ผักแพว และบอระเพ็ด ถูกสกัดด้วยวิธีกลั่นอย่างต่อเนื่องด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ ระเหยตัวทำละลาย โดยใช้เครื่องระเหยสารภายใต้ความดันต่ำ และนำไปทำให้แห้งอีกครั้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์หาสารสำคัญด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟี-แมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของมะระขี้นก แมงลัก ผักแพว และและบอระเพ็ด พบกรดปาล์มมิติก (17.51 เปอร์เซ็นต์) แกมมาซิโตสเตอรอล มากที่สุด (23.80 และ 29.74 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) cholest-5-en-3-ol,23-ethyl-,(3.beta,23S) (14.90 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ การศึกษาประสิทธิภาพการขับไล่ ด้วยวิธีวิธี cone bioassay การศึกษาประสิทธิภาพในการขับไล่ที่เวลา 24 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการขับไล่ได้สูงสุด โดยสารสกัดมะระขี้นกที่ความเข้มข้น 8 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) ขับไล่ได้ดีที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 36.00?13.27 การศึกษาความเป็นพิษด้วยวิธี residual film test พบว่าสารสกัดผักแพวที่ระดับความเข้มข้น 16 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) มีอัตราการตายสูงสุด เท่ากับ ร้อยละ 97.67?2.33 ที่เวลา 72 ชั่วโมง และมีค่า LC50 เท่ากับ 2.68 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) การศึกษาการยับยั้งการฟักออกของด้วงงวงข้าว พบว่าสามารถยับยั้งการฟักออกได้ 35- 93 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นสารสกัดจากแมงลักที่ไม่สามารถยับยั้งการฟักออกได้ การศึกษาการสูญเสียน้ำหนักของเมล็ดข้าว พบว่า สารสกัดจากพืชสมุนไพรสามารถควบคุมแมลงทำให้เกิดการสูญเสียของเมล็ดข้าว 0.38- 10.69 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นพืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดน่าจะมีสารทางเคมีสำหรับใช้เป็นทางเลือกในการควบคุมโดยชีววิธีของด้วงงวงข้าว
บทคัดย่อ (EN): These experiments aimed to investigate the chemical composition and to study the effect of medicinal plants to control the rice weevil (Sitophilus oryzae). The medicinal plants such as Momordica charantia L., Ocimum canum, Persicaria odorata and Tinospora crispa were extracted by soxhlet extraction with 95%. ethanol This solvent was removed by evaporation using rotary evaporator after that dried by freeze dryer. The extracts were identified by gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS). The most major chemical composition of Momordica charantia L., Ocimum canum, Persicaria odorata and Tinospora crispa were plamitic acid (17.51%) gamma –sitosterol (23.8% and 29.74%, respectively) and cholest-5-en-3-ol,23-ethyl-,(3.beta,23S) (14.90%). The effects of the extracts on weevil repellence were conducted by the cone bioassay. The results showed that at 24 hours Momordica charantia L. extract at the 8% w/v concentration was the best quality for repel rice weevil. About rice weevil toxicity using residual film test, the extraction of Persicaria odorata at 16%w/v concentration produced the highest mortality rate to 97.67?2.33 % at 72 hours with LC50 at 2.68%w/v. Progeny growth and development test found that all plants could inhibit the hatch of rice weevil F1 progeny by 35-95%, exempt Ocimum canum extract. All extracts were able to protect rice weight loss by 0.38- 10.69%. Therefore, it can be concluded that major chemical compositions of the four plants are the alternative biological control of rice weevil.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมด้วงงวงข้าวโดยชีววิธีจากพืชสมุนไพร
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
30 กันยายน 2558
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในการควบคุมโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ในปลาที่มีศักยภาพในการเลี้ยง ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ ประสิทธิภาพของพืชพื้นบ้านไทยต่อการควบคุมด้วงงวงข้าวโพดในข้าวสาร (ระยะที่ 2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การควบคุมมอดข้าวในข้าวสารโดยชีววิธีด้วยพืช การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การควบคุมโรคกล้าแห้งของต้นอ่อนข้าวหอมมะลิ 105 โดยชีววิธี ประสิทธิภาพของพืชสมุนไพรต่อการเก็บรักษาข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ การใช้สารเคมีสกัดพืชสมุนไพรควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูข้าวไร่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก